การใช้สารจับตัวที่เหมาะสมในการผลิตซุปก้อนจากน้ำก๋วยเตี๋ยวหมูเลียง

Main Article Content

วริศชนม์ นิลนนท์
กุลพร พุทธมี

บทคัดย่อ

          วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ เพื่อศึกษาการใช้ชนิดและปริมาณของสารจับตัวที่เหมาะสมในการผลิตซุปก้อนน้ำก๋วยเตี๋ยวหมูเลียง โดยใช้สารจับตัว 3 ชนิด (น้ำมันปาล์ม ชอร์ตเทนนิ่ง และกลีเซอรีน) ในปริมาณความเข้มข้น 2-10 % โดยน้ำหนัก พบว่า  พบว่าสารจับตัวทั้ง 3 ชนิด ที่ระดับความเข้มข้น 6 % ให้คุณลักษณะปรากฎทางกายภาพของก้อนซุปที่ดี คือมีสีน้ำตาล มีความสามารถในการขึ้นรูป และไม่มีการแตกหัก ซึ่งซุปก้อนที่ใช้กลีเซอรีนมีความสามารถในการละลาย (0.44-1.06 min) และดัชนีการดูดซับน้ำดีที่สุด (3.21-3.63 %) โดยไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) จากที่ระดับความเข้มข้น 2 และ 4%  โดยค่า aw ของซุปก้อนที่ใช้สารจับตัวทั้ง 3 ชนิดไม่มีความแตกต่างกันอยู่ในช่วงระหว่าง 0.19-0.27 ส่วนค่า L* ของซุปก้อนที่ใช้ชอร์ตเทนนิ่งมีค่า L* สูงสุดโดยไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) กับซุปก้อนที่ใช้กลีเซอรีน (34.10-36.27) ส่วนคุณภาพทางด้านประสาทสัมผัสของซุปก้อน พบว่าผู้ทดสอบให้การยอมรับซุปก้อนที่ใช้กลีเซอรีนเป็นสารจับตัวมากที่สุดในด้านลักษณะปรากฏ เนื้อสัมผัส และการยอมรับรวม โดยมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) กับซุปก้อนที่ใช้น้ำมันปาล์ม และชอร์ตเทนนิ่ง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. จรินทร์ สว่างแจ้ง. 2544. การพัฒนาซุปกึ่งสำเร็จรูปรสกุ้งจากหัวกุ้ง. ภาควิชาผลิตภัณฑ์ประมง กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

2. ช่อผกา สมภพตระกูล. 2546. น้ำยาก้อนเสริมแคลเซียมจากก้างปลา. ภาควิชาคหกรรมศาสตร์ กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

3. วิชมณี ยืนยงพุทธกาล และ กุลยา ลิ้มรุ่งเรืองรัตน์. 2556. ผลของการเติมใบบัวบกผงและขิงผงต่อคุณภาพของซุปก้อนปรุงรส. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร. 44(2) (พิเศษ): 65-68.

4. สุวรรณี อาจหาญณรงค์. ม.ป.ป. การใช้ส้มแขกแห้งเป็นสารให้รสเปรี้ยวในต้มยำก้อน. ภาควิชาคหกรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

5. สกุล จินดาพล อนุรักษ์ ปีติรักษ์สกุล และกมลทิพย์ สัจจาอนันตกูล. 2547. การออกแบบในการทดลองการทำแห้งแบบพ่นฝอยน้ำนมข้าว. วารสารพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. 4(4) ต.ค.-ธ.ค.2547.

6. สุภกาญจน์ พรหมขันธ์ และ ศุกฤชชญา เหมะธุลิน. 2557. ผลิตภัณฑ์ซุปครีมกึ่งสำเร็จรูปจากไรน้ำนางฟ้า. วารสารแก่นเกษตร (ฉบับพิเศษ). 1: 810-815.

7. Anon. n.d. Stock-cubes.com.http://www.stock-cubes.com/formulas.html [19 March 2018].

8. AOAC. 2000. Official Methods of Analysis. 17thed. The Association of Official Analytical Chemists, Maryland.

9. Cassiday, L. 2018. Red palm oil. The American Oil Chemists' Society, Inform in February 2017.

10. Ghotra, B.S., Dyal, S.D., and Narine, S.S. 2002. Lipid shortenings: a review. Food Research International. 35: 1015–1048.

11. Swarts, K.M. 2012. Development of a stock cube with functional food characteristics. Food and Nutrition. Faculty of Applied Sciences, The Cape Peninsula University of Technology.

12. The Soap and Detergent Association. 1990. Glycerine: An Overview. http://www.aciscience.org/docs/Glycerine_-_an_overview.pdf [19 March 2018].