บทบาทของพระสงฆ์กับการอนุรักษ์ป่าไม้ : กรณีศึกษาพระครูประโชติธรรมาภิรมย์ (สาย โชติธมฺโม) วัดวังศิลาธรรมาราม ตำบลวังหว้า อำเภอแกลง จังหวัดระยอง
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทบาทและแนวคิดการอนุรักษ์ป่าไม้ของพระครูประโชติธรรมาภิรมย์ (สาย โชติธมฺโม) มี 3 ด้าน ได้แก่ 1) บทบาทด้านการเทศนาสั่งสอนให้คนมีจิตสำนึก บทบาทการเป็นผู้นำในการอนุรักษ์ป่าไม้ และบทบาทในการส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ แนวคิดการอนุรักษ์ป่า 3 ด้าน ได้แก่ แนวคิดการตอบแทนคุณแม่ แนวคิดการจัดป่าแบบสวนโมกข์ และแนวคิดธรรมชาติ 4 ประการ ผลของการอนุรักษ์ป่าไม้ของพระครูประโชติธรรมาภิรมย์ แบ่งออกเป็นได้ 3 ระดับได้แก่ ด้านผลผลิต ทำให้เกิดป่าไม้ และสัตว์ป่าในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไนและอุทยาเขาชะเมาเพิ่มมากขึ้น ด้านผลลัพธ์ที่ตามมาสู่ชุมชน เกิดกลุ่มเครือข่ายชุมชนพวา กลุ่มสหกรณ์ออมทรัพย์ การทดลองใช้คูปองแลกเปลี่ยนชุมชน กลุ่มเยาวชนในการอนุรักษ์ป่าไม้ และกิจกรรมเครือข่ายวนเกษตร ด้านผลที่ออกสู่สังคมภายนอก เกิดกลุ่มเครือข่ายวนเกษตรภาคตะวันออก 5 จังหวัด
Article Details
References
2. โกมล แพรกทอง. (2532). ป่าชมชนในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
3. ฉลาดชาย รมิตานนท์. (2528). ป่าไม้สังคมกับการพัฒนาชนบท. สมาคมสังคมสงเคราะห์ศาสตร์แห่งประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เจ้าพระยาการพิมพ์.
4. พระมหาวิรัตน์ อาจารสุโภ. (2555). พุทธศาสนากับป่าไม้. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
5. พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2554). คนรักษ์ป่า ป่ารักษ์คน. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิปัญญาประทีป.
6. พระไพศาล วิสาโล. (2546). พุทธศาสนาไทยในอนาคต : แนวโน้มและทางออกจากวิกฤต. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.
7. พระครูใบฎีกาถาวร สุรปญฺโญ, (2554). การศึกษาบทบาทพระสงฆ์กับการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้: ศึกษาเฉพาะกรณีบทบาทของพระนิภากรโสภณ (ไกร ฐานิสฺสโร) วัดหนองกลับ อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาพระพุทธศาสนา,มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
8. พระมหาเจิม สุวโจ, (2543), บทบาทของพระสงฆ์ในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ ศึกษาเฉพาะกรณีพระอธิการพงษ์ศักดิ์ เตชธฺมโม. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาพระพุทธศาสนา, มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
9. พลอยบงกช ชุ่มเพ็งพันธุ์, (2550), การฟื้นฟูวัฒนธรรมชุมชนในภาคตะวันออก : กรณีศึกษาระบบแลกเปลี่ยนชุมชนในชุมชนพวา จังหวัดจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาไทยศึกษา,มหาวิทยาลัยบูรพา.