การศึกษาการดำเนินงานการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในจังหวัดจันทบุรี

Main Article Content

สวัสดิ์ชัย ศรีพนมธนากร
ธันวดี ดอนวิเศษ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการดำเนินงานการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดจันทบุรี จำแนกตามภาระงานสอนและประสบการณ์สอน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูผู้สอนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดจันทบุรี จำนวน 407 คน กำหนดขนาดตัวอย่างด้วยตารางกำหนดกลุ่มตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกน และสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .98 สถิติที่ใช้ คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการเปรียบเทียบพหุคูณวิธีของเชฟเฟ่


ผลการวิจัย พบว่า


  1. การดำเนินงานการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดจันทบุรี พบว่า โดยภาพรวมมีการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก

  2. การเปรียบเทียบการดำเนินงานการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัด

จันทบุรี จำแนกตามภาระงานสอน พบว่า การดำเนินงานในภาพรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05   
            3. การเปรียบเทียบการดำเนินงานการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดจันทบุรี จำแนกตามประสบการณ์สอน พบว่า การดำเนินงานในภาพรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กรมวิชาการ. (2542). แนวทางการวัดและประเมินผลการเรียน. กรุงเทพฯ: คุรุสภา ลาดพร้าว.

2. กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

3. กระทรวงศึกษาธิการ, สำนักงานวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). เอกสารประกอบหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 : แนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

4. กระทรวงศึกษาธิการ, กลุ่มพัฒนากระบวนการเรียนรู้ สำนักงานวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). แนวทางการจัดการเรียนรู้ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

5. ทัศนีย์ ศรีสวัสดิ์. (2555). การบริหารการวัดและประเมินผลการศึกษากับการปฏิบัติงานตามภารกิจการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของสถานศึกษาในจังหวัดนครปฐม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.

6. บุญเชิด ภิญโญอนันตพงษ์. (2544). การวัดและประเมินผลการศึกษา : ทฤษฎีและการประยุกต์. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.

7. ไพศาล หวังพานิช. (2545). การวัดและประเมินผลการเรียน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

8. สมส่วน ภูวงษ์ยางนอก. (2554). ปัญหาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.

9. สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ และศุภณัฏฐ์ ศศิวุฒิวัฒน์, ความล้มเหลวของระบบการประเมินผลการศึกษาไทย : สาเหตุและข้อเสนอแนะ, เข้าถึงเมื่อ 14 ภุมภาพันธ์ 2555. บทความจากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจออนไลน์ https://www.thaonline.com.

10. ศิริชัย กาญจนวาสี. (2543). การประเมินการเรียนรู้ : ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย. กรุงเทพฯ : อมรรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด.

11. ลือชัย ใจเดียว. (2552). สภาพและปัญหาการดำเนินงานตามแนวทางการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

12. วิสิษฐ์ และอิ่ม. (2550). การศึกษาการดำเนินการการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

13. อรุณ โยธสิงห์. (2546). ความเข้าใจสภาพการปฏิบัติ และปัญหาในการวัดและประเมินผลการเรียนตามสภาพจริงของครูผู้สอนในโรงเรียนนำร่องและโรงเรียนเครือข่าย การใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. (ถ่ายเอกสาร).

14. Herman, J. L., & Winters, L. (1992). A practical guide to assessment. London: Publication Data.

15. Reeves, D. (2010). A framework for assessing 21st century skills. In J.Bellance & R. Brandt, (Eds.), 21st century skills : Rethinking how students Learn, in Solution Tree.

16. Rotherham, A. J., & Willingham, D. (2009, September). 21st century skills : The challenges ahead. Educational Leadership, 87(1), 16 – 21.