การมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำจัดขยะมูลฝอยในเขตเทศบาล ตำบลพลับพลา อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำจัดขยะมูลฝอยในเขตเทศบาลตำบลพลับพลา อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี กลุ่มตัวอย่าง คือประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลตำบลพลับพลา อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี จำนวน 1,254 ครัวเรือน โดยการสุ่มแบบบังเอิญ ขนาดของกลุ่มตัวอย่างคำนวณได้จากสูตร Yamane เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลพลับพลา อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรีมีความรู้ในการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือน อยู่ในระดับสูง คิดเป็นร้อยละ 91.07 (=16.85, S.D.=2.36) ทัศนคติในการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือน โดยภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่ง (=4.40) พฤติกรรมในการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (=3.82) เมื่อพิจารณารายด้านเกี่ยวกับพฤติกรรมในการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือน พบว่า ด้านการคัดแยกขยะมูลฝอย มีพฤติกรรมอยู่ในระดับมาก (=3.54) ด้านการเก็บรวบรวมขยะมูลฝอย มีพฤติกรรมอยู่ในระดับมาก (=4.00) ด้านการเก็บขนขยะมูลฝอย มีพฤติกรรมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.37) และด้านการกำจัดขยะมูลฝอย มีพฤติกรรมอยู่ในระดับปานกลาง (=3.37) การมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำจัดขยะมูลฝอย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (=3.86) เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านการรับผลประโยชน์อยู่ในระดับมาก (=4.19) ด้านการดำเนินการอยู่ในระดับมาก (=4.13) ด้านการประเมินผลอยู่ในระดับมาก (=3.77) และด้านการตัดสินใจอยู่ในระดับปานกลาง (=3.35)
Article Details
References
2. กัลยา วานิชย์บัญชา. 2544. สถิติเพื่อการตัดสินใจ. พิมพ์ครั้งที่ 5, กรุงเทพฯ: ภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
3. คำมูน สุวรรณภูมิ. (2552). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยในเขตเทศบาลเมืองไกรสอนพมวิหาน แขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาว. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปะศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมวิทยากรพัฒนา บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
4. ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2550). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 10. นนทบุรี : ไทยเนรมิตกิจอินเตอร์ โปรเกรสซิฟ.
5. นัยนา เดชะ. (2556). การมีส่วนร่วมในการจัดการมูลฝอยของประชาชนในตำบลเลม็ด อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อม,
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
6. ปภาวรินท์ นาจำปา. (2557). การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการจัดการขยะมูลฝอย ของเทศบาลตำบลคลองใหญ่ อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด. รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ, มหาวิทยาลัยบูรพา.
7. ปรเมษฐ ห่วงมิตร. (2549). พฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนในเขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร. รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทั่วไป บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
8. พิศิพร ทัศนา และโชติ บดีรัฐ. (2558). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยในเขตเทศบาลนครพิษณุโลก. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมสัมมนาวิชาการนำเสนองานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 15.
9. มัทนา กิสลัย. (2553). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองภูเก็ต. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิเคราะห์และวางแผนทางสังคม คณะพัฒนาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
10. สมนึก เฮงวานิชย์. (2552). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยในเขตเทศบาลตำบลละหานทราย อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร์ มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏ บุรีรัมย์.
11. สมพงษ์ แก้วประยูร. (2558). ความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองควนลัง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย หาดใหญ่.
12. สุรศักดิ์ กล่ำอินทร์. (2552). ความรู้และการมีส่วนร่วมในการจัดการปัญหาขยะมูลฝอยของคณะกรรมการชุมชนในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลเกาะสมุย อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี. รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขานโยบายสาธารณะ วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.
13. Yamane, Taro. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. Third editio. Newyork: Harper and Row Publication.