การประเมินศักยภาพเชิงพื้นที่เพื่อสำรวจความเสี่ยงภัยแล้งในจังหวัดลำปางโดยการประยุกต์ใช้ ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

Main Article Content

สุรศักดิ์ วงค์ษา
จินตนา อมรสงวนสิน

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินศักยภาพเชิงพื้นที่โดยประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อสำรวจความเสี่ยงภัยแล้งในจังหวัดลำปาง ผลการศึกษาศักยภาพเชิงพื้นที่ด้วยเทคนิคการซ้อนทับ (Overlay Technique) ซึ่งมีปัจจัยที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรายปี พื้นที่ป่าไม้ ระยะห่างจากพื้นที่แหล่งน้ำ ลักษณะของเนื้อดิน การระบายน้ำของดิน พื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่อุตสาหกรรม และพื้นที่ชุมชน ซึ่งได้ค่าถ่วงน้ำหนักจากการรวบรวมข้อมูลผ่านแบบสอบถามผู้เชี่ยวชาญจำนวน 26 คน ทำให้สามารถจำแนกพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งออกเป็น 5 ระดับ ได้แก่ พื้นที่เสี่ยงภัยแล้งระดับมากที่สุดมีพื้นที่ 941.45 ตร.กม. (ร้อยละ 7.75) พบในตำบลล้อมแรด อำเภอเถินรุนแรงที่สุด ในขณะที่พื้นที่เสี่ยงภัยแล้งระดับมากมีพื้นที่ 2,975.60 ตร.กม. (ร้อยละ 23.74) พบในตำบลเวียงมอก อำเภอเถินสูงที่สุด ส่วนพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งระดับปานกลางมีพื้นที่ 6,076.61 ตร.กม. (ร้อยละ 48.48) พบในตำบลจางเหนือ อำเภอแม่เมาะมากที่สุด เช่นเดียวกับพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งระดับน้อยมีพื้นที่ 2,410.19 ตร.กม. (ร้อยละ 19.23) พบในตำบลบ้านร้อง อำเภองาวเป็นส่วนใหญ่ และพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งระดับน้อยที่สุดมีพื้นที่ 100.11 (ร้อยละ 0.80) พบในตำบลเวียงมอก อำเภอเถินเป็นบริเวณกว้างที่สุด รวมพื้นที่ทั้งสิ้น 12,533.96 ตร.กม. ของจังหวัดลำปาง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กรมพัฒนาที่ดิน. (2548). พื้นที่แล้งซ้ำซาก. (ออนไลน์) แหล่งที่มา: https://www.ldd.go.th/web_irw/drought.html

2. จินตนา อมรสงวนสิน. (2551). การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการศึกษาการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และจัดการพื้นที่ป่าอนุรักษ์: กรณีศึกษาเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า แม่น้ำภาชี อำเภอสวนผึ้ง และอำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี. วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม. 1(เมษายน): 66-89

3. จิรพล สินูนาวา. (2536). ภาพรวมระบบน้ำในประเทศ. ใน เอกสารการประชุมเชิงปฏิบัติ เรื่อง น้ำการจัดการน้ำเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิเอเชีย การประปานครหลวง มูลนิธิหมอชาวบ้าน

4. ธีระพล ตั้งสมบุญ. (2549). การใช้น้ำของพืช. กรุงเทพมหานคร: กลุ่มงานวิจัยการใช้น้ำชลประทาน ส่วนการใช้น้ำชลประทาน สำนักอุทกวิทยาและบริหารน้ำ.

5. ประวิทย์ จันทร์แฉ่ง. (2553). การวิเคราะห์ความเสี่ยงต่อความแห้งแล้งในพื้นที่อำเภอกำแพงแสนจังหวัดนครปฐมโดยการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

6. รัศมี สุวรรณธกำธร. (2550). แนวทางการวิเคราะห์ความแห้งแล้งด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ กรณีพื้นที่ศึกษาลุ่มน้ำเชิญ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

7. สมิทธ ธรรมสโรธ. (2534). ภัยธรรมชาติในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: กรมอุตุนิยมวิทยา

8. สรณี แสงมิตร และดุษฎี ศุขวัฒน์. (2524). ฝนแล้ง. กรุงเทพมหานคร: กรมอุตุนิยมวิทยา.

9. สีใส ยี่สุ่นแสง. (2547). การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงภัยแล้งในจังหวัดพิษณุโลก. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร.

10. สุภา รันดาเว. (2544). ระบบการให้น้ำที่เหมาะสมกับไม้ผลเศรษฐกิจบางชนิด. กรุงเทพมหานคร: กองอนุรักษ์ดินและน้ำ กรมพัฒนาทรัพยากรที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

11. Asawachintachit, J. (2008). Appropriate Drought Index: Case Study in Yom River Basin. Master’s thesis, Thammasat University.

12. Boesen, J., Maganga, F. & Odgaard, R. (1999). Rules, Norm and Actual Practice: Land and Water Management in the Ruaha River Basin, Tanzania. In Managing the Globalized Environment, Local Strategies to Secure Livelihoods. London: IT publication. Pp. 114-132.

13. Department of Environment Quality Promotion. (2016). Drought. (Online). Available: https://local.environ net.in.th/formal_data2.php?id=72.

14. Department of Industrial Works. (2551). The project of Industrial Water Management. Bangkok: Department of Industrial Works.

15. ERSI. (2017). Data classification methods. (Online). Available: https://pro.arcgis.com/en/pro-app/help/mapping/symbols-and-styles/data-classificationmethods.htm#ESRI_SECTION1_A0FBB747 53CA4B4089D6B38F078F5017

16. Hydro and Agro Information Institute. (2014). Drought Record in 2015/2016. (Online). Available: https://www.thaiwater.net/current/drought57/drought57.html

17. Irrigation Development Institute. (2008). The action plan of water allocation. Bangkok: Irrigation Development Institute, Royal Irrigation Department.

18. Kemp, D. D. (1994). Global Environmental Issues: A Climatological Approach, 2nd ed. New York: Routledge.

19. Kovach, R. L. (1995). Earth’s fury: An introduction to natural hazard and disaster. New Jersey: Prentice-Hall.

20. MGR Online. (2549). ลำปางได้รับผลกระทบภัยแล้งคาด 20,000 ครอบครัวเดือนร้อน. (ออนไลน์) แหล่งที่มา: https://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx? NewsID=9490000010128

21. Office of Agriculture and Cooperative of Lampang Province. (2015). Drought Situation in Lampang Province. (Online). Available: https://www.korsorlampang.net /news-activities-detail.php?id=276

22. Oprasitwong A. & Wongwittawat, P. (1995). Drought in Thailand. Bangkok: Thai Meteorological Department

23. Prompan, P. (2005). Definition and Criterria of Drought in Thailand. Master’s thesis, Thammasat University.

24. Tangtham, N. (1994). The hydrological Roles of Forests in Thailand. The Thailand Development Research Institute. 9(September): 21-32.

25. Tangtham, N. (2008). Global climate change and its impacts in Thailand. In Proceedings of 3nd Thaicid National Symposium. Bangkok:Thai National Committee on Irrigation and Drainage. Pp.20-38.

26. Tangtham, N. and Vittawatsutthipibul, P. (1988). The Effects of Diminishing Forest Areas on Rainfall Amount and Distribution in Northeastern Thailand. In Proceedings of Kasetsart University Conference. Bangkok: Kasetsart University.

27. Thai Meteorological Department. (2008). Drought. (Online). Available: https:// www.tmd.go.th/info/info.php?FileID=71

28. Udomchoke, V. and Chuchip, P. (2005). Drought Classification in Eastern of Thailand. In Proceedings of 43rd Kasetsart University Annual Conference: Fisheries. Natural Resources and Environmental Economics. Bangkok: Kasetsart University. Pp. 527-534.

29. Wilhite, D. A. and Glants, M. H. (1985). Understanding the drought phenomenon: The role of definitions. Water International. 10(March): 111-120.

30. World Bank. (2016). Thailand Population. (Online). Available: https://www.trading economics.com/thailand/population.