รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของคุณภาพการจัดการศึกษา สำหรับโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในภาคตะวันออก

Main Article Content

กันธอร กุลบุตรดี
สฎายุ ธีระวณิชตระกูล
สมพงษ์ ปั้นหุ่น

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบ  ตรวจสอบ และรับรองรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของคุณภาพการจัดการศึกษา สำหรับโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในภาคตะวันออก  เก็บข้อมูลเชิงปริมาณจากผู้บริหารและครูวิชาการ รวมจำนวน 890 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ  โดยวิเคราะห์ลักษณะการแจกแจงของข้อมูลแต่ละตัวแปร โดยใช้สถิติบรรยาย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ค่าความเบ้และค่าความโด่ง และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์วิเคราะห์โมเดลโครงสร้างเชิงเส้น โดยใช้โปแกรมสำเร็จรูป (LISREL)  และเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้าง (In-depth Interview)  จากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน  10 คน


ผลการวิจัยพบว่า  1) รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของคุณภาพการจัดการศึกษา สำหรับโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในภาคตะวันออก เรียงลำดับความสำคัญของข้อค้นพบ ได้แก่ การเรียนการสอนของครู การบริหารจัดการของผู้บริหาร สภาพแวดล้อมของโรงเรียน ภาวะผู้นำของผู้บริหาร การเรียนรู้ของนักเรียน และภูมิหลังของนักเรียน ตามลำดับ  2) ความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงสาเหตุของคุณภาพการจัดการศึกษาสำหรับโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในภาคตะวันออก มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พิจารณาจากผลการตรวจสอบค่า เท่ากับ 1.23 (p =.056) ค่า CFI เท่ากับ 1.00 ค่า RMSEA เท่ากับ .02  แสดงว่า ตัวแปรทั้งหมดสามารถอธิบายความแปรปรวนของคุณภาพการจัดการศึกษาสำหรับโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กได้ร้อยละ 84  3) การยืนยันความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของคุณภาพการจัดการศึกษา สำหรับโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในภาคตะวันออก โดยผู้ทรงคุณวุฒิมีความคิดเห็นความสอดคล้องกับรูปแบบที่พัฒนาขึ้น แสดงให้เห็นว่ารูปแบบที่สร้างขึ้นมาสามารถใช้อธิบายคุณภาพการจัดการศึกษาสำหรับโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในภาคตะวันออก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

2. กระทรวงศึกษาธิการ. (2556). ร่างแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2557-2559, [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://www.slideshare.net/boonlert/ict-moe-master-plan-2557- 2559?from_action=save&from=fblanding. (เมื่อ 5 พฤษภาคม 2559)

3. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2543). การจัดการเครือข่าย: กลยุทธ์สำคัญสู่ความสำเร็จของการปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ:ซัคเซสมีเดีย.

4. ชุมพร สวยสด. (2550). ศักยภาพและวิธีีการสนับสนุนการจัดการศึกษาตามทัศนะของผู้นำชุมชนในเขตบริการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก อำเภอวังเหนือจังหวัดลำปาง. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. (การบริหารการศึกษา). ลำปาง: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย ราชภัฏลำปาง. ถายเอกสาร.

5. ธนสาร บัลลังก์ปัทมา. (2552). “ทักษะการบริหาร (สำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก)”. The City Journal, ปีที่ 5 (เดือนมีนาคม) : 56.

6. บุญมี ก่อบุญ. (2553). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทีมของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการขั้นพื้นฐาน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ ด.ด. สกลนคร:มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

7. ปรีชา ชัยนิยม. (2542). การศึกษาความคิดเห็นของครูต่อการสอนความารับผิดชอบและความมีระเบียบวินัยโดยกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชนกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

8. พัชสุดา กัลยานุวุฒิ. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักศึกษาระดับ ปวช. และระดับปวส. ของวิทยาลัยเทคโนโลยีพายัพ และบริหารธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2560, จาก www.payaptechno.ac.th/app/images/payap/research/research1/st005.pdf

9. พิมพ์พันธ์ เดชะคุปต์. (2550). ทักษะ 5C เพื่อการพัฒนาหน่วยการเรียนรู้และการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

10. ยอแสง นาคกระแสร์. (2557). การศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาของข้าราชการครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานีเขต 3. วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต, ปีที่ 15 (ตุลาคม 2557 – มกราคม 2558) : 1.

11. สรายุทธ เพ็ชรซีก. (2553). “ปัจจัยทางครอบครัวที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น : ศึกษากรณีโรงเรียนมีนประสาทวิทยา เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร” วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์.

12. Dornbusch, S.M. and Others. 1987. Single Parents, Extended Household and the Control of Adolescent. Child Development. 56.

13. Hoy, W. K. & Miskel, C. G. (2001). Educational administration: Theory research and practice (6th edition. New York: McGraw-Hill.

14. Michael, A. C. (1999). The use of computer technology by academics to communicate internationality: Computer mediated communication and the invisible college. Retrieved April 10, 2005, from http//thailis.uni.net.th/DAO/search.

15. Reid RJ, et al. (2002) Efficient PCR-based gene disruption in Saccharomyces strains using intergenic primers. Yeast 19(4):319-28

16. Saeed, S. R. (1998). Effects of the internet on research, Information seeking and communication behavior of Australian academic psychologist. Retrieved April 10, 2005, from http//thailis.uni.th /DAO/search.