การพัฒนาความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์ภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 2 โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก

Main Article Content

แขไข จันทร์บวร

บทคัดย่อ

             การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์ ภาษาไทยก่อนและหลังเรียน โดยการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก และ เจตคติที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 1 ห้องเรียน โรงเรียนเทศบาลมิตรสัมพันธ์วิทยาได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม( Cluster Random Sampling )  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์และ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์ แบบวัดเจตคติต่อ การจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก วิเคราะห์ข้อมูลโดยเปรียบเทียบคะแนนความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์ก่อนเรียน และหลังเรียน โดยใช้ค่าที (t-test) แบบ Dependent  sample และ เจตคติต่อการเรียนด้วยค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า


            1 .นักเรียนมีความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์หลังเรียนของนักเรียนที่ได้จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิกสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ .01


            2.นักเรียน มีเจตคติต่อการเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

2. กลิ่นขจรไพร พิลาศรี. (2556). ผลการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยเรื่องการอ่านและการเขียนสะกดคำชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้แผนผังความคิด. การศึกษาค้นคว้าอิสระ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

3. ปณิสรา จันทร์ปาละ. (2553 ). การพัฒนาชุดกิจกรรมส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง มหาวิทยาลัยนเรศวร.

4. ประทีป ยอดเกตุ. (2550). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาภาษาไทยเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม พิษณุโลก.

5. ประสาท เนื่องเฉลิม. (2556). วิจัยการเรียนการสอน. พิมพ์ครั้งที่2. กรุงเทพฯ: แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

6. ไมตรี บุญทศ. (2549). การทำวิจัยในโรงเรียน. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

7. ลัดดาวรรณ ซ้ายขวา. (2556). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านการเขียนและการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้แผนผังความคิดประกอบการแจกลูกสะกดคำ. การค้นคว้าอิสระ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

8. วิมล ทองผิว. (2556). การพัฒนาทักษะคิดวิเคราะห์โดยใช้รูปแบบการสอนผังกราฟิกสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

9. สถิต นาคนาม. (2553). การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคผังกราฟิกเพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านภาษาไทยเชิงวิเคราะห์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

10. สุกัญญา จันทประสาน. (2555). การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้การอ่านภาษาไทยเชิงวิเคราะห์ โดยใช้เทคนิคคำถาม 5W 1H และเทคนิคผังกราฟิก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

11. สุคนธ์ สินธพานนท์ และคณะ. ( 2555). พัฒนาทักษะการคิดตามแนวปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ : เทคนิคพริ้นติ้ง.

12. สุวิทย์ มูลคำ. (2550). กลยุทธ์การสอนคิดวิเคราะห์. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

13. เอเดียน คุณาสิทธิ์. (2555). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง พลังงาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ได้รับการสอนโดยใช้ชุดกิจกรรม การเรียนรู้ที่เน้นแผนผังมโนทัศน์. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.