ผลกระทบของอุณหภูมิที่สูงต่อการทนไฟของคอนกรีตผสมเถ้าชานอ้อยบดละเอียด

Main Article Content

ศักดิ์ราวุธ ทองออน
เรืองรุชดิ์ ชีระโรจน์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาคุณสมบัติการทนไฟของคอนกรีตผสมเถ้าชานอ้อยบดละเอียดที่อุณหภูมิต่างๆ โดยออกแบบกำลังอัดของคอนกรีตควบคุมที่อายุ 28 วัน เท่ากับ 300 กก./ซม.2 เถ้าชานอ้อยจากโรงงานน้ำตาลถูกนำมาปรับปรุงคุณภาพโดยการเผาที่อุณหภูมิ 400 องศาเซลเซียส และนำไปบดให้มีขนาดอนุภาคค้างบนตะแกรงมาตรฐานเบอร์ 325 ในอัตราส่วนน้อยกว่าร้อยละ 5 โดยน้ำหนัก  เพื่อใช้แทนที่ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 1 ในอัตราส่วนร้อยละ 0, 10, 20 และ 30 โดยน้ำหนักวัสดุประสาน ทำการหล่อตัวอย่างรูปทรงกระบอกแล้วบ่มที่อายุ 90 วัน จากนั้นทำการทดสอบกำลังอัดก่อนและหลังการเผาที่อุณหภูมิ 200, 400, 600 และ 800 องศาเซลเซียส  เป็นเวลา 1, 2, 3 และ 4 ชม. ตามลำดับ


            ผลการทดลองพบว่ากำลังอัดของคอนกรีตหลังการเผาจะขึ้นกับอุณหภูมิที่เผา ระยะเวลา และการแทนที่ด้วยเถ้าชานอ้อยบดละเอียด โดยอุณหภูมิและระยะเวลาการเผาที่เพิ่มขึ้นทำให้กำลังอัดลดลง การใช้เถ้าชานอ้อยบดละเอียดเป็นส่วนผสมในคอนกรีตสามารถช่วยพัฒนาในด้านกำลังอัดและการทนไฟของคอนกรีตได้ในทุกอุณหภูมิ โดยอัตราส่วนที่เหมาะสมสำหรับกำลังอัดก่อนการเผาคืออัตราการแทนที่ร้อยละ 10 ซึ่งให้ค่ากำลังอัดเพิ่มขึ้นร้อยละ 12 ของคอนกรีตควบคุม และอัตราส่วนการแทนที่เหมาะสมสำหรับการทนไฟคืออัตราการแทนที่ร้อยละ 20 ซึ่งให้ค่ากำลังอัดเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 10 ของคอนกรีตควบคุมหลังการเผา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. ชัย จาตุรพิทักษ์กล. (2555). การใช้เถ้าชานอ้อยเพื่อเป็นวัสดุปอซโซลานในคอนกรีต. วารสารคอนกรีต.

2. เพ็ญชาย เวียงใต้ และเรืองรุชดิ์ ชีระโรจน์. (2550). การศึกษาความคงทนของคอนกรีตผสมเถ้าชานอ้อย. การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 13

3. รัฐพล สมนา และ ชัย จาตุรพิทักษ์กุล. (2554). การใช้เถ้าชานอ้อยบดละเอียดเพื่อปรับปรุงกำลังอัด การซึมผ่านน้ำ และความต้านทานคลอไรด์ของคอนกรีตที่ใช้มวลรวมหยาบจากการย่อยเศษคอนกรีตเก่า. วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ.

4. วรเชษฐ์ ป้อมเชียงพิณ. (2550) คุณสมบัติเชิงกลของคานคอนกรีตผสมเส้นใยหลังการเผาไหม้. งานวิจัยปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

5. สุวิมล สัจจวาณิชย์ และอาทิมา ดวงจันทร์. (2547) ดัชนีความเป็นปอซโซลานของเถ้าชานอ้อยและความต้องการน้ำ. การประชุมวิชาการคอนกรีตประจำปีครั้งที่ 2

6. สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุสาหกรรม. มอก.1334 (2539) การทดสอบความทนไฟ-ชิ้นส่วน ต่างๆ ของโครงสร้างอาคาร. กระทรวงอุตสาหกรรม.

7. ASTM E119. (1998). Standard Test Methods for Fire tests of Building Construction and Materials. ASTM Standards Volume

8. Chan Y.N., Luo X., and Sun W. (2000) Compressive Strength and Pore Structure of High-performance Concrete after Exposure to High Temperature up to 800ºC. Cement and Concrete Research.

9. Chusilp N., Jaturapitakkul C., and Kiattikomol K. (2009) Effect of LOI of Ground Bagasse Ash on the Compressive Strength and Sulfate Resistance of Mortars. Construction and Building Materials.

10. Cordeiro G.C., Toledo Filho R.D., Tavares L.M., and Fairbairn E.M.R. (2008). Pozzolanic Activity and Filler Effect of Sugar Cane Bagasse Ash in Portland Cement and Lime Mortars. Cement and Concrete Composites.

11. Greepala V. and Nimityongskul P. (2007) Influence of Heating Envelope on Post-Fire Mechanical Properties of Ferrocement Jackets. Science and Technology Asia.

12. Haque M.N. and Kayali O. (1998). Properties of High-strength Concrete Using a Fine Fly Ash. Cement and Concrete Research.

13. Omer Arioz. (2007) Effects of Elevated Temperature on Properties of Concrete. Fire Safety Journal.

14. Sata V., Jaturapitakkul, C., and Kiattikomol, K., (2007). Influence of Pozzolan from Various by Product Materials on Mechanical Properties of High-strength Concrete. Construction and Building Materials.

15. Tanyildizi H. and Coskun A. (2008) Performance of Lightweight Concrete with Silica Fume After High Temperature. Construction and Building Materials.