ความสำเร็จในการบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน บนฐานของปัจจัยเชิงปรากฏการณ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed methods research) เพื่อศึกษาความสำเร็จในการบริหารแบบมีส่วนร่วม เปรียบเทียบความสำเร็จในการบริหารแบบมีส่วนร่วมตามปัจจัยด้านพฤติกรรมของผู้บริหาร บทบาทของชุมชน/สังคม บรรยากาศองค์กร พฤติกรรมของครู และสภาพแวดล้อม วิเคราะห์จำแนกความสำเร็จในการบริหารแบบมีส่วนร่วม และวิเคราะห์เชิงปรากฏการณ์ของความสำเร็จในการบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามระดับความสำเร็จในการบริหาร กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 930 คน ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตภาคตะวันออก จำนวน 310 โรงเรียน เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแปรปรวนพหุและวิเคราะห์จำแนกกลุ่ม ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสำเร็จในการบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำแนกตามปัจจัยด้านพฤติกรรมของผู้บริหาร บทบาทชุมชน/สังคมบรรยากาศองค์กร พฤติกรรมของครู และสภาพแวดล้อมโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) การเปรียบเทียบความสำเร็จในการบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่าปัจจัยด้านบทบาทชุมชน/สังคมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนปัจจัยด้านอื่น ๆ แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 3) ความสำเร็จในการบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำแนกตามโรงเรียนที่ประสบความสำเร็จในกลุ่มสูงกับโรงเรียนที่ประสบความสำเร็จในกลุ่มต่ำ พบว่า ปัจจัยทุกด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ผลการวิเคราะห์จำแนกกลุ่ม ปัจจัยที่มีค่าสัมประสิทธิ์สูงที่สุด คือปัจจัยด้านพฤติกรรมของผู้บริหาร (X1) รองลงมาได้แก่ ด้านสภาพแวดล้อม (X5) ด้านบทบาทชุมชน/สังคม (X2) ด้านบรรยากาศองค์กร (X3) และด้านพฤติกรรมของครู (X4) ตามลำดับ โดยมีสมการจำแนกกลุ่มในรูปคะแนนดิบ ดังนี้ D = 2.886(X1)+.811(X2)–.083(X3)–.553(X4)+.836(X5)–16.668 และมีสมการทำนายการเข้ากลุ่ม
โรงเรียนที่ประสบความสำเร็จในกลุ่มสูง Dสูง =55.062(X1)+0.988(X2)+3.625(X3)+2.133(X4)+8.341(X5)–155.807
โรงเรียนที่ประสบความสำเร็จในกลุ่มต่ำ Dต่ำ =48.480(X1)–0.862(X2)+3.813(X3)+3.393(X4)+6.435(X5)–120.742
สมการสามารถทำนายการเข้ากลุ่มของโรงเรียนที่ประสบความสำเร็จในกลุ่มสูงได้ถูกต้องร้อยละ 98.4 ทำนายการเข้ากลุ่มของโรงเรียนที่ประสบความสำเร็จในกลุ่มต่ำได้ถูกต้องร้อยละ 69.4 ทำนายการเข้ากลุ่มในภาพรวมได้ถูกต้องร้อยละ 92.58 และ 4) ความสำเร็จในการบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน บนฐานของปัจจัยเชิงปรากฏการณ์ พบว่า โรงเรียนที่ประสบความสำเร็จในกลุ่มสูงกับโรงเรียนที่ประสบความสำเร็จในกลุ่มต่ำ มีวิธีดำเนินการให้ประสบความสำเร็จที่สอดคล้องกันและสอดคล้องกันเป็นบางส่วนโดยเรียงลำดับปัจจัยที่มีความสอดคล้องกันจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ปัจจัยพฤติกรรมของผู้บริหารด้านพฤติกรรมผู้นำการเปลี่ยนแปลง ปัจจัยพฤติกรรมของครูด้านพฤติกรรมการสอนของครู ปัจจัยบรรยากาศองค์กรด้านพฤติกรรมแตกแยก ปัจจัยสภาพแวดล้อมทุกด้าน และปัจจัยบทบาทของชุมชน/สังคมด้านการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
Article Details
References
2. จันทรานี สงวนนาม. 2553. ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารสถานศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี: บุ๊ค พอยท์.
3. จิณณวัตร ปะโคทัง. 2549. รูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนดีเด่น โรงเรียนกันทรารมณ์ จังหวัดศรีสะเกษ. ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
4. ดวงสมร กลิ่นเจริญ. 2545. ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการจัดการศึกษาของโรงเรียนเอกชนอาชีวศึกษา. ปริญญาครุศาสตรอุตสาหกรรมดุษฎีบัณฑิต สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
5. ประเสริฐ บัณฑิศักดิ์. 2540. การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลองค์การของหน่วยศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา. ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
6. ภารดี อนันต์นาวี. 2545. ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงาน คณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
7. มุทิตา แพทย์ประทุม. 2549. รูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนกับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม. ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
8. เมตต์ เมตต์การุณ์จิต. 2547. การบริหารจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม: ประชาชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและราชการ. กรุงเทพฯ: บุ๊ค พ้อยท์.
9. วันเพ็ญ บุรีสูงเนิน. 2552. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเขตพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.
10. ศิริวรรณ เสรีรัตน์และคณะ. 2539. องค์การและการจัดองค์การ. กรุงเทพฯ: วิสุทธิพัฒนา.
11.สมจิตร อุดม. 2547. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารโรงเรียนเอกชนระดับประถมศึกษาในภาคใต้. ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
12. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. 2547. คู่มือการปฏิบัติงานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
13. _______. 2554. แนวทางการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
14. _______.2558. แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (อัดสำเนา)
15. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. 2545. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
16. สำนักงานบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก. 2557. แผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก ปี พ.ศ. 2557-2560. ชลบุรี: ส่วนแผนและงบประมาณทางการศึกษาท้องถิ่น.
17. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. 2554. กฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: วี.ที.ซี.คอมมิวมิเคชั่น.
18. สุวิชา วิริยมานุวงษ์. 2554. การวิจัยและพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของสถานศึกษากับชุมชนในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.
19. สุวิมล ติรกานันท์. 2553. การวิเคราะห์ตัวแปรพหุในงานวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
20. เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์. 2552. สภาพการจัดการศึกษาในจังหวัดชายแดนใต้. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: วี.ที.ซี. คอมมิวนีเคชั่น.
21. Amenu – Tekaa, Chistian E.K. 1988. Perception of Community participation in Education on Canadian Indian Reserves: A North – Central Alberta Case Study. (CD – ROM) Doctoral issertation, University of Pittsburgh Abtract availabke: Propose File; Dissertation.
22. Bass, B.M. (1985). Leadership and performance beyond expectations. New York: The FreePress.
23. Cohen, J.M. and Uphoff, N.T. (1980). Participation’s place in rural development: Seeking clarify through specificity world development 8. Cornell University: Rural Development Committee Center for International Studies
24. Cronbach, L. J. 1990. Essentials of psychological testing (5 th ed.). New York: Harper Collins.
25. Fiedler, F.E. (1967). A Theory of Leadership Effectiveness. New York: McGraw – Hill.
26. Gold, S.E. Community organizing at a neighborhood high school: Promises and dilemmas in building parent-educator partnership and collaborations. Pro Quest Digital Dissertations, 60(7) (2000, January): 295.
27. Harris, B.M. (1969). In – service Education. Englewood Cliffs: Prentice – Hall.
28. Hoy, W.K., & Miskel, C.G. 2001. Educational administration: Theory, research and practice (6th ed.). New York: McGraw-Hill.
29. Krejcie, R.V., and Morgan, D.W. 1970. Determining Sample Size for Research Activities. Education and Psychological measurement. 607 – 610.
30. Likert, R. (1967). The human organization: Its management and value. New York : McGraw-Hill.
31. Robbins, S.P. & Maree, M. (2002). Management. New York: Delmar Learning.
32. Shadid, W. et al. 1982. Access and participation: a theortical approach in participation of the poor in development. New York: McGraw-Hill.
33. White, Alastair T. 1982. Why Community Participation, Annual UN. Report A Dicussion of The Agrument Community Participation: Current issue and lesson learned. Boston: Prentice Hall.