การพัฒนาศักยภาพบนรากฐานการเงินอย่างเข้มแข็งและยั่งยืนของชุมชนสมาชิกกองทุนหมู่บ้าน อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรีที่ส่งผลต่อการพัฒนาศักยภาพกองทุนหมู่บ้านของตนเอง

Main Article Content

ทัศนัย ขัตติยวงษ์
ละเมียด ควรประสงค์
ทิพวรรณ์ นิยมวงศ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1)เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการสร้างความเข้มแข็งบนรากฐานทางการเงินของสมาชิกกองทุนหมู่บ้าน  2) เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลกระทบต่อพัฒนาศักยภาพกองทุนหมู่บ้าน 3) เพื่อศึกษาดัชนีวัดความเข้มแข็งบนรากฐานทางการเงินของสมาชิก 4) เพื่อศึกษาดัชนีวัดศักยภาพและความเข้มแข็งของกองทุนหมู่บ้าน5) เพื่อศึกษาถึง    การสร้างความเข้มแข็งบนรากฐานการเงินของสมาชิกกองทุนหมู่บ้านที่มีผลต่อการพัฒนาศักยภาพของกองทุนหมู่บ้านตนเอง


กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้มี 2 กลุ่มจำนวน 588คน ประกอบด้วยสมาชิกกองทุนหมู่บ้าน และกรรมการบริหารกองทุนหมู่บ้านอำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลคำนวณหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุแบบขั้นตอนที่มีระดับนัยสำคัญ 0.05 และการหาค่าความสัมพันธ์โดยใช้วิธีสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ที่มีระดับนัยสำคัญ 0.01 ผลการวิจัยพบว่า


ปัจจัยความเข้มแข็งทางการเงินของสมาชิกกองทุนหมู่บ้านการนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ของสมาชิกกองทุนหมู่บ้าน  การจัดการสวัสดิการและการให้ประโยชน์ทางการเงินจากกองทุนสู่สมาชิกกองทุนหมู่บ้าน  การให้ความรู้และความเข้าใจในนโยบายกองทุนหมู่บ้านสู่สมาชิก  การมีส่วนร่วมให้ความช่วยเหลือในปัญหาต่างๆ ระหว่างสมาชิกกองทุน  การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการถ่ายทอดองค์ความรู้และภูมิปัญญาชาวบ้านระหว่างสมาชิกกองทุน ความสามารถในการปกครองของผู้นำหมู่บ้าน และภัยด้านยาเสพติด อาชญากรรมและภัยคุกคามอื่นๆ  สามารถเป็นดัชนีวัดความเข้มแข็งบนรากฐานทางการเงินของสมาชิกกองทุนหมู่บ้าน และเป็นปัจจัยการพยากรณ์ที่สามารถทำนายความเข้มแข็งบนรากฐานทางการเงินของสมาชิกกองทุนหมู่บ้าน ได้ร้อยละ 97.30(R2 เท่ากับ .973) โดยสามารถสร้างเป็นโมเดลทางคณิตศาสตร์เพื่อพยากรณ์ความเข็มแข็งบนรากฐานทางการเงินของสมาชิกกองทุนหมู่บ้านได้ดังสมการต่อไปนี้


 Y’ =  0.238 a + 0.213 b+ 0.355 c+ 0.337 d + 0.251 e + 0.303 f +0.302 g + 0.230 h


โดย


Y’  คือ ความเข้มแข็งบนรากฐานทางการเงินของสมาชิกกองทุนหมู่บ้าน


a   =   ความเข้มแข็งทางการเงินของสมาชิก


b   =   หลักเศรษฐกิจพอเพียง


c   =   การจัดสวัสดิการและการให้ประโยชน์ทางการเงินจากกองทุนหมู่บ้าน


d   =   การให้ความรู้และความเข้าใจในนโยบายกองทุนหมู่บ้านสู่สมาชิก


e   =   การมีส่วนร่วมให้ความช่วยเหลือระหว่างสมาชิกกองทุนด้วยกัน


f    =   การแลกเปลี่ยนเรียนรู้องค์ความรู้ และภูมิปัญญาชาวบ้าน


g   =   ความสามารถในการปกครองของผู้นำหมู่บ้าน


h   =   ภัยยาเสพติด อาชญากรรมและภัยคุกคามอื่นๆ


ปัจจัยเกี่ยวกับความผันผวนทางเศรษฐกิจที่มีผลต่อการออม/รายได้/รายจ่าย การมีส่วนร่วมของสมาชิกกองทุน และความสามารถในการบริหารการเงิน อื่นๆ  สามารถเป็นดัชนีวัดศักยภาพของกองทุนหมู่บ้าน และเป็นปัจจัยการพยากรณ์ที่สามารถทำนายศักยภาพและความเข้มแข็งของกองทุนหมู่บ้าน ได้ร้อยละ 88.80 (R2 เท่ากับ .888) โดยสามารถสร้างเป็นโมเดลทางคณิตศาสตร์เพื่อพยากรณ์ความเข้มแข็งของกองทุนหมู่บ้านได้ดังสมการต่อไปนี้


Z’= 0.385x + 0.542y + 0.578z


โดย


Z’  =   ความเข้มแข็งของกองทุนหมู่บ้าน


x  =  การมีส่วนร่วมของสมาชิกกองทุนหมู่บ้าน


y  =   ความสามารถในการบริหารการเงิน


z  =   ความผันผวนทางเศรษฐกิจที่มีผลต่อการออม/รายได้และรายจ่าย


โดยสรุปพบว่าความเข้มแข็งบนรากฐานทางการเงินของสมาชิกกองทุนหมู่บ้านมีผลทำให้กองทุนหมู่บ้านมีศักยภาพและความเข้มแข็งทางการเงินในด้านเงินทุนหมุนเวียนที่มีสภาพคล่องเพิ่มขึ้นและส่งผลต่อเงินลงทุนเพิ่มขึ้นการเพิ่มกองทุนเพื่อการกู้ยืมตามวัตถุประสงค์ที่หลากหลายมากขึ้นการสร้างสวัสดิการเพื่อสมาชิกเพิ่มขึ้นการเพิ่มรายได้ให้กับกองทุนมากขึ้นการเพิ่มผลกำไรให้กับกองทุนมากขึ้นการให้ผลประโยชน์ตอบแทนทางการเงินให้สมาชิกได้มากขึ้นการขยายการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนได้มากขึ้น และ การกันเงินสำรองเพื่อการป้องกันความเสี่ยงทางการเงินได้มากขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01


ผลการวิจัยยังตรวจสอบพบว่า ศักยภาพและความเข้มแข็งของกองทุนหมู่บ้านมีผลทำให้มีความเข้มแข็งบนรากฐานทางการเงินของสมาชิกกองทุนหมู่บ้านในด้านเงินทุนหมุนเวียนใช้ภายในครอบครัวมากขึ้น และส่งผลต่อการลดภาระหนี้สิน การเพิ่ม/สะสมเงินออมการส่งเสริม/สนับสนุนการงานและอาชีพ การเพิ่มรายได้ การลดค่าใช้จ่าย การสร้างสวัสดิการการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ และการมีเงินทุนสำรองฉุกเฉินสำหรับการครองชีพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01


ผลการวิจัยเชิงคุณภาพพบว่า ความเข้มแข็งบนรากฐานทางการเงินของสมาชิกกองทุนหมู่บ้านโดยสมาชิกได้รับประโยชน์จากกองทุนหมู่บ้านจากการกู้ยืมเพื่อเป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียน การลดภาระดอกเบี้ยจากเงินนอกระบบ และการสร้างความมั่นคงด้วยการสร้างเงินออม ในส่วนของศักยภาพและความเข้มแข็งของกองทุนหมู่บ้านเป็นผลมาจากสมาชิกให้ความร่วมมือและมีความรับผิดชอบในการชำระหนี้และออมเงินทำให้เงินกองทุน เงินออมและเงินประกันกองทุนเพิ่มขึ้นทุกปี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กิ่งกาญจน์ นาเอี่ยมวันเพ็ญ อ่ำเอี่ยมสุนีย์ สมานทรัพย์และพิมพ์นารา พิบูลจิระกานต์. (2551). การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านตำบลลำพญา อำเภอบางเลน จัดหวัดนครปฐม.[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://dept.npru.ac.th/msc/data/files/research 5504.pdf. 2560.

2. คะนึงนิจ ศิริสมบูรณ์ฉันธะ จันทะเสนา และดวงตา สราญรมย์. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารงานกองทุนหมู่บ้านในเขตอำเภอสีคิ้ว จังหวดนครราชสีมา. วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์. ปที่ 3 (ฉบับที่ 3 เดือนตุลาคม 2552 - มกราคม 2553) : 75-90.

3. เครือข่ายกองทุนหมู่บ้านอำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี. (2557). รายงานประจำปี 2557 เครือข่ายกองทุนหมู่บ้านระดับอำเภอ.จันทบุรี : สำนักงานเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านอำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี.

4. เครือข่ายกองทุนหมู่บ้านอำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี. (2557). รายงานการประชุมเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านระดับอำเภอ.จันทบุรี : สำนักงานเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านอำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี.

5. จุรีวัลย์ ภักดีวุฒิ. (2556). คุณลักษณะที่ของสถาบันการเงินชุมชนที่มีคุณภาพและประสบความสำเร็จ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. ปีที่ 32 (ฉบับที่ 3 พฤษภาคม-มิถุนายน 2556): 117-131.

6. ชญาณ์นันท์ ณัชภัคปฐมภพ และคณะ. (2558). การวิจัยแนวทางการบริหารงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองอย่างยั่งยืน : กรณีศึกษาจังหวัดเพชรบูรณ์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://sms-stou.org/pr/media/ journal/ article/58-2/58-2-article8.pdf. 2560.

7. ชาญวิทย์ ทองโชติ และ ภวิษณ์ณัฏฐ์ เวชวิฐาน. (2558). ความเข้มแข็งขององค์กรการเงินชุมชนในเขตอำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิทยาการจัดการ ปีที่ 2 (ฉบับที่ 1 2558): 133-152.

8. นโยบายรัฐบาล. คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แถลงต่อรัฐสภาวันจันทร์ที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๔.[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :https://www2.eppo.go.th/doc/Gov-Policy/index-t.html. 2560.

9. แน่งน้อย ย่านวารี. (2553). การวิเคราะห์ข้อมูลในงานวิจัยเชิงคุณภาพ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://ismbas. blogspot.com/2010/09/blog-post_14.html. 2560.

10. พิมพ์นารา พิบูลจิระกานต์ . (2552). การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้าน ตำบลลำพญา อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม.กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

11. ประคอง กรรณสูตร. (2541).สถิติเพื่อการวิจัยคำนวณด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: ด่านสุทธาการพิมพ์.

12. มิ่งขวัญ คงเจริญ และ อาชัญญารัตนอุบล. (2553). การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจของชุมชน เพื่อเสริมสร้างความยั่งยืนของชุมชนแห่งการเรียนรู้.[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.tci-thaijo.org/ index.php/sduhs/article/view/5136. 2560.

13. วิทยา จันทร์แดง และ จำนงค์ อดิวัฒนสิทธิ. (2555). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการชุมชนเข้มแข็งตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในเขตจังหวัดภาคกลางตอนบน.สักทอง : วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์(The Golden Teak : Humanity and Social Science). (ฉบับพิเศษ 2555): 31-40.

14. สมบูรณ์ ธรรมลงกา. (2556). รูปแบบการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐานในจังหวัดเชียงราย. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร. ปีที่ 15 (ฉบับที่ 2 เมษายน – มิถุนายน 2556): 58-66

15. สยุมพร ผลสนอง. (2550). ความเข้มแข็งขององค์กรการเงินจังหวัดมหาสารคาม.[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : lib18.kku. ac.th/dcms/files//16104/Abstract.pdf. 2559.

16. สุภางค์ จันทวานิช. (2552). การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

17. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. ความเข้มแข็งขององค์กรชุมชน.[ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก : www.nesdb.go.th/ewt_w3c/ewt_news.php?nid=3205&filename=. 2559.

18. สำราญ มีแจ้ง. (2557). สถิติขั้นสูงสำหรับการวัยทฤษฎีและปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

19. ยุทธ ไกยวรรณ์. (2557). การวิเคราะห์สถิติหลายตัวแปรสำหรับงานวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 2.กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

20. อรุณี อ่อนสวัสดิ์. (2551). ระเบียบวิธีวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 3. ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

21. Cohen J. (1988). Statistical power analysis for the behavior sciences (2nd ed). Hillsdale NJ: Lawrence Erlbaum.