ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาจังหวัดปราจีนบุรีสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาจังหวัดปราจีนบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7 กลุ่มตัวอย่างเป็นครูผู้สอนในโรงเรียนจังหวัดปราจีนบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7 จำนวน 260 คน โดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ แบ่งออกเป็น 2 ตอน ได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับประสิทธิผลของสถานศึกษา จังหวัดปราจีนบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7 มีค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง.26 ถึง .75 ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ .85 และแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา ด้านการบริหารของผู้บริหาร มีค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง .28 ถึง .81 ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ .91 และด้านบุคลากร มีค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง .29 ถึง .75 ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ .82 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s product moment correlation coefficient) โดยการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple regression analysis) และการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน (Stepwise multiple regression analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
- ประสิทธิผลของสถานศึกษา ปัจจัยด้านการบริหารของผู้บริหารและด้านบุคลากร จังหวัดปราจีนบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก
- ปัจจัยด้านการบริหารของผู้บริหารและปัจจัยด้านบุคลากร โดยรวมและรายด้านสัมพันธ์ทางบวกกับประสิทธิผลของสถานศึกษา จังหวัดปราจีนบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7 ในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
- ปัจจัยด้านการบริหารของผู้บริหาร และด้านบุคลากรส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา จังหวัดปราจีนบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. การกำหนดวิสัยทัศน์ (X 112) การพัฒนาครู (X 22) การกระตุ้นการใช้ปัญญา (X 113) และงบประมาณ (X 121) สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลของสถานศึกษา จังหวัดปราจีนบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7 (Y) มีค่าอำนาจพยากรณ์คิดเป็นร้อยละ 47.80 โดยสามารถเขียนเป็นสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ ดังนี้
= 1.11 +.191(X 112)+.209 (X 22)+.172(X 113)+ .140(X 121)
หรือในรูปคะแนนมาตรฐาน
= .247(Z 112).282(Z22)+ .230(Z113) + .168(Z121)
Article Details
References
2. กระทรวงศึกษาธิการ. 2551.หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551.กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.
3. กระทรวงศึกษาธิการ. 2552.หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
4. กรุณา ภู่มะลิ และคณะ. 2557. ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนขนาดเล็กใน ภาคตะวันออก. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์.8(1), 158-172.
5. ขวัญตา เกื้อกูลรัฐ. 2554.ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาขนาดกลาง อำเภอโพธาราม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2.วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีการบริหารสถานศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
6. จิระวัฒน์ วังกะ.2558. ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ในเขตจังหวัดภาคเหนือ สังกัดสำนักงานการศึกพิเศษ.วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.
7. ฐิตา วิหครัตน์.2558.การบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาในจังหวัด สมุทรปราการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.
8. ทินกร ประเสริฐหล้า. 2553.การบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาสกลนครเขต1.ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร.
9. พิมพรรณ สุริโย. 2551. ปัจจัยด้านผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนเทศบาล กลุ่มการศึกษาท้องถิ่นที่ 9 กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น.วิทยาพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
10. ยุวดี ประทุม. 2555.ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3.วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.
11. ราตรี สอนดี. 2559. ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของงานวิชาการของโรงเรียนในสังกัดองค์การ บริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ.วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยบูรพา.
12. วิชษารัตน์ ธรมะรัตน์จินดา.2552. ความสัมพันธ์ระหว่างองค์การแห่งการเรียนรู้กับประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยศิลปากร.
13. วิรัตน์ พงษ์มิตรและคณะ. 2556. ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21.วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
14. สายสมร พุทธิไสย. 2551. ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลองค์การของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาสกลนครเขต 1.วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
15. สุขคะเสริม สิทธิเดช.2556.ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการงานวิชาการในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดแผนก ศึกษาธิการแขวงคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยบูรพา.
16. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7. 2557. ข้อมูลสารสนเทศ ปีการศึกษา 2557.ปราจีนบุรี: กลุ่มบริหารงานบุคคล.
17. Bass, B.M. 1985. Leadership and performance beyond expectations. New York :The Free Press.
18. Bennis. 1971. “ Toward a truly scientific management : the Concept of organization health” in Charade. J ,(ed.) assessment of organizational effectiveness : issues, analysis, reading.pacific Palisades, calif: Goodyear Publishing Company. Inc.
19. Glickman, Carl D. 1990. Supervision of Instruction. New York :Allyn and Bacon.
20. Hough,John B. and Duncan, Jam’es K. 1970. Teaching description and analysis.Addison-Westlu.
21. Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities.Educational and Psychological Measurement, 30(3), pp. 607-610.
22. Mott, P.E. 1972. The Characteristic of Effective Organization. New York : Harper and Row.
23. Robbins. 1978. Personnel, The Management of Human Resources.NewJersey :Prentice Hall.
24. Sadi, SeffrogluSuleyman. 1997. Elementary School Teacher Development: A Study of Professional Development Opportunities in Turkish School.Dissertation Abstracts International. 57(7): 28078-A.
25. Sammons, S. P., Hillman, J. &Mortimore, P.1994.Key characteristics of effective school: A review of school effectiveness research.London, Office for Standards in Education.