การพัฒนาแผนที่การเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ในเขตอำเภอเมืองจันทบุรี

Main Article Content

ศิริศักดิ์ ทิพย์ทวีชาญ
วกุล จุลจาจันทร์

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแผนที่การเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี 2) เพื่อจัดประเภทยุคสมัยต่างๆของแหล่งประวัติศาสตร์ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี และ 3) เพื่อวิเคราะห์การกระจายตัวของแหล่งประวัติศาสตร์ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี โดยมีพื้นที่ศึกษาอยู่ในเขตอำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี ประกอบด้วยพื้นที่ 11 ตำบล ได้แก่ 1. ตำบลตลาด 2. ตำบลวัดใหม่ 3. ตำบลคลองนารายณ์ 4. ตำบลเกาะขวาง 5. ตำบลคมบาง 6. ตำบลท่าช้าง 7. ตำบลจันทนิมิต 8. ตำบลบางกะจะ 9. ตำบลแสลง 10. ตำบลหนองบัว และ 11. ตำบลพลับพลา เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์รูปแบบทางที่ตั้งหรือการกระจายตัวของแหล่งประวัติศาสตร์ คือ วิธีการทางแผนที่ (Cartographic Method)


ผลการศึกษาวิจัย พบว่า แหล่งประวัติศาสตร์มีการกระจายตัวอยู่ในพื้นที่ 7 ตำบล ได้แก่    คมบาง คลองนารายณ์ จันทนิมิต ท่าช้าง บางกะจะ วัดใหม่ และหนองบัว ดังนั้น เมื่อพิจารณารูปแบบทางที่ตั้งของแหล่งประวัติศาสตร์ในเขตอำเภอเมืองจันทบุรี พบว่า ตำบลวัดใหม่เป็นพื้นที่ที่มีแหล่งประวัติศาสตร์ตั้งอยู่มากที่สุด คือ 11 แหล่งประวัติศาสตร์ (44%) รองลงมา คือ ตำบลคมบาง ตำบลคลองนารายณ์ ตำบลจันทนิมิต และตำบลบางกะจะ โดยมีตำบลละ 3 แหล่ง (12%) อันดับสาม คือ ตำบลท่าช้างและตำบลหนองบัว มีตำบลละ 1 แหล่ง (4%) ส่วนการจัดประเภทยุคสมัยของแหล่งประวัติศาสตร์ในเขตอำเภอเมืองจันทบุรี พบว่า แหล่งประวัติศาสตร์ที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดอยู่ในยุค   ทวารวดี รองลงมา คือ ยุคกรุงศรีอยุธยา และกรุงรัตนโกสินทร์ ตามลำดับ โดยตำบลที่มีแหล่งประวัติศาสตร์ที่มีอายุเก่าแก่ที่สุด คือ ตำบลคลองนารายณ์ รองลงมา คือ ยุคกรุงศรีอยุธยา อยู่ในเขตตำบลคลองนารายณ์ ตำบลจันทนิมิต ตำบลบางกะจะ ตำบลวัดใหม่ และตำบลหนองบัว ส่วนยุคกรุงรัตนโกสินทร์ มีการกระจายตัวอยู่ในพื้นที่ 6 ตำบล ได้แก่ ตำบลคมบาง ตำบลคลองนารายณ์ ตำบลจันทนิมิต ตำบลท่าช้าง ตำบลบางกะจะ และตำบลวัดใหม่

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กามนิต ดิเรกศิลป์. (2542). การศึกษาแบบแผนการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ บริเวณอำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

2. กามนิต ดิเรกศิลป์ และคณะ. (2554). วิถีชีวิตชุมชนคนริมน้ำ : จันทบูร. จันทบุรี: หน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่น.

3. กำพล เอกพันธุ์. (2550). การสร้างแบบจำลองภูมิสารสนเทศสำหรับการประมวลจัดลำดับความสำคัญของการอนุรักษ์ตึกแถวในย่านประวัติศาสตร์. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

4. คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ. (2542). ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น : ความเป็นมาของอำเภอสำคัญในประวัติศาสตร์ภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

5. คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ. (2544). วัฒนธรรมพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดจันทบุรี. กรุงเทพมหานคร: กรมศิลปากร.

6. จักรินรัฐ นิยมค้า. (2542). การวิเคราะห์ภาชนะดินเผาจากแหล่งโบราณคดีบ้านคลองบอน อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

7. จารึก วิไลแก้ว. (2538). แหล่งโบราณคดีที่เกี่ยวเนื่องกับเส้นทางเดินทัพและเส้นทางติดต่อค้าขาย แลกเปลี่ยนในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สระบุรี ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยองและจันทบุรี. กรุงเทพมหานคร: กรมศิลปากร.

8. จารึก วิไลแก้ว. (2538). แหล่งโบราณคดีภาคตะวันออกและเส้นทางเดินทัพ. กรุงเทพมหานคร: กรมศิลปากร.

9. ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และสุชาติ สวัสดิ์ศรี. (2527). ปรัชญาประวัติศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.

10. ตรี อมาตยกุล. (2514). ประวัติเมืองจันทบุรีในชุมนุมเรื่องจันทบุรี. กรุงเทพมหานคร: กรมศิลปากร.

11. แถมสุข นุ่มนนท์. (2527). ประวัติศาสตร์ในปรัชญาประวัติศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.

12. นวรัตน์ นักเสียง และคณะ. (2555). พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว : กรณีศึกษา หลักฐานทางประวัติศาสตร์ในจังหวัดจันทบุรี. จันทบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

13. พงศ์ระภี ธรรมเวธิต. (2545). การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการจัดทำฐานข้อมูลแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สินเพื่อจัดเก็บภาษีท้องถิ่น กรณีศึกษาเทศบาลตำบลคลองใหญ่ จังหวัดตราด. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

14. พลาดิศัย สิทธิธัญกิจ. (2554). ประวัติศาสตร์ไทย. กรุงเทพฯ : ตถาตา พับลิเคชั่น.

15. ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร. (2545). โบราณคดีและประวัติศาสตร์ในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

16. มาตยา อิงคนารถและวนิดา ตรงยางกูร. (2536). ประวัติศาสตร์นิพนธ์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

17. วันวสา วิโรจนารมย์. (2544). การศึกษารูปแบบการตั้งถิ่นฐานของชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในพื้นที่จังหวัดลพบุรีและนครสวรรค์ด้วยระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

18. ศักดิ์สิทธิ์ ศรีทับทิม. (2546). การประยุกต์ใช้ข้อมูลจากการสำรวจระยะไกลและระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการแบ่งเขตจัดการอุทยานแห่งชาติเขาชะเมา-เขาวง จังหวัดระยองและจังหวัดจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

19. สรรค์ใจ กลิ่นดาว. (2542). ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ : หลักการเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

20. สว่าง เลิศฤทธิ์. (2545). โบราณคดีและประวัติศาสตร์ในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

21. สำนักคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. (2542). จันทบุรี. กรุงเทพมหานคร: การศาสนา.

22. สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี. (2555). เล่าเรื่องเมืองจันทบูรณ์. (ออนไลน์). แหล่งที่มา http://www.chanthaburi.doae.go.th/history/chan%20history.htm. 20 มีนาคม 2560.

23. สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2555). โครงการกำหนดขอบเขตพื้นที่เมืองเก่า เมืองเก่าจันทบุรี. มปท.

24. สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน). (2550). หลักการพื้นฐานเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ. กรุงเทพมหานคร: ฟันนี่พับบลิชชิ่ง.

25. สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดจันทบุรี. (2560). ประวัติศาสตร์และความเป็นมาของจังหวัดจันทบุรี. (ออนไลน์). แหล่งที่มา http://province.m-culture.go.th/chanthaburi/history.html. 20 มีนาคม 2560.

26. สำนักส่งเสริมและพัฒนาสารสนเทศภูมิศาสตร์. (2558). วิธีการทำงานของ GIS. (ออนไลน์). แหล่งที่มา http://www.gi.mict.go.th/art_methodGIS.htm. 5 สิงหาคม 2558.

27. สุเพชร จิรขจรกุล. (2552). เรียนรู้ระบบภูมิสารสนเทศด้วยโปรแกรม ArcGIS Desktop 9.3.1. นนทบุรี: เอส.อาร์ พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.

28. สุระ พัฒนเกียรติ. (2542). หลักเบื้องต้นระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ: สำนักงานทรัพยากรสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ.

29. อดิศร ศักดิ์สูง. (2554). ประวัติศาสตร์เพื่อการท่องเที่ยวในประเทศไทย. สงขลา: นำศิลป์โฆษณา.

30. อรวรรณ ใจกล้า. (มปป). ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเมืองจันทบุรี. จันทบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

31. อุทัย สุขสิงห์. (2547). การจัดการระบบฐานข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ด้วยโปรแกรม Arc View 3.2 - 3.3. กรุงเทพมหานคร: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).