การทนไฟของเสาคอนกรีตเสริมเหล็กผสมเถ้าแกลบบดละเอียด

Main Article Content

ฉลอง ปะลาชิตัง
เรืองรุชดิ์ ชีระโรจน์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาสมบัติการทนไฟของเสาคอนกรีตเสริมเหล็กผสมเถ้าแกลบบดละเอียด ซึ่งออกแบบกำลังอัดของคอนกรีตควบคุมที่อายุ 28 วัน เท่ากับ 300, 500 และ700 กก./ซม.2 จากนั้นนำเถ้าแกลบดำมาบดละเอียดให้มีขนาดอนุภาคค้างตะแกรงมาตรฐานเบอร์ 325 ในอัตราส่วนน้อยกว่าร้อยละ 5 โดยน้ำหนัก แล้วนำมาแทนที่ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 1 ในอัตราส่วนร้อยละ 0, 10, 20 และ 30 โดยน้ำหนักวัสดุประสาน ทำการหล่อตัวอย่างเสาคอนกรีตเสริมเหล็กขนาด 0.20x0.20x0.80 ม.3 แล้วบ่มเสาคอนกรีตเสริมเหล็กเป็นระยะเวลา 90 วัน จากนั้นนำไปเผาที่อุณหภูมิ 600 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 2 ชั่วโมง เพื่อทำการทดสอบกำลังอัด แล้วนำผลที่ได้ทำการเปรียบเทียบกับเสาคอนกรีตเสริมเหล็กที่ไม่ผ่านการเผา


                         จากผลการทดลองพบว่าการใช้เถ้าแกลบบดละเอียดแทนที่ปูนซีเมนต์ในอัตราส่วนร้อยละ 10 และ 20 สามารถช่วยพัฒนากำลังของคอนกรีตที่อายุ 90 วัน สูงกว่าคอนกรีตควบคุม ส่วนการใช้ในอัตราส่วนร้อยละ 30 ทำให้กำลังอัดของคอนกรีตต่ำกว่าคอนกรีตควบคุมเล็กน้อย และเมื่อนำเสาคอนกรีตเสริมเหล็กมาเผาที่อุณหภูมิ 600 องศาเซลเซียส เป็นเวลา   2 ชั่วโมง พบว่ากำลังอัดของเสาคอนกรีตเสริมเหล็กที่ไม่ผสมเถ้าแกลบบดละเอียดลดลงประมาณร้อยละ 45 ในทุกอัตราส่วนการออกแบบ สำหรับการใช้เถ้าแกลบบดละเอียดช่วยให้อัตราการลดลงของกำลังอัดเนื่องจากการเผาน้อยกว่าเสาคอนกรีตควบคุม โดยอัตราส่วนที่เหมาะสมที่สุดของการใช้เถ้าแกลบบดละเอียดคือร้อยละ 20 เพราะจะให้กำลังอัดสูงกว่าเสาคอนกรีตควบคุม   หลังการเผาประมาณร้อยละ 15 ถึง 20 จากผลการทดลองสามารถสรุปได้ว่าการใช้เถ้าแกลบบดละเอียดสามารถเพิ่มความต้านทานการทนไฟของเสาคอนกรีตเสริมเหล็กไ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กานต์สินี แก้วเพ็ชร์,พรพรรณ อริยะสุข และอัครา โชคเจริญมหาศาล (2558) รูปแบบรอยร้าวและกำลังของคอนกรีตทีเสียหายจากไฟ. ปริญญานิพนธ์. กรุงเทพ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

2. โครงสร้างอาคารกับอัคคีภัย !!! http://dpm.nida.ac.th/main/index.php/articles/fire/item

3. ทรงเกียรติ หาญสันติ และชัชชาติ สิทธิพันธุ์ (2544) พฤติกรรมของคานคอนกรีตเสริมเหล็กหลังถูกไฟไหม้ วิทยานิพนธ์ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

4. ธีระพจน์ ศุภวิริยะกิจ. (2543) การศึกษาเปรียบเทียบกำลังยึดเหนี่ยวของเหล็กเสริมในคอนกรีตกำลังปกติกับคอนกรีตผสมเถ้าลอยหลังถูกไฟเผา. วิทยานิพนธ์ : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

5. ธัญวัฒน์ โพธิศิริ, (2558) การออกแบบโครงสร้างเพื่อความปลอดภัยด้านอัคคีภัย.กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

6. บุรฉัตร ฉัตรวีระ และวัชรากร วงศ์คำจันทร์ (2544 : 327-342) พฤติกรรมทางกลของคอนกรีตผสมเถ้าแกลบละเอียด : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

7. ปฐเมศ ผาณิตพจมาน และทีฆทัศน์ หทัยพิทักษ์.(2558) “การทนไฟของชิ้นส่วนโครงสร้าง คสล. ซึ่งออกแบบตาม กฎกระทรวงฉบับที่ 60,” ใน เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ วิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 20, ชลบุรี

8. ปริญญา จินดาประเสริฐ และชัย จาตุรพิทักษ์กุล. (2547). ปูนซีเมนต์ปอซโซลานและคอนกรีต. กรุงเทพฯ : บริษัทเอสซีจี ซีเมนต์ จำกัด.

9. ภคพล ช่างยันต์ และเรืองรุชดิ์ ชีระโรจน์. “การใช้เถ้าชานอ้อยในคอนกรีตกำลังสูง,” ใน เอกสารประกอบการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 13 หน้า 251-256.ชลบุรี

10. ภาณุวัฒน์ จ้อยกลัด และอมร พิมานมาศ การออกแบบอาคารต้านอัคคีภัย : พฤติกรรมของวัสดุภายใต้อัคคีภัยโยธาสาร : ปีที่ 24 ฉบับที่ 4 ตุลาคม - ธันวาคม 2555 กำลังรับแรงเฉือนของคานคอนกรีตเสริมเหล็กภายหลังการเผาไฟ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย

11. สมชาย อินทะตา (2556) ความต้านทานการแทรกซึมของคลอไรด์ในคอนกรีตที่ผสมวัสดุปอซโซลานบดละเอียด ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

12. เอกชัย กลิ่นบุบผา, จีรศักดิ์ สุพรมวัน และรัฐพล สมนา. (2558). “คุณสมบัติเชิงกลของคอนกรีตหลังการเผาด้วยอุณหภูมิสูง,” ใน เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ วิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 20, ชลบุรี

13. ASTM C 109 : Standard Test Method for Compressive Strength of Hydraulic Cement Mortars (Using 2-in. or 50-mm Cube Specimens),” 1997 Annual Book of ASTM Standard. 4(1) : 71-75, 1997 A

14. ASTM C 136-01 : Standard Test Method for Sieve Analysis of Fine and Coarse Aggregates,” Annual Book of ASTM Standards. 4(2) : 84-87, 1997 F.

15. ASTM C 496-96 : Standard the Test Method for Splitting Tensile Strength of Cylindrical Concrete Specimens, Annual Book of ASTM Standards. 4(2) : 273-276, 2001 L

16. ASTM C 618 -97 : Standard the Test Method for Coal Fly Ash and Raw or Calcined Natural Pozzolan for Use in Concrete , Annual Book of ASTM Standards.

17. ASTM C 127-01 : Standard Test Method for Density, Relative Density (Specific Gravity), and Absorption of Coarse Aggregate,” Annual Book of ASTM Standards. 4(2) : 68-73, 1997 C.

18. ASTM C 128-01 : Standard Test Method for Density, Relative Density (Specific Gravity), and Absorption of Fine Aggregate,” Annual Book of ASTM Standards. 4(2) : 74-79, 1997 D.

19. Manjit Singh and Mridul GargBanthia. “Durability of Cementing Binders Based on Fly Ash and other Wastes,” Construction and Building Materials. 21(11) : 2012-2016, 2007.

20. Mindess, S. and J.F. Young. Concrete. New Jersey : Prentice-Hall, 1981.

21. Nemkumar Banthia and Sidney Mindess. “Water Permeability of Cement Paste,” Cement and Concrete Research. 19(5) : 727-736, 1989.

22. Neville, A.M. “Chloride Attack of Reinforced Concrete : an Overview,” Material and Structures. 28(1) : 63-70, 1995.

23. Pollock, D.J. “Concrete Durability Tests Using the Gulf Environment on Deterioration and Repair of Reinforced in the Arabian Gulf,” The Bahrain Society of Engineering. 4(1) : 427-441, 1985.

24. Tanyildizi, Harun and Coskun, Ahmet. “Performance of Lightweight Concrete with Silica Fume After High Temperature,” Construction and Building Materials. 22(10) : 2124-2129 ; October, 2008.