การพัฒนาจักรยานปั่นร่วมกับพลังงานแสงอาทิตย์ผลิตกระแสไฟฟ้าสำหรับใช้ในครัวเรือน
Main Article Content
บทคัดย่อ
ในการทำวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาจักรยานปั่นร่วมกับพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับใช้ในครัวเรือน และเปรียบเทียบกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้ ผลการวิจัยพบว่า จักรยาน 3 ล้อมีความกว้าง 64 เซนติเมตร ยาว 180 เซนติเมตร และสูง 80 เซนติเมตร ติดตั้งชุดมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง (Dc Motor) มีขนาด 350 วัตต์ จำนวน 2 ตัว รวมจำนวน 700 วัตต์ ชุดระบบพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Cell) ขนาด 150 วัตต์ จำนวน 1 แผง ชาร์จประจุไฟฟ้าลงแบตเตอร์รี่ขนาด 40 แอมแปร์ พบว่า หลังติดตั้งจักรยานปั่นร่วมกับพลังงานแสงอาทิตย์ ทดสอบผลิตกระแสไฟฟ้าในเวลา 1 ชั่วโมง ปั่นจักรยานด้วยความเร็วคงที่ 15-20 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จะสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้โดยเฉลี่ยร้อยละ 10 ของความจุแบตเตอรี่ เช่นเดียวกันกับการผลิตกระแสไฟฟ้าจากแผงโซล่าเซลล์มีอัตรากระแสไฟฟ้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 ของความจุแบตเตอรี่ และกระแสไฟฟ้าที่ได้จากการจักรยานปั่นร่วมกับพลังงานแสงอาทิตย์เพิ่มขึ้นร้อยละ 15 ของความจุแบตเตอรี่ ประสิทธิภาพในการเก็บกระแสไฟฟ้าเมื่อใช้ทั้ง 2 ระบบทำงานร่วมกันดีกว่าการปั่นจักรยาน หรือพลังงานแสงอาทิตย์เพียงอย่างเดียวร้อยละ 31.25 และสามารถเก็บกระแสไฟฟ้าเข้าแบตเตอรี่ภายใน 5.30 ชั่วโมง อีกทั้งการปั่นจักรยานยังช่วยให้สุขภาพร่างกายของผู้ที่ปั่นแข็งแรง และยังได้พลังงานไฟฟ้าไว้ใช้เองภายในครัวเรือน
Article Details
References
2. กฤษณะ จันทสิทธิ์ สนั่น เถาชารี และคมสัน มุ่ยสี. (2558). การพัฒนาจักรยานไฟฟ้ากึ่งอัตโนมัติเพื่อชุมชนบ้าน ท่าศาลา อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี. วารสารวิจัยรำไพพรรณี. 9 (มิถุนายน ถึง กันยายน).
3. ชายศักดิ์ ไชยจิตต์. (2550). จักรยานไฟฟ้าพลังงานทดแทน. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://www.physics.cmru.ac.th. 27 เมษายน 2560.
4. นครินทร์ รินผล. (2559). คู่มือการออกแบบระบบไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์เบื้องต้น. การพิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพ ฯ : จรัลสนิทวงศ์ การพิมพ์.
5. พิมพิไล ไชยนุรักษ์. (2555). จักรยานผลิตกระแสไฟฟ้าและการออกกำลังกาย. (ออนไลน์).แหล่งที่มา : http://www.physics.cmru.ac.th. 27 เมษายน 2560.