การวิเคราะห์เส้นทางการขนส่งผลไม้จากจังหวัดจันทบุรีสู่การค้าชายแดนกัมพูชา
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเส้นทางการขนส่งผลไม้จากจังหวัดจันทบุรีไปสู่การค้าชายแดนกัมพูชา และเพื่อวิเคราะห์เส้นทางรวมถึงจุดผ่านแดนในการขนส่งผลไม้ไปชายแดนกัมพูชา เพื่อเลือกเส้นทางที่เหมาะสมในการขนส่งมากที่สุด โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลเส้นทางการขนส่งผลไม้จากจังหวัดจันทบุรีไปยังชายแดนกัมพูชา แล้วนำข้อมูลมาประเมินผลตามเกณฑ์การประเมินศักยภาพของเส้นทางการขนส่ง ซึ่งประกอบด้วยเกณฑ์ในการประเมินทั้ง 9 ปัจจัย ได้แก่ จำนวนช่องทางจราจรต่อทิศทาง ความกว้างของผิวจราจร ความกว้างของไหล่ทาง วัสดุผิวจราจร ความคดเคี้ยวลาดชันของถนน การเสื่อมสภาพความเสียหายของผิวจราจร จุดอันตรายในเส้นทาง ความสามารถในการเชื่อมต่อกับการขนส่งรูปแบบ อื่น ๆ และความสามารถในการเชื่อมต่อกับต่างประเทศ จากนั้นทำการวิเคราะห์ศักยภาพของแต่ละเส้นทางโดยใช้การวิเคราะห์ตัดสินใจแบบหลายหลักเกณฑ์ โดยวิธีการรวมแบบถ่วงน้ำหนัก (SAW) โดยวิเคราะห์เส้นทางการขนส่งไปยังจุดผ่านแดนต่าง ๆ ของจังหวัดจันทบุรี ทั้งหมด 5 เส้นทาง ได้แก่ จุดผ่านแดนถาวรบ้านผักกาด จุดผ่านแดนถาวรบ้านแหลม จุดผ่อนปรนบ้านบึงชนังล่าง จุดผ่อนปรนบ้านสวนส้ม และจุดผ่อนปรนบ้านซับตารี
จากการวิเคราะห์และประเมินเส้นทางการขนส่งพบว่า เส้นทางที่มีความเหมาะสมที่จะขนส่งผลไม้ไปสู่ชายแดนกัมพูชามากที่สุด คือ เส้นทางไปยังจุดผ่านแดนถาวรบ้านแหลม โดยเส้นทางนี้มีศักยภาพร้อยละ 80 รองลงมาคือ เส้นทางไปยังจุดผ่านแดนถาวรบ้านผักกาดมีศักยภาพร้อยละ 71.11 และจะเห็นได้ว่า เส้นทางไปยังจุดผ่อนปรนบ้านซับตารีมีศักยภาพใกล้เคียงกับเส้นทางไปยังจุดผ่านแดนถาวร โดยมีศักยภาพร้อยละ 66.67 ซึ่งจุดผ่อนปรนนี้สามารถพัฒนาให้เป็นจุดผ่านแดนถาวรได้ในอนาคต
Article Details
References
2. กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ. อุตสาหกรรมผลไม้. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก www.thaifta.com/thaifta/Portals/0/File/ascn_fruit2. 2555.
3. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. กระทรวงเกษตรฯ ชูสหกรณ์ในจันทบุรีดำเนินธุรกิจรวบรวมผลไม้คุณภาพ [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://www.moac.go.th/ewt_news.php?nid=20053. 2557.
4. กีรติ จงแจ่มฟ้า. (2559) การวิเคราะห์แนวโน้มการค้าชายแดนระหว่างประเทศไทยกับกัมพูชา กรณีศึกษา : จังหวัดจันบุรี. ปริญญาเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
5. จุดผ่านแดนศุลกากรจันทบุรี. สินค้านำเข้า – ส่งออกสำคัญ 10 อันดับ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://www.chanthaburi.customs.go.th/list_strc_download.php?ini_content=about_170330_04&lang=th&left_menu=menu_information_news_170330_04. 2559.
6. ปิยนุช เสนสุวรรณ. (2552). แนวโน้มมูลค่าการค้าชายแดนไทย - กัมพูชา. คณะเศรษฐศาสตร์. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
7. วรพจน์ มีถม และ สมชาย พรชัยวิวัฒน์. (2554). การออกแบบระบบการตัดสินใจเลือกเส้นทางการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบระหว่างไทยกับเวียดนาม. วิศวกรรมสาร มข. 38(เมษายน – มิถุนายน) : 187 – 195.
8. วรพจน์ มีถม. (2554). เกณฑ์การประเมินศักยภาพ เส้นทางการขนส่งสินค้าทางถนน. วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร. 10(กรกฎาคม – ธันวาคม) : 61 – 80.
9. สำนักงานจังหวัดจันทบุรี. แผนพัฒนาจังหวัดจันทบุรี พ.ศ. 2557-2560. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://www.chanthaburi.go.th/new/wp-content/uploads/2015/02/2014-2017-final-Plan.pdf. 2556.
10. อภิรดี สรวิสูตร. (2559). การตัดสินใจหลายหลักเกณฑ์: เปรียบเทียบแนวคิดและวิธีการระหว่าง SAW AHP และ OPSIS. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. 8(พฤษภาคม – สิงหาคม) : 180 – 192.
11. Malzewski, J. (1999). GIS and Multicriteria decision analysis. New york : John wiley & Sons, Inc.
12. Mardani, A; Zavadskas, E; Khalifah, Z; Jusoh, A & Nor, K. (2015) Multiple criteria decision-making techniques in transportation systems: a systematic review of the state of the art literature. Transport Journal 31(December) : 359 – 385.