รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยการใช้โครงการเป็นฐาน เพื่อพัฒนาคุณภาพของเด็กปฐมวัยในท้องถิ่นเขตภาคตะวันออก
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยการใช้โครงการเป็นฐาน เพื่อพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัย 2) เพื่อศึกษาผลที่เกิดขึ้นจากการจัดการเรียนรู้ ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยการใช้โครงการเป็นฐาน ผู้เข้าร่วมการวิจัยครั้งนี้ คือเด็กปฐมวัยอยู่ในช่วงอายุ 2 – 5 ปี ที่กำลังศึกษาในสถานศึกษา เขตจังหวัดจันทบุรี ระยอง และตราด ปีการศึกษา 2559 จำนวน 60 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) การดำเนินการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแบบมีการแทรกแซง ประกอบด้วย 4 ระยะ ดังนี้ ระยะ คือ 1) การศึกษาและวิเคราะห์แนวคิดและองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง 2) การคัดเลือกผู้เข้าร่วมการวิจัย 3) กระบวนการพัฒนาคุณภาพของเด็กปฐมวัย และ 4) การสรุป และนำเสนอผลการวิจัย
ผลการวิจัย มีดังนี้
- รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยการใช้โครงการเป็นฐาน เพื่อพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัยที่มีต่อเด็กปฐมวัย เป็นการจัดประสบการณ์ที่ยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ 1) การเริ่มต้นโครงการ เป็นการหาความสนใจของผู้เรียน และทบทวนประสบการณ์เดิม 2) การพัฒนาโครงการ เป็นการวางแผนการและทำการสืบค้นตามแหล่งข้อมูลต่างๆเพิ่มเติม และ 3) การสรุปและประเมินโครงการ เป็นระยะสรุปและนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้
2. การจัดการเรียนรู้ ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยการใช้โครงการเป็นฐานในประเด็นที่เกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ของเด็กปฐมวัย คือ 1) พัฒนาการด้านร่างกาย ส่งผลให้เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการด้านร่างกายสมวัย ได้แก่ ด้านการทรงตัวและการประสานสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็ก ด้านการรักษาสุขภาพ ด้านการรักษาความปลอดภัยของร่างกาย 2) พัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ ส่งผลให้เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ ได้แก่ ด้านดนตรี ด้านสุนทรียภาพ ด้านการเล่น ด้านคุณธรรม จริยธรรม 3) พัฒนาการด้านสังคม ส่งผลให้เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการด้านสังคม ได้แก่ ด้านการเล่นและการทำงานร่วมกับผู้อื่น และ 4) พัฒนาการด้านสติปัญญา พบว่า การจัดการเรียนรู้โดยการใช้โครงการเป็นฐาน ส่งผลให้เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการด้านสติปัญญา ได้แก่ ด้านการคิด ด้านการใช้ภาษา ด้านจำนวน ด้านเวลา
Article Details
References
2. กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2547). การจัดกิจกรรมการเรียนรูสําหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: เอดิสัน เพรส.
3. สุจินดา ขจรรุงศิลปและธิดา พิทักษสินสุข. (2543). การเรียนรูของเด็กปฐมวัยไทยตามแนวเรกจิโอเอมิเลีย.กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.
4. วรนาท รักสกุลไทย. (2544). การเรียนรู้แนวใหม่ Project Approach. กรุงเทพฯ : เฟิสท์พริ้นติ้ง.
5. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2540). การกำหนดวัตถุประสงค์นโยบายยุทธศาสตร์การพัฒนการศึกษาในช่วงแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540-2544).กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.
6. Dewey, J. (1933). How We Think. Boston D.C. : Health and Co.