รูปแบบการประยุกต์ใช้จิตวิทยาการศึกษา เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ แบบบูรณาการสาระวิชา ในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน

Main Article Content

นิศากร หวลจิตร์
ธฤษวรรณ บัวศรีคำ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการสาระวิชา โดยใช้หลักจิตวิทยาการศึกษาในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน พร้อมทั้งสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการระหว่างครูผู้สอนต่างสาระวิชา ปราชญ์ชุมชน ผนวกเข้ากับหลักสูตรท้องถิ่น และภาษาถิ่นที่สอดคล้องกับ การสื่อสารในภาษาไทยและกระบวนการคิดวิเคราะห์ในวิชาคณิตศาสตร์ กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย ได้แก่ คณะผู้บริหาร ครูผู้สอน และนักเรียนในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน การวิจัยในครั้งนี้ใช้หลักการวิจัยเชิงประยุกต์(applied research)โดยผู้วิจัยได้ทำการสัมภาษณ์ ร่วมสังเกตในกระบวนการเรียนการสอน การจัดประชุมระดมสมอง การนิเทศติดตามผล และการร่วมกันถอดบทเรียน


ผลการวิจัย พบว่า 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการสาระวิชาภาษาไทยและคณิตศาสตร์ โดยประยุกต์ใช้จิตวิทยาการศึกษาส่งผลให้นักเรียน มีแรงจูงใจในการเรียน มีความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ระหว่างสาขาวิชา  2) การเรียนรู้ในลักษณะนี้ส่งผลให้บรรยากาศในการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนมีความใกล้ชิดกันระหว่างครูผู้สอน และผู้เรียน สร้างความสุขให้กับนักเรียน 3) ผลที่ได้รับจากการประชุมระดมสมอง และถอดบทเรียนร่วมกันระหว่างภาคีเครือข่ายส่งผลให้เกิดการประสานความร่วมมือกัน รวมทั้งเป็นการส่งเสริมให้นักศึกษาของมหาวิทยาลัยมีส่วนร่วมในกระบวนการทำวิจัย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กระทรวงศึกษาธิการ กรมวิชาการ. (2540). คู่มือการพัฒนาโรงเรียนเข้าสู่มาตรฐานการศึกษาการบริหารระบบคุณภาพ. กรุงเทพมหานคร : กรมวิชาการ.

2. เฉลา ประเสริฐสังข์. (2553). การศึกษาสภาพการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพครูของครูโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 11. (รายงานวิจัย). สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

3. ณรงค์ อุ้ยนอง. (2543). กิจกรรมแนะแนวในชั้นเรียน. นครศรีธรรมราช : โรงพิมพ์สถาบันราชภัฏนครศรีธรรมราช.

4. นุชลี อุปลัย. (2555). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

5. ปรียาพร วงค์อนุตรโรจน์. (2551). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.

6. พงษ์พันธ์ พงษ์โสภา. (2544). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : พัฒนาศึกษา.

7. ลักขณา สริวัฒน์. (2543). จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน. กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์.

8. สิรินธร สินจินดาวงค์ และ คณะ. (2555). การพัฒนาครูด้านการประเมินการเรียนรู้ระดับสูง : การวิจัยนำร่องในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. (รายงานวิจัย) . สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ

9. สุรางค์ โค้วตระกูล. (2545). จิตวิทยาการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

10. สำนักงานโครงการสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. (2550). แผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ฉบับที่ 4 พ.ศ.2550-2559.

11. Stanley, J.C. (1972). Educational and Psychological Measurement and Evaluation, 5th ed. Englewood N.J. Pretice Hall.