รูปแบบการพัฒนาคุณภาพการให้บริการของพนักงานรักษาความปลอดภัย สำนักงานรักษาความปลอดภัย องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก (สปภ.อผศ.)

Main Article Content

มนัสยา แรกคำนวน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจสภาพแวดล้อมในการให้บริการของพนักงานรักษาความปลอดภัย สปภ.อผศ. 2) ศึกษาแนวทางในการพัฒนาคุณภาพการให้บริการของพนักงานรักษาความปลอดภัย สปภ.อผศ. ที่ตอบสนองต่อความต้องการของผู้ว่าจ้าง 3) สร้างรูปแบบในการพัฒนาคุณภาพการให้บริการของพนักงานรักษาความปลอดภัย สปภ.อผศ. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เชิงปริมาณ ได้แก่ แบบสอบถาม ที่มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .95 ประชากรคือ พนักงานรักษาความปลอดภัยมีจำนวน 19,879 คน กลุ่มตัวอย่างที่แจกแบบสอบถาม จำนวน 400 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย สถิติที่ใช้ประกอบไปด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบไม่มีโครงสร้าง และการสนทนากลุ่ม กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก มีจำนวน 10 คน ได้แก่ ตัวแทนจากฝ่ายผู้ว่าจ้าง บริษัทละ 1 คน จำนวน 3 บริษัท ผู้บริหารระดับสูงจาก สปภ.อผศ. ที่รับผิดชอบเรื่องการคัดเลือกพนักงานรักษาความปลอดภัย 2 คน รับผิดชอบในเรื่องการฝึกอบรมพนักงานรักษาความปลอดภัย 2 คน และรับผิดชอบในเรื่องของคุณภาพในการให้บริการจำนวน 3 คน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การ วิเคราะห์เนื้อหาตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย การจัดกลุ่มโครงสร้างเนื้อหา การทดสอบความถูกต้องของการวิเคราะห์เนื้อหาใช้วิธีการแบบสามเส้า


ผลการวิจัย พบว่า


  1. การสำรวจสภาพแวดล้อมในการให้บริการของพนักงานรักษาความปลอดภัย สปภ.อผศ. ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าภาพรวม ได้แก่ ด้านประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน และด้านมาตรฐานการปฏิบัติงาน ตามลำดับ

  2. แนวทางในการพัฒนาคุณภาพการให้บริการของพนักงานรักษาความปลอดภัย สปภ.อผศ. มี 4 ด้านคือ (ก) ด้านการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน โดยการเพิ่มกำลังพลที่ไม่เพียงพอกับความต้องการ (ข) ด้านการรักษามาตรฐานในการปฏิบัติงานและคุณภาพในการให้บริการ (ค) ด้านการรักษาชื่อเสียงจากผู้ว่าจ้างที่เป็นหน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจ (ง) ด้านการเพิ่มความพึงพอใจจากผู้ว่าจ้างโดยการลดค่าปรับที่ต้องเสียให้น้อยลงทุกปี

  3. รูปแบบในการพัฒนาคุณภาพการให้บริการของพนักงานรักษาความปลอดภัย สปภ.อผศ. มี 3 ส่วนคือ (ก) การคัดเลือกพนักงานต้องมีคุณสมบัติตามที่ สปภ.อผศ. กำหนด (ข) การรักษาระดับความพึงพอใจต้องให้อยู่ในระดับมากทั้งของพนักงานรักษาความปลอดภัยและของผู้ว่าจ้าง และ (ค) การรับประกันคุณภาพในการให้บริการโดยให้ผู้ว่าจ้างได้ทำการประเมินผลการปฏิบัติงานเป็นประจำทุกหกเดือน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. ข้อมูลการจดทะเบียนนิติบุคคล ประจำปี 2553 [online]: https://www.dbd.go.th/download/PDF_/LecYear53_53.pdf. 2553
2. ฉัฐชสรณ์ กาญจนศิลานนท์. (2555). คุณภาพบริการความจำเป็นของการพัฒนาคุณภาพบุคลากรในธุรกิจโรงแรม., วิทยานิพนธ์ คณะศิลปะศาสตร์, มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
3. ชัยเสฏฐ์ พรหมศรี, น้ำพร ธเนศสุนทร, นิธิมา สมนายัง และ วิลาวัณย์ ท้วมโสภา. (2553). การพัฒนารูปแบบจิตสำนึกทางด้านการรักษาความปลอดภัยและแผนกการฝึกอบรมพัฒนาสำหรับองค์การรักษาความปลอดภัย : กรณีศึกษาของสำนักข่าวกรองแห่งชาติ. รายงานการวิจัย, สำนักข่าวกรองแห่งชาติ.
4. พลเอกสาธิต สุวรรณประกร. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานรักษาความปลอดภัย. วิทยานิพนธ์ สาขาวิชาการจัดการ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.
5. ทวียศ บิลมาศ. (2550). การสร้างคุณค่าในงานรักษาความปลอดภัย. วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ
6. นาวาอากาศเอกชวลิต นุชกูล. (2556). ความผูกพันต่อองค์การกับประสิทธิผลองค์การ กรณีศึกษาข้าราชการทหาร สังกัดศูนย์รักษาความปลอดภัย กองบัญชาการกองทัพไทย. วิทยานิพนธ์ คณะรัฐศาสนศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกริก.
7. สุภาพพงศ์ เหล่าแสนสุข. (2559). การยกระดับคุณภาพชีวิตพนักงานจ้างเหมาบริการรักษาความปลอดภัยธนาคารแห่งประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
8. อรปภา คุ้มพูล. (2559). การพัฒนารูปแบบการบริหารองค์กรธุรกิจรักษาความปลอดภัย. วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, สาขาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์.
9. Armstrong, M. (2006). A Handbook of Human Resource Management Practice. 10th ed. Noida : Gopsons Paper Ltd.
10. Dhar, R.L. (2015). “Service Quality and the Training of Employees : The Mediating Role of Oraganizational Commitment.” Tourism Management. 46 : 419-430.
11. French, J. R. P., & Jr., Caplan, R. D., (1972). Organizational stress and individual strain. In A.J. Marrow (Ed.), The failure of success. New York : Amacom.
12. Gronroos Christian. (1990). Service Management and Marketing. Loxington : Lexington Books.
13. Noe, R., Hollenbeck, J., Gerhart, B., Wright, P. (2012). Human resource management : gaining a competitive advantage, 3rd edition. New York, USA : McGraw-Hill Education.
14. Nezakati, H., Kohzadi, V., Karimi, F. and Asgari, o. (2013). “Fostering Organizational Citizenship Behavior (OCB) through Human Resources Empowerment (HRE).” Proceedings of 6th International Business and Social Science Reserch Conference. 27, 1-21.
15. Parasuraman, A., Ziethaml, V. A. & Berry, L. L. (1990). Delivering Quality Service : Balancing Customer Perception. New York : The Free Press.
16. Sekiguchi, T. (2013). “Theoretical Implications from the Case of Performance based Human Resource Mnagement Practies in Japan : Management Fashion, Institutionalization and Strategic Human Resource Mnagement Perspectives.” The International Journal of Human Resource Management. 24(3), 471-486.