ปัญหาการทำงานของคนต่างด้าวในเขตจังหวัดจันทบุรี : ศึกษากรณีค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าชดเชย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การบังคับใช้กฎหมายแรงงานต่างด้าวในเขตจันทบุรี : ศึกษากรณีค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าชดเชย จากการศึกษาพบว่า ประการที่หนึ่งปัญหาของลูกจ้างต่างด้าวส่วนมากไม่มีความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน ตามอัตราขั้นต่ำที่นายจ้างควรจะจ่ายให้แก่ลูกจ้าง วิธีแก้ไขควรให้ความรู้กับลูกจ้าง หรือมีแหล่งเรียนรู้ ในสถานประกอบการณ์ หรือหน่วยงานของรัฐควรออกพื้นที่ให้ความรู้ตามสถานประกอบการณ์ต่างๆ จะทำให้ลูกจ้างรู้ว่าตนเองมีสิทธิโดยชอบตามกฎหมายและกล้าที่จะเรียกร้องจากนายจ้างได้ ประการที่สองนายจ้างทราบดีว่าต้องจ่ายตามอัตราขั้นต่ำของกฎหมาย หรือลูกจ้างต่างด้าวเรียกร้องตามอัตราขั้นต่ำจากนายจ้างแล้ว แต่นายจ้างไม่ยินยอมจ่ายให้หรือจ่ายให้แต่ไม่ครบตามที่กฎหมายกำหนด แสดงให้เห็นว่านายจ้างไม่เกรงกลัวต่อกฎหมาย วิธีแก้ไขควรมีการแก้ไขกฎหมายด้วยการเพิ่มโทษตามมาตรา 114 อีกหนึ่งเท่า ประการที่สามวิธีการดำเนินคดีตามกฎหมาย ทำให้ลูกจ้างต่างด้าวเสียเปรียบ ซึ่งการดำเนินการตามกฎหมายลูกจ้างต่างด้าวต้องยื่นคำร้องต่อสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ลูกจ้างต่างด้าวไม่มีความรู้และไม่กล้าร้องเรียนนายจ้าง เนื่องจากต้องทำงานหรืออาศัยอยู่กับนายจ้าง หากยื่นคำร้องเรียนนายจ้างก็จะทำให้การทำงานหรืออยู่ร่วมกันกับนายจ้างไม่ได้ หรือนายจ้างอาจเลิกจ้างเสียก่อนที่จะมีการร้องเรียน วิธีแก้ไขควรให้พนักงานเจ้าหน้าที่ของรัฐควรออกพื้นที่สอบถามลูกจ้างต่างด้าวนอกเวลาทำงาน หรือสอบถามนอกสถานประกอบการณ์ เพื่อพบการกระทำความผิดและดำเนินคดีได้โดยไม่ต้องรอให้ลูกจ้างต่างด้าวเข้ามายื่นคำร้องเรียนต่อสำนักงาน และเจ้าพนักงานของรัฐควรรับผิดชอบในเขตจังหวัดของตน หากพบว่าในเขตจังหวัดใดมีนายจ้างไม่จ่ายเงินให้กับลูกจ้างตามอัตราขั้นต่ำ ถือว่าเจ้าพนักงานของรัฐในเขตดังกล่าวบกพร่องต่อหน้าที่และควรมีบทลงโทษ
Article Details
References
2. ทิพวรรณ จันทร์ชูกลีน. (2551). ปัจจัยที่มีผลต่อการจ้างงานแรงงานต่างด้าวของผู้ประกอบการ ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วิทยานิพนธ์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
3. แพง ชำนิงาน. (2556). การบริหารจัดการการใช้แรงงานต่างด้าวของผู้ประกอบการขนาดย่อมในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
4. เรืองเดช นวสันติ. (2556). มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยเพื่อปรับให้เป็นแรงงานถูกกฎหมาย. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
5. สมเกียรติ สังข์นาค และดร.สิน พันธุ์พินิจ. (2552). ความต้องการจ้างแรงงานต่างด้าวของผู้ประกอบการในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. งานวิจัยทางสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ.
6. วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. (2558). จังหวัดจันทบุรี, (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%
87%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%
88%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%9A%E0%B8%
B8%E0%B8%A3%E0%B8%B5