ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง ปัญหาสังคม ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ และความพึงพอใจของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

Main Article Content

ธัญญาพร ก่องขันธ์

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง เพื่อมุ่งศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง ปัญหาสังคม ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ และความพึงพอใจของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการวิจัยคือ 1. เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน   เรื่อง ปัญหาสังคม ของนักศึกษา ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานก่อนเรียนและหลังเรียน 2. เพื่อศึกษาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ เรื่อง ปัญหาสังคม ของนักศึกษา ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานก่อนเรียนและหลังเรียน 3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหา กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามภาคเรียนที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2559 จำนวน 62 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ  1.แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องปัญหาสังคม จำนวน 9 แผน 27 ชั่วโมง 2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3. แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ 4.แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียน


     ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้


     1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ปัญหาสังคม ของนักศึกษา ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่าคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ปัญหาสังคม ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม หลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05


     2. ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ เรื่อง ปัญหาสังคม ของนักศึกษา ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่าคะแนนความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ เรื่อง ปัญหาสังคม ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม หลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


     3. ความพึงพอใจของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง ปัญหาสังคม พบว่าความพึงพอใจของนักศึกษาโดยรวมมีระดับความพึงพอใจมากที่สุด (=4.82) ซึ่งด้านที่ผู้เรียนมีความพึงพอใจมากที่สุด คือ ผู้สอนชี้แจงกิจกรรมการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเข้าใจอย่างชัดเจน และผู้เรียนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมร่วมกันและผู้เรียนมีโอกาสในการค้นคว้าเสาะหาความรู้ด้วยตนเอง  (=4.98) รองลงมา คือด้านผู้สอนให้คำปรึกษา แนะนำ ดูแลผู้เรียนในการเรียนรู้อย่างทั่วถึงและผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงเนื้อหาเข้ากับชีวิตประจำวันได้(=4.95)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. ฆนัท ธาตุทอง. 2554. สอนคิด : การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการคิด. กรุงเทพฯ : เพชรเกษมการพิมพ์.

2. ทิศนา แขมมณี. 2555. ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.
กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

3. ไพฑูรย์ สินลารัตน์. 2557. หลักและเทคนิคการสอนระดับอุดมศึกษา. พิมพ์ครั้งที่4 . กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์
แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

4. ไพฑูรย์ สินลารัตน์ และคณะ. 2558. ศาสตร์การคิด. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ธุรกิจบัณฑิตย์.

5. ภัทรภร แสงไชย. 2551. การวิเคราะห์ผลของปฏิสัมพันธ์ระหว่างการสอนแบบแก้ปัญหา โดยอิงทฤษฎีสามศรกับ
รูปแบบการแก้ปัญหาที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
คณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่3. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

6. มาเรียม นิลพันธุ์. 2551. วิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 3. นครปฐม:
โรงพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

7. วัชรา เล่าเรียนดี. 2548. เทคนิคและวิธีการจัดการเรียนรู้สำหรับครูมืออาชีพ. นครปฐม: โรงพิมพ์
มหาวิทยาลัยศิลปากร.

8. วิจารณ์ พานิช. 2555. วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: ตถาตา พับลิเคชั่น.

9. สุนทร ทองเนื้อแข็ง. 2548. การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลักในวิชาการบริหารธุรกิจขนาดย่อม
สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง. วิทยานิพนธ์. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

10. อาพันธ์ชนิต เจนจิต. 2546. กิจกรรมการเรียนการสอนเรขาคณิต โดยใช้การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สำหรับ
นักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลายที่มีความสามารถพิเศษทางคณิตศาสตร์.
ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ.

11. อาภรณ์ แสงรัศมี. 2543. ผลการเรียนแบบใช้ปัญหาเป็นหลักต่อลักษณะการเรียนรู้ด้วยตนเอง ผลสัมฤทธิ์ทางการ
เรียนวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมและความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ปริญญครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาวิทยาศาสตร์ ภาควิชามัธยมศึกษา
คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

12. Ellison,M.B. 1995. Creative Problem Solving Through Design Education: An Experimental Study.
Canada: Mount Saint Vincent University. Available from
http://www.en.wikipedia.org/wiki/Creative_problem_solving.