แนวทางการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตด้านจิตใจและด้านความสัมพันธ์ทางสังคมของผู้สูงอายุในตำบลห้วงน้ำขาว จังหวัดตราด

Main Article Content

อัฐฉญา แพทย์ศาสตร์
พัชรินทร์ รุจิรานุกูล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบระดับคุณภาพชีวิตด้านจิตใจและด้านความสัมพันธ์ทางสังคม และเพื่อศึกษาแนวทางสร้างเสริมคุณภาพชีวิตด้านจิตใจและด้านความสัมพันธ์ทางสังคมของผู้สูงอายุในตำบลห้วงน้ำขาว จังหวัดตราด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้สูงอายุ จำนวน 234 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าเอฟ (F–test) และการทดสอบค่าที  (t–test) ผลการวิจัยพบว่า


  1. ระดับคุณภาพชีวิตด้านจิตใจและด้านความสัมพันธ์ทางสังคมของผู้สูงอายุในตำบลห้วงน้ำขาว จังหวัดตราดอยู่ในระดับดี

  2. ในการทดสอบสมมติฐานระดับคุณภาพชีวิตด้านจิตใจและด้านความสัมพันธ์ทางสังคมของผู้สูงอายุในตำบลห้วงน้ำขาว จังหวัดตราด จำแนกตามสภาพภูมิหลัง พบว่า ผู้สูงอายุที่มีรายได้ต่างกันมีระดับคุณภาพชีวิตแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 แต่ผู้สูงอายุที่มีเพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา อาชีพ โรคประจำตัว และสมาชิกชมรมผู้สูงอายุต่างกัน มีระดับคุณภาพชีวิตไม่แตกต่างกัน

  3. แนวทางสร้างเสริมคุณภาพชีวิตด้านจิตใจและด้านความสัมพันธ์ทางสังคมของผู้สูงอายุในตำบลห้วงน้ำขาว จังหวัดตราด คือ ด้านจิตใจ ควรส่งเสริมสนับสนุนให้บุคคลในครอบครัวและชุมชนให้ความสำคัญและดูแลผู้สูงอายุ เอาใจใส่  ใช้วาจาที่สุภาพ ให้ความรักความอบอุ่น ทำกิจกรรมร่วมกันและมีการจัดโครงการอบรมส่งเสริมและพัฒนาผู้สูงอายุในด้านจิตใจ รวมถึงมีแพทย์ตรวจเยี่ยมผู้สูงอายุ  ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม ควรส่งเสริมสนับสนุนให้มีการจัดตั้งกลุ่มอาชีพสำหรับผู้สูงอายุ พร้อมกับให้การสนับสนุนงบประมาณ ควรส่งเสริมให้ความรู้แก่ผู้ที่กำลังจะเข้าสู่วัยสูงอายุเพื่อเตรียมการสำหรับเป็นผู้สูงอายุ  ควรมีการส่งเสริมกิจกรรมที่สนุกสนานหรือมีการให้ความรู้ที่เป็นประโยชน์ และมีการให้คำแนะนำในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ และควรมีการให้ข้อมูลข่าวสารจากหน่วยงานต่าง ๆ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. คนธรส เหล่าประดิษฐ์. (2559). สังคมผู้สูงอายุ. วารสารส่งเสริมการลงทุน. กรุงเทพฯ : ศูนย์บริการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน.

2. บุญทา. (2545). คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในตำบลแม่หอพระ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุข บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

3. ฉัตรทอง อินทร์นอก. (2540). พฤติกรรมการดูแลตนเองและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลอนามัยชุมชน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

4. ซาฟีอี กาสา. (2554). คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านควน อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล. ปัญหาพิเศษปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทั่วไป วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจมหาวิทยาลัยบูรพา.

5. ดวงใจ คำคง. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผ้สูงอายุ ตำบลลำสินธุ์ อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยทักษิณ.

6. ธนู ชาติธนานนท์. (2550). ความเข้าใจเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ. วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ : สานักงานส่งเสริมอนามัยและสิ่งแวดล้อม.

7. พัชชานันท์ ผลทิม. (2552). คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตำบลหนองตาคง อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี. ปัญหาพิเศษรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารทั่วไป วิทยาลัยบริหารรัฐกิจ หมาวิทยาลัยบูรพา.

8. มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2555). รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย.

9. มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2560). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2559. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

10. วรรณา กุมารจันทร์. (2543). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุภาคใต้ตอนบน. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

11. วาสนา อ่ำเจริญ. (2552). การศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบางนาอำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี. ปัญหาพิเศษรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทั่วไป วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.

12. ศิริลักษณ์ รื่นวงศ์. (2557). ปัจจัยที่มีอิทธิพลกับระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุตำบลหัวง้ม อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย. การค้นคว้าอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตร มหาบัณฑิต สำนักวิชาศิปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลว

13. สุนุตตรา ตะบูนพงศ์, วันดี สุทธรังษี และพัชรียา ไชยลังกา. (2544). การประเมินคุณสมบัติแบบวัดคุณภาพชีวิตฉบับย่อขององค์การอนามัยโลกในกลุ่มผู้สูงอายุไทย. วารสารพฤฒาวิทยาและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ.

14. สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล และคณะ. (2540). เปรียบเทียบแบบวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุด 100 ตัวชี้วัด และ 26 ตัวชี้วัด. โรงพยาบาลสวนปรุงจังหวัดเชียงใหม่ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.

15. สมจิต แดนสีแก้ว, สุวรรณา บุญลีพรรณ, สมพร รุ่งเรืองกลกิจ, อัมพรพรรณ ธีรานุตร, ลงกลนี ศรีจักรโคตร, นิรุจน์ อุทธา, สุจิตรา อุทธา, สมใจ ระวิระ, วสิทธิ์ ขนันไพร. (2546). ชุมชนช่วยชุมชนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชนบทภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยของแก่น.

16. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 พ.ศ. 2555-2559. [online]. เข้าถึงได้จาก : http://www2.oae.go.th/ EVA/download/Plan/
SummaryPlan11_thai.pdf. 2555.

17. Cronbach, L.J. (1990). Essentials of psychological testing. (5th ed.). New York: Harper & Row.

18. Yamane, Taro. (1970). Statistics: And Introductory Analysis. (2nd ed). New York: Harper & Row.