ปัจจัยเชิงสาเหตุพหุระดับที่ส่งผลต่อการทุจริตทางการศึกษา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออก

Main Article Content

จตุพันธ์ รุจิรานุกูล
สมโภชน์ อเนกสุข
ณัฐกฤตา งามมีฤทธิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์องค์ประกอบของการทุจริตทางการศึกษาของนักเรียน
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออก  2) ศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการทุจริตทางการศึกษาของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออก ในระดับนักเรียนและระดับโรงเรียน  3) เพื่อพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุพหุระดับการทุจริตทางการศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออก กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้บริหาร ครูผู้สอน และนักเรียน จำนวน 1,399 คน จากโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออก จำนวน 58 แห่ง โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบ 2 ขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม 2 ฉบับ สถิติที่ใช้คือ วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันพหุระดับ และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับ ผลการวิจัยพบว่า


  1. ผลการตรวจสอบความตรงของโมเดลการวัดการทุจริตทางการศึกษาของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออก มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พิจารณาจากค่าสถิติที่ใช้ตรวจสอบความตรงของโมเดล ได้แก่ค่า c2 = .005, df = 1, p = .945, c2/df = .005, RMSEA = .000, CFI = 1.000,
    TLI = 1.000, SRMRW = .000, SRMRB = .002

  2. ผลการพัฒนาโมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการทุจริตทางการศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออก มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์
    โดยพิจารณาจากค่าสถิติที่ใช้ตรวจสอบความตรงของโมเดล ได้แก่ ค่า X2 = 122.144, df = 88, p = .009, c2/df = 1.388, RMSEA = .021, CFI = .991, TLI = 988, SRMRW = .033, SRMRB = .057 แบ่งตามระดับการทำนายดังนี้

                    2.1 ระดับนักเรียน พบว่า การทุจริตทางการศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออก ได้รับอิทธิพลเชิงลบจากการเลี้ยงดูของครอบครัว ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เพศ และได้รับอิทธิพลเชิงบวกจาก แรงจูงใจในการกระทำการทุจริตทางการศึกษา และอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


                    2.2 ระดับโรงเรียน พบว่า การทุจริตทางการศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออก ได้รับอิทธิพลเชิงลบจาก การบริหารวิชาเรียน และได้รับอิทธิพลเชิงบวกจากการลดโอกาสในการทุจริต อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. โครงการโรงเรียนสีขาว. (2558). หลักสูตร”โตไปไม่โกง” ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วันที่สืบค้นข้อมูล 19 กรกฏาคม 2559, เข้าถึงได้จาก http://growinggood.org/wp-content/uploads/2015/01/m4คู่มือ10.04.14mint1.pdf.

2. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.

3. สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุตริตแห่งชาติ. (2553). การทุจริตในรัฐวิสาหกิจ ปัญหาและแนวทางแก้ไข. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุตริตแห่งชาติ.

4. สถาบันรามจิตติ. (2558). รายงานการศึกษาสภาวการณ์และขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กและเยาวชน ประจำปี 2556-2557. กรุงเทพฯ: สถาบันรามจิตติ.

5. อรนุช หงวนไธสง. (2550). การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของการทุจริตในการสอบของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา, คณะครุศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

6. Bellipanni, M. B. (2012). The Relationship between Teacher Classroom Practices and 21st Century Students' Academic Dishonesty at the Secondary Level. Mississippi: The University of Southern Mississippi.

7. Cochran, J. K. (2015). The Effects of Life Domains, Constraints, and Motivations on Academic Dishonesty: A Partial Test and Extension of Agnew’s General Theory. International Journal of Offender Therapy and Comparative Criminology.

8. Geddes, K. A. (2011). Academic dishonesty among gifted and high-achieving students. Gifted Child Today.

9. Hensley, L. C., Kirkpatrick, K. M., & Burgoon, J. M. (2013). relation of gender, course enrollment, and grades to distinct forms of academic dishonesty. Teaching in Higher Education.

10. Kremmer, M. L., Brimble, M., & Stevenson-Clarke, P. (2007). Investigating the probability of student cheating: The relevance of student characteristics, assessment items, perceptions of prevalence and history of engagement. International Journal of Educational Integrity.

11. Madill, R. A., Gaia, A. C., & Qualls, R. C. (2007). The role of corporal punishment and family dynamics in college students’ academic integrity. Poster presented at the Annual Conference of the Southeastern Psychological Association, New Orleans, LA.

12. McCabe, D. L. (2009). Academic dishonesty in nursing schools: An empirical investigation. Journal of Nursing Education.

13. Parameswaran, A. (2007). Student dishonesty and faculty responsibility. Teaching in Higher Education.

14. Schmelkin, L., Gilbert, K., & Silva, R. (2010). Multidimensional scaling of high school students'perceptions of academic dishonesty. The high school journal.

15. Singh P., & Thambusamy R. (2016). “To Cheat or Not To Cheat, That is the Question”: Undergraduates’ Moral Reasoning and Academic Dishonesty. 7th International Conference on University Learning and Teaching (InCULT 2014) Proceedings. Singapore: Springer Singapore.

16. Vessal, K. & Habibzadeh, F. (2007). Rules of the game of scientific writing: Fair play and plagiarism. Lancet.

17. Yekta, A. S., Lupton, R. A., & Maboudi, A. A. K. (2010). Attitudes, perceptions, and tendencies of the Iranian students in medical fields towards cheating and academic dishonesty. Journal of Paramedical Sciences.