การศึกษาคุณสมบัติของอิฐดินดิบผสมแอสฟัลต์อิมัลชันภายใต้สภาวะการแช่น้ำต่อเนื่อง

Main Article Content

ประยูร พรมหลวงศรี
เรืองรุชดิ์ ชีระโรจน์
จักรพันธุ์ วงษ์พา

บทคัดย่อ

     งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาคุณสมบัติของอิฐดินดิบที่ทำจากดินลมหอบผสมแอสฟัลต์อิมัลชันภายใต้การแช่น้ำต่อเนื่อง โดยเฉพาะพฤติกรรมการสูญเสียกำลังอัดและการชะละลายของอิฐดินดิบ ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาโครงสร้างบ้านดินที่สามารถทนต่อสภาวะน้ำท่วมขังได้อย่างปลอดภัย แอสฟัลต์อิมัลชันในส่วนผสมมีสัดส่วนร้อยละ 0, 2, 4, 6, 8 และ 10 ของน้ำหนักดินลมหอบร่วมกับแกลบที่ใช้ในแต่ละส่วนผสม ทำการศึกษาการดูดซึมน้ำ และกำลังอัดที่สภาวะก่อนและหลังแช่น้ำ ร่วมกับการชะละลายของอิฐภายใต้สภาวะการแช่น้ำต่อเนื่องนาน 3, 7 และ 14 วัน จากการศึกษาพบว่าอิฐดินดิบที่มีอัตราส่วนของแอสฟัลต์อิมัลชันเพิ่มขึ้นส่งผลให้การดูดซึมน้ำและการชะละลายลดลง ในขณะที่อิฐดินดิบที่ไม่ผสมแอสฟัลต์อิมัลชันตัวอย่างไม่สามารถรักษารูปทรงภายใต้สภาวะการแช่น้ำต่อเนื่องได้ และพบว่าการผสมแอสฟัลต์อิมัลชันในส่วนผสมร้อยละ 4 ให้กำลังอัดสูงที่สุดในการทดสอบ โดยมีค่าประมาณ 20 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร ถึงแม้จะผ่านการแช่น้ำต่อเนื่องนาน 14 วัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. จตุพร ตั้งศิริสกุล. 2550. การประยุกต์ใช้วัตถุดิบทางธรรมชาติในการเพิ่มประสิทธิภาพของก้อนอิฐดินดิบเพื่อใช้ในการก่อสร้างบ้านดิน. วิทยานิพนธ์ปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

2. ณภัทร ศรีวัฒนประยูร และคณะ. (2552). การศึกษาและวิเคราะห์พฤติกรรมการถ่ายเทความร้อนผ่านผนังของบ้านดิน. รายงานการวิจัย เสนอต่อสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

3. ดลฤดี หอมดี และวัชรินทร์ กาสลัก. (2549). การทรุดตัวของดินลมหอบเนื่องจากความเปียกชื้นและการบรรทุกน้ำหนักในเขตมหาวิทยาลัยขอนแก่น. รายงานวิจัย เสนอต่อมหาวิทยาลัยขอนแก่น.

4. ประชุม คำพุฒ และคณะ. (2551). การปรับปรุงคุณสมบัติของอิฐดินดิบด้วยน้ำยางธรรมชาติ. ใน การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 13. วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์. หน้า 262-268.

5. ประยูร พรมหลวงศรี และจักรพันธุ์ วงษ์พา. (2558). การพัฒนาอิฐดินดิบที่ทำจากดินลมหอบ. การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 20. วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์.

6. พงศกร พรรณรัตนศิลป์. (2550). การปรับปรุงคุณภาพดินลมหอบในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพื่อนำมาใช้ในวิศวกรรมการทาง. การประชุมสมาคมทางหลวงแห่งประเทศไทย. หน้า 1-8.

7. ภูษิต เลิศวัฒนารักษ์ และจตุพร ตั้งศิริสกุล, (2550). ผลของวัสดุทางธรรมชาติที่มีต่อคุณสมบัติของก้อนอิฐดินดิบสำหรับบ้านดิน. วารสารคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมืองมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 5(1): 187-199.

8. ศุภสัณห์ ชื่นศิริกุลชัย. (2556). การประยุกต์ใช้ใบหญ้าแฝกและแอสฟัลต์อิมัลชันเพื่อปรับปรุงสมบัติทางกลของอิฐดินดิบ. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

9. สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. (2530). มอก. 371-2530 มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมแคตอิออนิกแอสฟัลต์อิมัลชันสำหรับถนน. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม.

10. Davidovits, Joseph. (1991). Geopolymers: Inorganic polymer new materials. Journal of thermal analysis. 37(8): 1633-1656.

11. James, Alan. (2006). Overview of asphalt emulsion. Transportation Research Circular E-C102: Asphalt emulsion technology. Washington, DC: Jennifer Correro, Proofreader and Layout.