การประเมินกลุ่มประชากรปูม้า Portunus pelagicus (Linnaeus, 1758) เพื่อการปรับปรุงการทำประมงอย่างยั่งยืน บริเวณอ่าวคุ้งกระเบน จังหวัดจันทบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การประเมินกลุ่มประชากรปูม้า Portunus pelagicus (Linnaeus, 1758) ภายหลังมาตรการปรับปรุงการทำประมง บริเวณอ่าวคุ้งกระเบน จังหวัดจันทบุรี ตั้งแต่เดือนมกราคม ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2559 โดยใช้ลอบปูแบบพับได้ และอวนจมปูในการเก็บตัวอย่าง ผลการสำรวจขนาดความกว้างกระดองของปูม้าที่ถูกนำมาใช้ประโยชน์ บริเวณอ่าวคุ้งกระเบน จังหวัดจันทบุรี จำนวน 1,246 ตัว พบว่าขนาดความกว้างกระดองเฉลี่ยของปูม้าที่พบมากที่สุดอยู่ในช่วงระหว่าง 8.65±1.85 เซนติเมตร ผลการศึกษาการประมาณค่าพลวัตประชากรปูม้า โดยการวิเคราะห์ความถี่ความกว้างกระดองปูม้าทั้งหมด โดยโปรแกรมสำเร็จรูป FiSAT พบว่าค่าพารามิเตอร์การเติบโตของปูม้าเพศผู้ มีค่าความกว้างกระดองสูงสุด (L∞). เท่ากับ 12.00 เซนติเมตร ค่าสัมประสิทธิ์การเติบโต (K) เท่ากับ 0.43 ต่อปี ส่วนปูม้าเพศเมีย มีค่า L∞ เท่ากับ 18.50 เซนติเมตร ค่า K เท่ากับ 1.10 ต่อปี ค่าสัมประสิทธิ์การตายรวม (Z) ของปูม้าเพศผู้และเพศเมียมีค่า เท่ากับ 0.80 ต่อปี และ 2.51 ต่อปี ตามลำดับ ขนาดความยาวแรกจับ (L50%) มีค่าเท่ากับ 4.55 เซนติเมตร รูปแบบการเข้าทดแทนที่ของปูม้าเกิดขึ้นตลอดทั้งปี โดยพบสูงสุด 2 ช่วง คือ ช่วงแรกระหว่างเดือนมีนาคม ถึงเดือนเมษายน และช่วงที่ 2 คือเดือนสิงหาคม ถึงเดือนกันยายน ค่าอัตราการนำมาใช้ประโยชน์ (E) มีค่า เท่ากับ 0.28 ผลการศึกษาอัตราส่วนเพศผู้ต่อเพศเมียเฉลี่ยตลอดปีเท่ากับ 1:0.89 ความสัมพันธ์ระหว่างความกว้างกระดอง (CW) และน้ำหนัก (W) ของปูม้าเพศผู้และเพศเมีย พบว่ามีความสัมพันธ์ดังนี้ W=0.00005CW3.055 และ W = 0.0002CW2.752 ตามลำดับ
ดังนั้นจากผลการวิจัยในครั้งนี้ จะเห็นได้ว่าภายหลังจากที่ได้มีการใช้มาตรการการปรับปรุงการทำประมง พบว่าสถานภาพของทรัพยากรปูม้ามีแนวโน้มที่ดีขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับงานวิจัยก่อนหน้านี้ ดังนั้นมาตรการการปรับปรุงการทำประมงปูม้า จึงควรมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อการจัดการทรัพยากรปูม้าอย่างยั่งยืนในบริเวณอ่าวคุ้งกระเบน จังหวัดจันทบุรีต่อไป
Article Details
References
2. จินตนา จินดาลิขิต, จักรพัณน์ ปิ่นพุทธศิลป์, ขนิษฐา เสรีรักษ์ และสุวรักษ์ วงษ์โท. (2551). ชีววิทยาและการประเมินทรัพยากรปูม้า Portunus pelagicus (Linnaeus, 1758) บริเวณอ่าวไทยตอนบน. ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเลอ่าวไทยตอนบน : สมุทรปราการ.
3. ชุตาภา คุณสุข. (2557). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง การประเมินกลุ่มประชากรปูม้า Portunus pelagicus (Linnaeus, 1766) บริเวณอ่าวคุ้งกระเบน จังหวัดจันทบุรี. จันทบุรี : ภาควิชาชีววิทยา มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
4. ชุตาภา คุณสุข. (2549). พลวัตประชากรปูม้า Portunus pelagicus Linnaeus, 1758 บริเวณอ่าวคุ้งกระเบน จังหวัดจันทบุรี. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต ภาควิชาชีววิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
5. ชุตาภา คุณสุข, พรพิมล กาญจนวาศ และพงษ์ชัย ดำรงโรจน์วัฒนา. (2556). การจัดการทรัพยากรปูม้าแบบมีส่วนร่วม กรณีศึกษา ธนาคารปูม้า บ้านท่าแคลง อ่าวคุ้งกระเบน จังหวัดจันทบุรี. จันทบุรี: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
6. ชุตาภา คุณสุข, พรพิมล กาญจนวาศ และพงษ์ชัย ดำรงโรจน์วัฒนา. (2558). การจัดการทรัพยากรปูม้าอย่างบูรณาการเพื่อความยั่งยืน: กรณีศึกษาอ่าวคุ้งกระเบน จังหวัดจันทบุรี. จันทบุรี: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
7. ชุตาภา คุณสุข, ประสาน แสงไพบูลย์, ศศิธร พุทธรักษ์, พรเพ็ญ แสงศรี และสุดารัฐ กะฐินศรี. (2560). การเปรียบเทียบประสิทธิภาพขนาดตาลอบแบบพับได้ต่อการทำประมงปูม้า บริเวณอ่าวคุ้งกระเบน จังหวัดจันทบุรี. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพาวิจัย.
8. ชุติมากรณ์ ชำนาญชล, เปรมใจ คำจันทร์ และวาสนา เพร็ชเรือง. (2557). ระบบการทำประมงปูม้า ภายใต้การจัดการทรัพยากรปูม้า อย่างบูรณาการและยั่งยืน อ่าวคุ้งกระเบน จังหวัดจันทบุรี. ครุศาสตร์บัณฑิต ภาควิชาชีววิทยาคณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
9. ทิพย์วัลย์ ป้องหมู่, ศราวุธ นาวารัตน์ และ ศิริวรรณ ไชยชุม. (2556). การประเมินกลุ่มประชากรปูม้า Portunus pelagicus (Linnaeus, 1758) ภายหลังการตั้งธนาคารปูม้าบริเวณอ่าวคุ้งกระเบน จังหวัดจันทบุรี. ปริญญานิพนธ์ครุศาสตรบัณฑิต สาขาชีววิทยา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
10. ธชณัฐ ภัทรสถาพรกุล, รัชนา อยู่มั่น, จีรายุทธ หาชิต และกัญลิน จิรัฐชยุต. (2551). การประเมินสภาวะการทำประมงปูม้าและปูทะเลบริเวณแหล่งหญ้าทะเลในอ่าวคุ้งกระเบน จังหวัดจันทบุรี. วิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ คณะเทคโนโลยีทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสารสนเทศจันทบุรี.
11. วารินทร์ ธนาสมหวัง และธรรมนูญ วุ่นซิ่งซี่. (2549). ผลของความเป็นกรด-ด่างของน้ำต่ออัตรารอดและการเจริญเติบโตของลูกปูม้า (Portunus pelagicus Linnaeus,1758) ที่อนุบาลในถังไฟเบอร์. เอกสารวิชาการฉบับที่ 38/2549. ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งสมุทรสาคร, สำนักวิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง, กรมประมง, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
12. สมาคมแช่เยือกแข็งไทย. (2556). ปู (Crab). [ออนไลน์]. เข้าถึงข้อมูลเมื่อ 14 มีนาคม 2559. จาก http://www.thai-frozen.or.th/product_gallery_crab.php.
13. สุเมธ ตันติกุล. (2527). ชีววิทยาของปูม้าในอ่าวไทย. รายงานประจำปี 2527. กรุงเทพฯ: กรมประมง.
14. Davis, G. (1988). The Biology of the Blue Manna Crab (P. pelagicus) In Estuarits of South Western Austraila. Waterway Commission. Waterways Information No.1.
15. Gayanilo, F.C. Sparre, P. and Pauly, D. (1994). The FAO-ICLARM stock assessment tools (FiSAT) user’s guide. FAO comp. Info. Ser.
16. Hosseini, M., Vazirizada, A., Parsa, Y. and Mansori, A. (2012). Sex ratio, size distribution and seasonal abundance of blue swimming crab, Portunus pelagicus (Linnaeus, 1758) in Persian Gulf Coasts, Iran. World Applied Sciences Journal.
17. Kangas, M.I. (2000). Synopsis of the Biology and Exploitation of the blue Swimmer Crab, Portunus pelagicus, in Western Australia. Fisheries Research Report No. 121. Fisheries Western Australia.
18. Kunsook, C. (2011). Assessment of Stock and Movement Pattern of Blue Swimming Crab Portunus pelagicus (Linnaeus, 1758) for Sustainable Management: Case Study in Kung Krabane Bay, Chanthaburi Province. PhD thesis. Biological Science Program, Faculty of Science, Chulalongkorn University.
19. Kunsook, C., Gajaseni, N. and Paphavasit, N. (2014). Stock assessment of blue swimmng crab Portunus pelagicus (Linnaeus, 1758) at Kung Krabaen Bay, Chanthaburi Province, the Gulf of Thailand. Tropical Life Science Research.
20. Sparre, P and Venema, S.C. (1998). Introduction to tropical fish stock assessment. Part 1. Manual. FAO Fisheries Technical Paper. No.306/1. Rev. 2
21. Svane, I., and Hooper, G. (2004). Blue swimmer crab (Portunus pelagicus) fishery. (fishery assessment report to pirsa for the crab fishery management committee). South Australia: Research and development Institute (Aquatic Sciences).
22. Tantichaiwanit, W., Gajaseni, N, Piumsomboon, A. and Kunsook, C. (2010). Zooplankton dynamics and appropriate management approach of blue swimming crab in Kung Krabaen Bay, Chanthaburi Province, Thailand, Tropical Deltas and Coastal zones: Food Production, Communities and Environment at the Land–Water Interface.
23. The National Fishery Institute Crab Council. (2017). Fishery Improvement Project. [Online]. Retreived March 14, 2017, from http://www.committedtocrab.org/projects.
24. Zar, J. H. (1984). Biostatiscal Analysis. Prentice Hall, Eaglewood, USA.