การพัฒนาจักรยานปั่นร่วมกับพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าแบบพึ่งพาตนเอง ในพื้นที่โรงเรียนอนุบาลเกาะกูด จังหวัดตราด

Main Article Content

ศรายุทธ์ จิตรพัฒนากุล
กฤษณะ จันทสิทธิ์
คมสัน มุ่ยสี

บทคัดย่อ

ในการทำวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้ต่อการนำไปใช้งาน และบูรณาการงานวิจัยกับการเรียนการสอนของโรงเรียนอนุบาลเกาะกูด ผลการวิจัย พบว่า จักรยาน 3 ล้อ จำนวน 2 คัน ติดตั้งชุดมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง (Dc Motor) มีขนาด 350 วัตต์ จำนวน 4 ตัว รวมจำนวน 1,400 วัตต์ ร่วมกับชุดระบบพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Cell) ขนาด 300 วัตต์ จำนวน 2 แผง ชาร์จประจุไฟฟ้าลงแบตเตอร์รี่ขนาด 24 โวลต์ 150 แอมแปร์ และทำการบูรณาการการเรียนการสอนรายวิชาวิทยาศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง 6 ของโรงเรียนร่วมกับนักศึกษาหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม คณาจารย์ และผู้ที่สนใจทั่วไปรวมจำนวน 113 คน ทำแบบสอบถามความพึงพอใจ โดยแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ พบว่า การปั่นจักรยานด้วยความเร็วคงที่ 15-20 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จะสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้โดยเฉลี่ยร้อยละ 3 ของความจุแบตเตอรี่ กระแสไฟฟ้าจากแผงโซล่าเซลล์จะสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ร้อยละ 5 และกระแสไฟฟ้าที่ได้จากการจักรยานปั่นร่วมกับพลังงานแสงอาทิตย์เพิ่มขึ้นร้อยละ 7 ประสิทธิภาพในการเก็บกระแสไฟฟ้าเมื่อใช้ทั้ง 2 ระบบทำงานร่วมกันดีกว่าการปั่นจักรยาน หรือพลังงานแสงอาทิตย์เพียงอย่างเดียวร้อยละ 66.67 และสามารถเก็บกระแสไฟฟ้าเข้าแบตเตอรี่ภายใน 10 ชั่วโมง ความพึงพอใจด้านความรู้ความเข้าใจ มีระดับ 1 จำนวน 2 ข้อ คือ ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับทฤษฎีด้านพลังงานไฟฟ้า และความรู้ความเข้าใจหลังการอบรมและฝึกปฏิบัติค่าเฉลี่ย  (Mean) 4.65 คิดเป็นร้อยละ 93.00 ด้านความพึงพอใจมีระดับมากที่สุด คือ ความพึงพอใจต่อความรู้ความสามารถที่ถ่ายทอดความรู้ของวิทยากรค่าเฉลี่ย  (Mean) 4.78 คิดเป็นร้อยละ 95.60 ด้านการนำความรู้ไปใช้ มีระดับมากที่สุดคือ สามารถนำความรู้ที่ได้รับมาเพิ่มศักยภาพด้านพลังงานไฟฟ้าผลิตกระแสไฟฟ้าไว้ใช้เอง ค่าเฉลี่ย  (Mean) 4.77 คิดเป็นร้อยละ 95.40 และอยากทราบพลังงานทดแทนในรูปแบบใหม่เพิ่มเติม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กฤษณะ จันทสิทธิ์ และคมสัน มุ่ยสี. 2558. การพัฒนาจักรยานปั่นน้ำพร้อมผลิตกระแสไฟฟ้าแบบพึ่งพาตนเองเพื่อลดต้นทุนการผลิตภาคเกษตรกรรม. รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

2. ชายศักดิ์ ไชยจิตต์. 2550. จักรยานไฟฟ้าพลังงานทดแทน. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://www.physics.cmru.ac.th. 27 เมษายน 2559.

3. พิไล ไชยนุรักษ์. 2555. จักรยานผลิตกระแสไฟฟ้าและการออกกำลังกาย. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://www.physics.cmru.ac.th. 27 เมษายน 2559.

4. สำนักงานเกษตรอำเภอเกาะกูด. 2553. ข้อมูลทั่วไปอำเภอเกาะกูด. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://www.trat.doae.go.th/kokut/kohkood.html : 4 มกราคม 2559.

5. อีไบค์ไทยคิท. 2550. เรียนรู้สร้างจักรยานไฟฟ้า. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://www.ebikethaikit.com/. 6 กุมภาพันธ์ 2559.