การวิจัยเพิ่มศักยภาพเครือข่ายประมงพื้นบ้านจันทบุรีและตราดด้วยหลักเศรษฐกิจพอเพียงและภูมิปัญญาชาวบ้าน

Main Article Content

ชลพรรณ ออสปอนพันธ์
ภาษิต ลิ้มประยูร
สุเทพ สุสาสนี
สวัสดิ์ ฟูคณะ
ละเว รัตนวาร

บทคัดย่อ

  


              โครงการวิจัยเพิ่มศักยภาพเครือข่ายประมงพื้นบ้านจันทบุรีและตราดด้วยหลักเศรษฐกิจพอเพียงและภูมิปัญญาชาวบ้าน มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาเปรียบเทียบสาเหตุและผลกระทบการร่อยหรอของทรัพยากรชายฝั่งทะเลจังหวัดจันทบุรีและตราด 2) ศึกษาแนวทางเพิ่มศักยภาพของกลุ่มประมงพื้นบ้านต้นแบบจังหวัดจันทบุรีและตราด 3) ศึกษาวิธีการขับเคลื่อนการนำนโยบายไปปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเครือข่ายประมงพื้นบ้านจังหวัดจันทบุรี ผลการวิจัยพบว่า 1. สาเหตุความร่อยหรอของทรัพยากรชายฝั่งทะเลจังหวัดจันทบุรีและตราดไม่แตกต่างกัน มีสาเหตุดังนี้    1) ระบบนิเวศไม่สมดุล 2) ครัวเรือนมีปริมาณเพิ่มขึ้น 3) มีการทำนากุ้งเพิ่มขึ้น 4) ปัญหากัดเซาะชายฝั่งยังมีปริมาณมาก 5.นักท่องเที่ยวมีปริมาณเพิ่มขึ้นและ6.การใช้สารเคมีในการทำสวนผลไม้ ส่งผลให้เกิดผลกระทบดังนี้ 1) สัตว์น้ำมีปริมาณลดลง 2) รายได้ของชาวบ้านลดลง 3) เจ้าของกิจการเปลี่ยนฐานะเป็นลูกจ้าง 4) ป่าชายเลนลดน้อยลง 5) มีสารปนเปื้อนจากขยะเพิ่มขึ้นและ 6) คุณภาพน้ำเปลี่ยนไปเพราะสารเคมีจากการทำสวนผลไม้ไหลลงสู่ทะเล


  1. แนวทางการเพิ่มศักยภาพคือ 1) กิจกรรมการมีส่วนร่วมระหว่างกลุ่มประมงพื้นบ้าน มหาวิทยาลัย ชาวบ้าน หน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนให้มีความหลากหลายมากขึ้น 2) ภาครัฐควรสนับสนุนงบประมาณดำเนินกิจกรรมของกลุ่มประมงพื้นบ้าน 3) กลุ่มประมงพื้นบ้านควรดำเนินงานแบบเครือข่ายมากกว่าการดำเนินงานเพียงลำพัง 4) เพิ่มการอบรมเกี่ยวกับกฎหมายประมงและเครื่องมือประมงและ 5. เครือข่ายประมงพื้นบ้านต้องดำเนินการประชุมอย่างสม่ำเสมอ

  2. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีพื้นที่หรืออาณาเขตติดชายฝั่งทะเลควรจัดทำแผนนโยบายและโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาการร่อยหรอของทรัพยากรชายฝั่งเองมากกว่าเป็นเพียงผู้ให้ความอนุเคราะห์ให้โครงการของหน่วยงานจากภายนอกดำเนินไปได้สำเร็จ และเป็นการแก้ไขปัญหาตรงกับความต้องการของท้องถิ่นเอง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. ไกรวุฒิ ช่วยสถิต. (2541). คุณภาพชีวิตด้านครอบครัวและชุมชนของชาวไทยมุสลิมในชุมชนเมือง : ศึกษากรณีชุมชนบ้านหัวสะพานสะเตงและชุมชนกำปงบางโงย. กรุงเทพมหานคร : ภาคนิพนธ์, บัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (พัฒนาสังคม) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

2. พิทยา บวรวัฒนา. (2543). รัฐประศาสนศาสตร์ ทฤษฏีและแนวการศึกษา. (ค.ศ. 1887-ค.ศ. 1970).

3. วิสุทธิ์ ใบไม้. (2538). สถานภาพความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

4. นันทวัฒน์ บรมนันท์และแก้วคำ ไกรสรพงษ์. (2544). การปกครองส่วนท้องถิ่นกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ : วิญญูชน.

5. สนิท อักษรแก้ว. (2558). ลักษณะโครงสร้างของป่าชายเลนในรายงานการสัมมนาระบบนิเวศป่าชายเลนครั้งที่ 3 จังหวัดสงขลา 8-12 เมษายน 2522 .(หน้า73-81). กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ.

6. เสรี พงศ์พิศ. (2548). เครือข่าย. (ออนไลน์).แหล่งที่มา : http://www.phongphit.com /content/view /84/2/.วันที่ 6 กันยายน 2558