การเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภคตามร้านสะดวกซื้อในสถานบริการน้ำมัน

Main Article Content

THUAN HOANG TUAN
ชิณโสณ์ วิสิฐนิธิกิจา

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่อง การเลือกซื้อสินค้าตามร้านสะดวกซื้อในสถานบริการน้ำมัน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรม และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าตามร้านสะดวกซื้อในสถานบริการน้ำมัน ประชากรในการศึกษาคือผู้ใช้บริการร้านสะดวกซื้อในสถานบริการน้ำมัน จำนวน 385 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  Chi-Square และ Regression


ผลการศึกษาพบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุอยู่ระหว่าง 20-29 ปี สถานภาพโสดสำเร็จการศึกษา ระดับปริญญาตรี รายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ที่ 10,001-20,000 บาท และมีอาชีพประกอบธุรกิจส่วนตัว  ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการเลือกซื้อสินค้าในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าตามร้านสะดวกซื้อในสถานบริการน้ำมัน พบว่าปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ในเรื่องสินค้าในร้านมีเพียงพอต่อความต้องการ สินค้ามีป้ายชี้บ่งหาได้ง่าย สินค้าที่มีให้เลือกหลากหลาย ปัจจัยด้านราคาในเรื่องชำระเงินได้สะสมแต้ม และปัจจัยด้านช่องทางจัดจำหน่ายในเรื่อง เปิดบริการทุกวัน 24 ชั่วโมง มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าตามร้านสะดวกซื้อในสถานบริการน้ำมัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. ณัชพล สังฆะมงคลกิจ. (2550). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคในการใช้บริการสถานีบริการน้ำมันในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

2. นงลักษณ์ อัศวสกุลฤชา. (2550). พฤติกรรมของผู้บริโภคในการเลือกใช้สถานีบริการน้ำมันในเขตเทศบาลนครอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. สาขาการจัดการทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

3. ปวีณา วงศ์งามใส. (2554). ปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการที่มีผลต่อลูกค้าในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลต่อการตัดสินใจซื้อกาแฟสดที่ร้านคาเฟ่อเมซอน. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

4. ลัดดา ปิ่นเกล้า. (2555). พฤติกรรมและความพึงพอใจของผู้บริโภคในการเข้าใช้บริการร้านอาหารประเภทฟาสต์ฟู้ดในสถานีบริการน้ำมัน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ในเขต กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

5. สมชัย ธรรมสนอง. (2550). ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลกับพฤติกรรมการใช้สถานีบริการน้ำมันของผู้ขับขี่รถยนต์นั่งส่วนบุคคลในเขต กรุงเทพมหานคร. การศึกษาค้นคว้าอิสระหลักสูตร บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

6. Kotler, Philip and Gary Armstrong. (1996). Principles of Marketing. (8th ed). Prentice-Hall, Inc.