ระบบสูบน้ำบาดาลพลังงานแสงอาทิตย์แบบพึ่งพาตนเองในพื้นที่ โรงเรียนอนุบาลเกาะกูด จังหวัดตราด

Main Article Content

ศรายุทธ์ จิตรพัฒนากุล
กฤษณะ จันทสิทธิ์
คมสัน มุ่ยสี
นิกร ผงทอง

บทคัดย่อ

        ในการทำวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์และประเมินประสิทธิภาพระบบสูบน้ำบาดาลพลังงานแสงอาทิตย์ ปริมาณน้ำที่ผลิตได้ต่อการนำไปใช้งาน วิเคราะห์ต้นทุนเชิงเศรษฐศาสตร์ และบูรณาการงานวิจัยกับการเรียนการสอนของโรงเรียนอนุบาลเกาะกูด ผลการวิจัย พบว่า หลังการติดตั้งระบบสูบน้ำบาดาลพลังงานแสงอาทิตย์ประกอบด้วยแผงโซล่าเซลล์ขนาด 325 วัตต์ จำนวน 10 แผง เครื่องแปลงไฟฟ้ากระแสสลับขนาด 2 แรงม้า (1.5 กิโลวัตต์) เครื่องสูบน้ำบาดาล 3 เฟส ขนาด 2 แรงม้า ควบคุมการสูบน้ำด้วยสวิตช์ใบพาย และสวิตช์ควบคุมระดับแรงดันในภาชนะเก็บน้ำขนาด 15 คิว (15,000 ลิตร) ทำงานร่วมกับกระแสไฟฟ้าที่มาจากการไฟฟ้าเพื่อชดเชยช่วงเวลาที่แผง  โซล่าเซลล์ไม่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ วิเคราะห์ปริมาณความเข้มแสง ปริมาณแรงดันไฟฟ้า และกระแสไฟฟ้าที่ได้จากแผงโซล่าเซลล์ตั้งแต่เวลา 08.00 น. ถึง 17.00 น. พบว่า เมื่อปริมาณความเข้มแสงเพิ่มขึ้น มีผลทำให้กระแสไฟฟ้าเพิ่มขึ้น โดยเฉลี่ยค่าสูงสุดที่เวลา 12.00 น. เท่ากับ 50,725 ลักซ์ ค่ากระแสไฟฟ้าเท่ากับ 5.94 แอมแปร์ ได้ปริมาณน้ำโดยเฉลี่ย 80 ลิตรต่อนาที หรือ 4,800 ลิตรต่อชั่วโมง โดยภาชนะเก็บน้ำขนาด 15,000 ลิตร จะสามารถเติมน้ำลงในภาชนะเก็บน้ำได้ภายในระหว่าง 2.30 ถึง 3 ชั่วโมง สามารถลดปริมาณค่ากระแสไฟฟ้าของโรงเรียนได้ปริมาณร้อยละ 30 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกัน หลังบูรณการการเรียนการสอนรายวิชาวิทยาศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง 6 ของโรงเรียนอนุบาลเกาะกูด ร่วมกับนักศึกษาหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม คณาจารย์ และผู้ที่สนใจทั่วไปรวมจำนวน 127 คน ทำแบบสอบถามความพึงพอใจ โดยแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ พบว่า ความพึงพอใจด้านความรู้ความเข้าใจ มีระดับความพึงพอใจมากที่สุด คือ ความรู้ความเข้าใจหลังการอบรม และฝึกปฏิบัติค่าเฉลี่ย  (Mean) 4.88 คิดเป็นร้อยละ 97.60  ด้านความพึงพอใจมีระดับความพึงพอใจมากที่สุด คือ วัตถุประสงค์ในการจัดโครงการและประโยชน์ที่ได้รับ และความพึงพอใจต่อความรู้ความสามารถที่ถ่ายทอดความรู้ของวิทยากรค่าเฉลี่ย  (Mean) 4.88 คิดเป็น   ร้อยละ 97.60 ด้านการนำความรู้ไปใช้ มีระดับความพึงพอใจมากที่สุด คือ สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปฏิบัติงานด้านพลังงานไฟฟ้าให้เกิดความเชี่ยวชาญ และสอดคล้องกับการมีส่วนร่วมลดการใช้พลังงานของประเทศ ค่าเฉลี่ย  (Mean) 4.91 คิดเป็น ร้อยละ 98.20

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กลุ่มบริหารการคลังและทรัพย์สิน. (2561). การตีราคาทรัพย์สิน. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://www.moe.go.th/webfnd/mo29.htm. 29 มกราคม 2561.

2. กรุงไทยวัฒนา. (2554). แฟรงคลินแค็ตตาล็อก. (ออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.franklinthailand.com/KTW_Page/1016/catalog. 21 มกราคม 2561.

3. คู่มือโซล่าปั๊มอินเวอเตอร์โนเวม, (2560). คีย์แพดใช้ในการแสดงผลและตั้งค่าฟังก์ชั่น. กรุงเทพ ฯ : โนเวม อินจิเนียริ่ง.

4. ธนาคารแห่งประเทศไทย. 2561. อัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อ. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : https://www.bot.or.th/thai/statistics/_layouts/application/interest_rate/in_rate.aspx : 29 มกราคม 2561.

5. นครินทร์ รินผล. (2559). คู่มือการออกแบบระบบไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์เบื้องต้น. การพิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพ ฯ : จรัลสนิทวงศ์ การพิมพ์.

6. นิกร ผงทอง เป็นผู้ให้สัมภาษณ์. ศรายุทธ์ จิตรพัฒนากุล เป็นผู้สัมภาษณ์. (28 กรกฎาคม 2559). ณ โรงเรียนอนุบาลเกาะกูด เลขที่ 130 หมู่ที่ 1 ตำบลเกาะกูด อำเภอเกาะกูด จังหวัดตราด

7. พินิจ สามาอาพัฒน์ และธนิท เรืองรุ่งชัยกุล. (2558, กันยายน-ธันวาคม). Thai Journal of Science and Technology, 4 (3), หน้า 217-226.

8. วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2561). มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย : ระบบการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา. กรุงเทพ ฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

9. ศรายุทธ์ จิตรพัฒนากุล กฤษณะ จันทสิทธิ์ คมสัน มุ่ยสี และนิกร ผงทอง. (2561). การออกแบบระบบสูบน้ำบาดาล พลังงานแสงอาทิตย์สำหรับพื้นที่โรงเรียนอนุบาลเกาะกูด จังหวัดตราด. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ครั้งที่ 3 และการประชุมวิชาการระดับชาติ เครือข่ายวิจัยประชาชื่น ครั้งที่ 4. นภัทร วันจนเทพินทร์. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์พระนครศรีอยุธยา หันตรา. พระนครศรีอยุธยา. หน้า 749-759.