ภูมิปัญญาท้องถิ่นจังหวัดสระแก้ว : การคงอยู่หรือการเปลี่ยนแปลง เมื่อเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

Main Article Content

อัญชลี มีบุญ

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง ภูมิปัญญาท้องถิ่นจังหวัดสระแก้ว : การคงอยู่หรือการเปลี่ยนแปลงเมื่อเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เป็นการศึกษาคุณภาพ (Qualitative  Research) มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่เป็นเงื่อนไขการดำรงอยู่ของภูมิปัญญาท้องถิ่นจังหวัดสระแก้ว  2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ทำให้ภูมิปัญญาท้องถิ่นจังหวัดสระแก้วเปลี่ยนไป 3) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาหรือการเปลี่ยนแปลงของภูมิปัญญาท้องถิ่นเมื่อเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ผู้วิจัยกำหนดกลุ่มตัวอย่างด้วยการเลือกแบบเฉพาะเจาะจงโดยเลือกผู้สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น ผู้นำกลุ่มหรือผู้แทน ที่เป็นผู้นำด้านการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นของจังหวัดสระแก้วใน  9 อำเภอ อำเภอละ 1 คน รวมจำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ผู้วิจัยลงพื้นที่และเก็บข้อมูลด้วยตนเอง ทำการวิเคราะห์ และตีความข้อมูลต่างๆ แล้วนำเสนอโดยวิธีการรายงานผลเชิงพรรณนา (Descriptive  Report)


 ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยที่เป็นเงื่อนไขของการดำรงอยู่ของภูมิปัญญาท้องถิ่นนั้นมีความสำคัญทั้ง 3


 ภาคส่วน คือ ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน  ภาครัฐมีส่วนสำคัญในการส่งเสริมสนับสนุนงบประมาณ ความรู้ สถานที่จัดจำหน่าย  การพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้กับผู้ผลิตภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาคเอกชน มีส่วนสำคัญในการกระจายสินค้า การเป็นตัวแทนในการนำสินค้าภูมิปัญญาท้องถิ่นใน


แต่ละท้องที่ไปจำหน่าย เพื่อให้เป็นที่รู้จักของคนทั่วไป ภาคประชาชน ถือเป็นปัจจัยที่สำคัญ เนื่องจากภูมิปัญญาท้องถิ่นบางชิ้นต้องอาศัยความสนใจของประชาชนในการเข้ามาศึกษาหาความรู้และอนุรักษ์สืบสานให้คงอยู่ตลอดไป  2) ปัจจัยต่างๆ ที่มีผลทำให้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเปลี่ยนไป แบ่งได้ 2 ปัจจัย คือ ปัจจัยภายในคือ ข้อจำกัดของภูมิปัญญาท้องถิ่น และปัจจัยภายนอก คือ สภาพเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมที่เปลี่ยนไป ความเจริญของวัตถุ เทคโนโลยี ที่มีมากขึ้น ทำให้บริบทของการใช้ชีวิตของคนไทยในปัจจุบัน ส่งผลให้ผลิตสินค้า หรือผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นเปลี่ยนแปลง บริบทของการใช้ชีวิตความสะดวกสบายของเทคโนโลยีที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของคนไทยในปัจจุบัน ทำให้เยาวชนรุ่นใหม่ขาดความสนใจเกี่ยวกับการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น


3) สภาพปัญหาหรือการเปลี่ยนแปลงของภูมิปัญญาท้องถิ่น เมื่อเข้าสู่การเป็นประชาคม


 เศรษฐกิจอาเซียน พบว่า ผู้นำกลุ่ม หรือผู้ผลิตสินค้าที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นส่วนใหญ่ ไม่ถือว่ามีผลกระทบกับการผลิตหรือการจัดจำหน่ายสินค้า เนื่องจากไม่ได้มีผลกระทบโดยตรง แต่ก็มีผู้นำกลุ่มหรือผู้ผลิตสินค้าบางรายที่มองเห็นโอกาสในการขยายตลาดไปยังตลาดอาเซียน มีการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคในตลาดอาเซียนมากขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. สุมาลี พันธุ์ยุรา. (2543). พัฒนาการของอำนาจท่องถิ่นในบริเวณลุ่มแม่น้ำบางปะกงและชายฝั่ง ทะเลตะวันออก พ.ศ. 2440-2516 , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543.
2. ขรรค์ชัย วัลลิโภดม. (2535) การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมของชาวนาอันเนื่องจากการขายที่ดินกรณีศึกษา:ชาวนาในตำบลบางพระครู อำเภอนครหลวง จังวัดพระนครศรีอยุธยา , มหาวิทยาลัยศิลปกร;2535.
3. นายจารุพงศ์ พลเดช. (2551). การพัฒนาสังคมด้วยภูมิปัญญา. (Online). Aviable:http://www. lopburi.go.th/governor/book_january_51/panya.doc
4. ยุวศิน ปัญญาวุธตระกูล. (2542). การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจในล้านนากับการก่อตัวของสำนักท้องถิ่น พ.ศ. 2459-2480, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
5. เนาวรัตน์ ชิโนภาษ. (2542). วิถีชีวิตของผู้ย้ายถิ่นชาวใต้ในกรุงเทพมหานคร, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
6. ตีรณ โง้วศิริมณี. (2525). เศรษฐกิจไทย: การเปลี่ยนแปลงและการพัฒนา, กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สร้างสรรค์.
7. จตุรงค์ บุญรัตนสุนทร. (2535). วิธีวิทยาศึกษาสังคมไทย:วิถีใหม่แห่งการพัฒนา, กรุงเทพฯ : โครงการส่งเสริมองค์กรพัฒนาเอกชนไทย, 2535.
8. สุธี สังข์หิรัญ. (2542). การเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจของชาวบ้านในชุมชนคูขุด ตำบลคูขุด อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา, ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต; มหาวิทยาลัยทักษิณ.
9. เกษม จันทร์แก้ว. (2541). เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพมหานคร: โครงการสหวิทยาการสาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
10. จักรพงศ์ ทิมจรัส. (2545). ผลกระทบของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศที่มีต่อความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
11. ชัชพล ทรงสุนทรวงศ์. (2546). มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
12. เฌอมาลย์ ราชภัณฑารักษ์. (2542). มนุษย์กับวัฒนธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
13. ณรงค์ ธนาวิภาส. (2545). หลักเศรษฐศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: บริษัทจูนพับลิชชิ่ง จำกัด.
14. บุญเรียง ขจรศิลป์. (2533. การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS. กรุงเทพมหานคร: ฟิสิกส์เซ็นเตอร์การพิมพ์.
15. บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2536). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: บีแอนด์บี พับลิชชิ่ง.
16. บุญสม หรรษาศิริพจน์.(2535). คุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม. รายงานการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: ม.ป.ท.
17. พจนีย์ พิมที. (2545). การศึกษาผลของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศต่อการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมของประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
18. พะนอม แก้วกำเนิด. (2532). ทิศทางและนโยบายสิ่งแวดล้อมศึกษา. กรุงเทพมหานคร: กรมวิชาการ, กระทรวงศึกษาธิการ.
19. รัตนา อัตภูมิสุวรรณ์. (2542). สังคมไทยกับการเสริมสร้างคุณภาพชีวิต. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ผลิตตำราเรียนสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
20. วชิรวัฒน์ สินธพ. (2541). ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการฝังกลบกากของเสียและสารอันตรายจากนิคมอุตสาหกรรม: ศึกษาเฉพาะกรณีประชาชนที่อาศัยอยู่โดยรอบนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
21. วิจิตร บุณยะโหตระ. (2537). ชีวิตและสิ่งแวดล้อม เล่ม 1. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ธรรมสารการพิมพ์.
22.วันรักษ์ มิ่งมณีนาคิน. (2546). พจนานุกรมศัพท์เศรษฐศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่7. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
23. สมพร เทพสิทธา. (2540). การพัฒนาสังคมในยุคโลกาภิวัต. กรุงเทพมหานคร: จิรรัชการพิมพ์.
24. สีลาภรณ์ นาครทรรพ และ ฉลวยลักษณ์ สินประเสริฐ . (2538). ตัวชี้วัดสำหรับงานพัฒนาชนบท: ประสบการณ์จากนักพัฒนา. กรุงเทพมหานคร: สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา.
25. สุดใจ ทูลพานิชย์กิจ. (2546). หลักการพัฒนาเศรษฐกิจ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: ธนาเพรส แอนด์ กราฟฟิค จำกัด.
26. สุพรรณี ไชยอำพร และ สนิท สมัครการ. (2534). คุณภาพชีวิตของคนไทย ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างชาวเมืองกับชาวชนบท. กรุงเทพมหานคร: สำนักวิจัย สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
27. สุพัตรา สุภาพ. (2545). ปัญหาสังคม. พิมพ์ครั้งที่ 18. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช จำกัด.
28. ดิเรก ฤกษ์หร่าย. (2535). การพัฒนาชนบท: กลยุทธ์และเครื่องชี้วัด. นครสวรรค์: โรงพิมพ์คอมพิวเตอร์ แอนด์กราฟฟิค.
29. เดือนรุ่ง ถิ่นวิไล. (2542). การศึกษาเปรียบเทียบลักษณะทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองของประชากรในชนบทระหว่างชุมชนที่มีโรงงานอุตสาหกรรมและไม่มีโรงงานอุตสาหกรรม. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
30. ดุสิดา แดงทองดี. (2542). ทัศนคติของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกในการลงทุนในเขตอุตสาหกรรมส่งออก. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.