การสะสมธาตุคาร์บอนในมวลชีวภาพเหนือพื้นดินของไม้ยืนต้น ในพื้นที่ปกปักทรัพยากร มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี

Main Article Content

พงษ์ชัย ดำรงโรจน์วัฒนา
พัทธ์ธีรา เพชรทองเกลี้ยง
ชุตาภา คุณสุข

บทคัดย่อ

งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณมวลชีวภาพเหนือพื้นดินและการสะสมธาตุคาร์บอนในมวลชีวภาพเหนือพื้นดินของไม้ยืนต้นในพื้นที่ป่าปกปักทรัพยากร ซึ่งมีลักษณะเป็นป่าดิบชื้นผสมป่าพรุและเป็นหย่อมป่าตั้งอยู่ภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี การศึกษาทำโดยสุ่มวางแปลงขนาด 40 ม. x 40 ม. จำนวน 3 แปลง ทำการบันทึกชื่อพันธุ์ไม้ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางลำต้นที่ระดับความสูงจากพื้นดิน 130 เซนติเมตร (Diameter at breast height, DBH) ของต้นไม้ที่มี DBH ตั้งแต่ 4.5 เซนติเมตร ขึ้นไป และบันทึกความสูงของต้นไม้ จากนั้นทำการคำนวณค่ามวลชีวภาพเหนือพื้นดินของต้นไม้โดยใช้สมการอัลโลเมทรีของป่าดิบชื้น และคำนวณค่าปริมาณธาตุคาร์บอนที่สะสมในมวลชีวภาพเหนือพื้นดินโดยคิดเป็นประมาณร้อยละ 50 ของมวลชีวภาพเหนือพื้นดิน ผลการศึกษาพบพันธุ์ไม้ทั้งสิ้น 56 ชนิด รวม 740 ต้น หรือคิดเป็นความหนาแน่น 1,541±419 ต้น/เฮกแตร์ มีพื้นที่หน้าตัดรวม 11.5 ตร.ม. และมีค่าดัชนีความหลากหลายของแชนนอน–เวียเนอร์ (H’) เท่ากับ 3.11  ในส่วนของมวลชีวภาพเหนือพื้นดินพบว่ามีค่า 160.9±59.5 ตัน/เฮกแตร์ สามารถคิดเป็นปริมาณธาตุคาร์บอนที่สะสมในมวลชีวภาพเหนือพื้นดินเท่ากับ 80.5±29.7 ตันคาร์บอน/เฮกแตร์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. คณะวนศาสตร์. 2554. คู่มือศักยภาพของพรรณไม้สำหรับส่งเสริมภายใต้โครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาดภาคป่าไม้. กรุงเทพฯ: อักษรสยามการพิมพ์.

2. จรัส ช่วยนะ. 2540. ลักษณะโครงสร้างของป่าเต็งรังทุติยภูมิ บริเวณโครงการพัฒนาตามพระราชดำริป่าหนองเต็งจักราช จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

3. จิรนันท์ ธีระกุลพิศุทธิ์. 2546. ศักยภาพการสะสมธาตุคาร์บอนในมวลชีวภาพเหนือพื้นดินของระบบนิเวศป่าทองผาภูมิ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

4. เจษฎา เหลืองแจ่ม. 2547. โครงการปลูกป่าขนาดเล็กภายใต้กลไกการพัฒนาที่สะอาด. ใน เอกสารประกอบการประชุมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทางด้านป่าไม้: ป่าไม้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ. กรุงเทพฯ: กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช.

5. ชิงชัย วิริยะบัญชา, ทศพร วัชรางกูร และบรรณศาสตร์ ดวงศรีเสน. 2545. ระบบการประเมินหาปริมาณการสะสมของธาตุคาร์บอนในระบบนิเวศป่าไม้ของประเทศไทย (I. มวลชีวภาพเหนือพื้นดิน). กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้.

6. ชิงชัย วิริยะบัญชา, วิโรจน์ รัตนพรเจริญ, จตุพร มังคลารัตน์ และประสิทธิ์ เพียรอนุรักษ์. 2547. มวลชีวภาพและการเจริญเติบโตของพันธุ์ไม้มีค่าทางเศรษฐกิจบางชนิดเพื่อประมาณการสะสมธาตุคาร์บอนในสวนป่า. ใน การประชุมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทางด้านป่าไม้: ป่าไม้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ. กรุงเทพฯ: กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช.

7. ชิงชัย วิริยะบัญชา. 2546. คู่มือการประมาณมวลชีวภาพของหมู่ไม้. กรุงเทพมหานคร: กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช.

8. ดอกรัก มารอด และอุทิศ กุฏอินทร์. 2552. นิเวศวิทยาป่าไม้. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะวนศาสตร์ กองทุนจัดพิมพ์ตำราป่าไม้.

9. ธิติ วิสารัตน์ และศิริภา โพธิ์พินิจ. 2544. แนวทางการบรรยายและวิเคราะห์สังคมพืช. กรุงเทพมหานคร: สำนักบริหารจัดการในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ 20, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช.

10. พงษ์ชัย ดำรงโรจน์วัฒนา, ชุตาภา คุณสุข, สร้อยลดา ดำรงโรจน์วัฒนา, ฉัตรลดา เธียรเชาว์ และสุตนันท์ ปิ่นมณีนพรัตน์. 2561. ปกปักฯ รักษ์นก. กรุงเทพฯ: แอคทีฟ พริ้นท์ จำกัด.

11. วิมลมาศ นุ้ยภักดี. 2542. การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของป่าเต็งรังตามระดับความสูงบริเวณสวนพฤกษศาสตร์ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

12. สนธยา จำปานิล. 2547. การเปรียบเทียบผลผลิตและการย่อยสลายของเศษซากพืช เพื่อประเมินการสะสมคาร์บอนในระบบนิเวศป่า ในเขตอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

13. สวรินทร์ เบ็ญเด็มอะหลี. 2557. การประเมินสภาพป่าและศักยภาพในการเก็บกักคาร์บอนของป่าเสม็ดในเขตป่าชุมชน พื้นที่ป่าทุ่งบางนกออกแห่งลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาตอนล่าง. วารสารวนศาสตร์. 33(2): 88-101.

14. สุนันทา ขจรศรีชล. 2531. ลักษณะทางนิเวศวิทยาบางประการของป่าสนธรรมชาติ บริเวณโครงการหลวงบานวัดจันทร์ อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

15. อุทิศ กุฏอินทร์. 2542. นิเวศวิทยาพื้นฐานเพื่อการป่าไม้. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

16. Brown, S. and Lugo A. E. 1982. The storage and production of organic matter in tropical forests and their role in the global carbon cycle. Biotropica. 14(3): 161-187.

17. Dumrongrojwatthana, P., Gajaseni, N., and Popan, A. 2009. Impact of disturbance on floristic and soil properties in deciduous forest, Nam Wa sub-watershed, Northern Thailand. The Journal of Scientific Research Chulalongkorn University. 34(2): 49-57.

18. IPCC. 2006. IPCC Guideline for National Greenhouse Gas Inventories. Japan.

19. IPCC. 2013. 2013 Revised Supplementary Methods and Good Practice Guidance Arising from the Kyoto Protocol. Switzerland.

20. Komiyama A., Poungparn S., and Kato S. 2005. Common allometric equations for estimating the tree weight of mangroves. Journal of Tropical Ecology. 21: 471-477.

21. Ogawa, H., Yoda, K., Ogino, K., and Kira, T. 1965. Comparative ecological studies on three main types of forest vegetation in Thailand II. Plant biomass. Nature and Life in Southeast Asia. 4: 49-80.

22. Ogino, K., Ratanawongs, D., Tsutsumi. T., and Shidei, T. 1967. The primary production of tropical forest in Thailand. The Southeast Asian Studies. 5(1): 122-154

23. Phochayavanich, R. 2014. Species diversity and above ground carbon stock of trees in forest patches at Khon Kaen University, Nong Khai Campuscampus. KKU Science Journal. 42(4): 792-805

24. Pibumrung P., Gajaseni N., and Popan A. 2008. Profiles of carbon stocks in forest, reforestation and agricultural land, Northern Thailand. Journal of Forestry Research. 19: 11-18.

25. Plant Genetic Conservation Project, Rambhai Barni. [Online]. Available: http://www.plants.rbru.ac.th/2012/. Accessed date: 12 December 2014.

26. Suwannapinunt, W. 1983. A study on the biomass of Thyrsostachys siamensis Gamble forest at Hin-Lap, Kanchanaburi. Journal of Bamboo Research. 2(2): 82-101.

27. Tange, T., Kawazoe, T., Yamanoshita, T. Morikawa, Y., and Nuyim, T. 2001. Biomass production of Melaleuca cajuputi forest in degraded peat swamp of Southern Thaland. Silvicultural Research Report. pp. 39-46.

28. Teerakunpisut J., Gajaseni N., Ruankawe N. 2007. Carbon sequestration potential in aboveground biomass of Thong Pha Phum national forest, Thailand. Applied Ecology and Environment Rresearch. 5(2): 93-102.

29. Wongphakdee, S. and Dumrongrojwatthana, P. 2014. Carbon sequestration potential in aboveground biomass of trees in Chulalongkorn University. Abstracts of the Science Forum., March 20-21, 2014. Faculty of Science, Chulalongkorn University, Bangkok, Thailand. p.27.