การเปลี่ยนแปลงชนิดนกในพื้นที่ปกปักทรัพยากร มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงความหลากชนิดของนกในพื้นที่ปกปักทรัพยากร มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี โดยใช้ข้อมูลการศึกษาก่อนหน้า 10 เดือน และศึกษาเพิ่มเติมรวมระยะเวลา 3 ปี (ตุลาคม 2557-กันยายน 2560) ทำการนับนก 13 จุด จุดละ 15 นาที ผลการศึกษาพบนกทั้งสิ้น 32 วงศ์ 55 สกุล 74 ชนิด จัดเป็นนกประจำถิ่น 52 ชนิด (70.27%) นกอพยพ 18 ชนิด (24.32%) นกอพยพผ่าน 3 ชนิด (4.05%) และนกอพยพมาทำรังวางไข่ 1 ชนิด (1.35%) ได้แก่ นกแต้วแล้วธรรมดา Pitta moluccensis โดยพบได้ทั้ง 3 ปี และพบนกยางลายเสือ Gorsachius melanolophus
ซึ่งมีสถานภาพใกล้ถูกคุกคาม โดยพบได้ทั้ง 3 ปีเช่นกัน สำหรับการเปลี่ยนแปลงของชนิดและจำนวนครั้งที่พบนก (detection) โดยภาพรวมพบว่าปีแรกพบนกรวม 66 ชนิด (32±4 ชนิด/เดือน) ปีที่ 2 พบเพิ่มเป็น 67 ชนิด (36±6 ชนิด/เดือน) และปีที่ 3 ลดลงเหลือเพียง 60 ชนิด (30±7 ชนิด/เดือน) ขณะที่จำนวนครั้งที่พบนก พบว่ามีค่าลดลงอย่างมากในปีที่ 3 โดยปีที่ 1 พบนกรวม 862 ครั้ง (72±16 ครั้ง/เดือน) ใกล้เคียงกับปีที่ 2 ที่พบนกรวม 959 ครั้ง (80±16 ครั้ง/เดือน) แต่ปีที่ 3 พบว่าจำนวนครั้งที่พบนกรวมลดลงเหลือเพียง 687 ครั้ง (57±17 ครั้ง/เดือน) ซึ่งคาดว่าอาจเกิดจากการก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่ทางทิศเหนือและใต้ของพื้นที่ป่า จากผลการศึกษาสรุปได้ว่าพื้นที่แห่งนี้มีศักยภาพในการเป็นแหล่งอนุรักษ์นก นอกจากนี้ควรมีการศึกษาผลกระทบของการก่อสร้างต่อการใช้ประโยชน์ของนกและการเปลี่ยนแปลงชนิดของนก โดยติดตามศึกษาต่อเนื่องหลังการก่อสร้างแล้วเสร็จ
Article Details
References
ในบึงบอระเพ็ดพลังได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมในปี พ.ศ. 2549. ใน ผลงานวิจัยและรายงานความก้าวหน้างานวิจัยประจำปี 2551. กลุ่มงานวิจัยสัตว์ป่า สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. กรุงเทพมหานคร.
2. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2558. โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพ-รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี. รายงานการดำเนินงาน ปีงบประมาณ 2558. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
3. จารุจินต์ นภีตะภัฏ, กานต์ เลขะกุล และวัชระ สงวนสมบัติ. 2555. คู่มือศึกษาธรรมชาติหมอบุญส่ง เลขะกุล นกเมืองไทย. กรุงเทพฯ: คณะบุคคลนายแพทย์บุญส่ง เลขะกุล.
4.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2556. ปักษาพรรณในอุทยานจามจุรี. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
5. เจริญชัย โตไธสง และสมหญิง ทัฬหิกรณ์. 2554. ความหลากชนิดและการใช้ประโยชน์พื้นที่ของนกป่า ในป่าดิบเขา
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง จังหวัดเลย. ใน ผลงานวิจัย และรายงานความก้าวหน้างานวิจัย ประจำปี 2553.
กลุ่มงานวิจัยสัตว์ป่า สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. กรุงเทพมหานคร.
6. ชุตาภา คุณสุข และพงษ์ชัย ดำรงโรจน์วัฒนา.2558. ความหลากชนิดของนกในพื้นที่ป่าอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี. รายงานวิจัย. ทุนอุดหนุนการวิจัยจากงบประมาณแผ่นดินปี 2557.
7. ดอกรัก มารอด และอุทิศ กุฏอินทร์. 2552. นิเวศวิทยาป่าไม้. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
8. ประทีป ด้วงแค, สมโภชน์ มณีรัตน์, โอภาส ขอบเขตต์, อนรรฆ พัฒนวิบูลย์, เพิ่มศักดิ์ กนิษฐชาต และสุเนตร การพันธ์. 2544. การเปลี่ยนแปลงชนิดของนกบริเวณพื้นที่อพยพราษฎรออกในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันออก. วารสารสัตว์ป่าเมืองไทย9.
9. มงคล ไชยภักดี และวัลยา ชนิตตาวงศ์. 2548 การศึกษาความหลากหลายชนิดพันธุ์ของนกในบริเวณอ่าวไทยตอนใน จังหวัดสมุทรสาคร. หน้า 14-25. ใน รายงานความก้าวหน้างานวิจัย ประจำปี 2548. กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า
และพันธุ์พืช. กรุงเทพฯ.
10. มงคล ไชยภักดี. 2554. แหล่งทํารังวางไข่และประชากรของนกปากห่าง (Anastomusoscitans) ในที่ราบลุ่มภาคกลางตอนล่างของประเทศไทย. หน้า 29-50. ใน ผลงานวิจัยและรายงานความก้าวหน้างานวิจัยประจําปี 2553. กลุ่มงานวิจัยสัตว์ป่าสํานักอนุรักษ์สัตว์ป่ากรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธุ์พืช. กรุงเทพฯ.
11. รองลาภ สุขมาสรวง ประทีป ด้วงแค, นริศ ภูมิภาคพันธ์, โดม ประทุมทอง และลินจง ชารักษ์ภักดี. 2550. สัตว์ที่อาศัย
อยู่ตามธรรมชาติในสวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต. วารสารสัตว์ป่าเมืองไทย 14(1)
12. รองลาภ สุขมาสรวง, ประทีป ด้วงแค, นริศ ภูมิภาคพันธ์, โดม ประทุมทอง และรัชนี โชคเจริญ. 2552. สัตว์ในวังสระปทุม. วารสารสัตว์ป่าเมืองไทย 16 (1)
13. วัลยา ไชยภักดี. 2551. การศึกษาประชากรนกนางนวลธรรมดา (Larusbrunnicephalus) บริเวณบางปูจังหวัดสมุทรปราการ. [ออนไลน์]เข้าถึงได้จากhttps://app.dnp.go.th/opac/multimedia/research/
C00526/C00526-2.pdf. (10 สิงหาคม 2558)
14. วีณา เมฆวิชัย. 2553. นกในหมู่เกาะแสมสาร. กรุงเทพมหานคร: โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สนองพระราชดำริ โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
15. สมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทย. 2559. รายชื่อนกในประเทศไทย. https://www.bcst.or.th/?page_id=33. Accessed: 1 March 2017.
16. CITES. 2017. Checklist of CITES species. https://checklist.cites.org/#/en. Accessed: 1 March 2017.
IUCN. 2017. The IUCN Red List of Threatened Species. Version 2014.2. www.iucnredlist.org.
Accessed on 1 March 2017.
17. KrebC. J. 1989.Ecological Methodology. USA: Addison-Wesley Educational Publishers.
18. Marzluff, J.M., Bowman, R. and Donnelly, R. 2001. Avian Ecology and Conservation in an Urbanizing World. New York: Springer Science
19. Pattanavibool, A.and Dearden, P. 2002. Fragmentation and wildlife in montane evergreen forests, northern Thailand. Biological Conservation 107
20. Sanguansombat, W. 2005. Thailand Red Data: Birds. Bangkok: Office of Natural Resources and Environmental Policy and Planning, Thailand.
21. Sirami, C., Brotons, L., and Martin, J.L. 2008. Spatial extent of bird species response to landscape changes: colonisation/extinction dynamics at the community-level in two contrasting habitats. Ecography 31(4)