การจัดการเรียนรู้ทักษะชีวิตในการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อม สำหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษา

Main Article Content

ธันวดี ดอนวิเศษ
พัชรินทร์ รุจิรานุกูล

บทคัดย่อ

       การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา        การจัดการเรียนรู้ทักษะชีวิตในการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมสำหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษา โดยใช้แนวความคิดเกี่ยวกับทักษะชีวิตขององค์การอนามัยโลกประยุกต์ใช้ในการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ทักษะชีวิตในการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมสำหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษา ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ได้แก่ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์  ปีการศึกษา 2559 จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มเสี่ยง 30 คนและกลุ่มไม่เสี่ยง 30 คน และการสัมภาษณ์ผู้ปกครอง และอาจารย์ที่ปรึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง ส่วนที่ 2 เป็นแบบทดสอบวัดด้านความรู้ความเข้าใจเรื่องการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมสำหรับนักศึกษา แบบวัดความตระหนักและเห็นคุณค่าในตนเองเรื่องการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมสำหรับนักศึกษา และแบบวัดทักษะการปฏิเสธการต่อรอง ตอนที่ 3 ผลการติดตามพฤติกรรมนักศึกษาหลังสิ้นสุดการอบรมทักษะชีวิต 2 สัปดาห์ โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูล 3 ครั้ง ได้แก่ ครั้งที่ 1 ก่อนเริ่มมีการอบรมเรียนรู้ทักษะชีวิตในการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมสำหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษา ครั้งที่ 2 เมื่อสิ้นสุดกิจกรรมอบรมเรียนรู้ทักษะชีวิตในการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมสำหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษา ครั้งที่ 3 เมื่อสิ้นสุดกิจกรรมอบรมเรียนรู้ทักษะชีวิตในการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมสำหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษา 2 สัปดาห์ จากนั้นนำข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่ม ที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS (Statistical Package for the Social Science) วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติพรรณนาแจกแจงความถี่คิดเป็นร้อยละ ของลักษณะกลุ่มตัวอย่างของทั้ง 2 กลุ่ม และหาค่าเฉลี่ย เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยด้านการวัดความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกและการเห็นคุณค่าในตนเอง และทักษะการปฏิเสธต่อรอง ระหว่างก่อนและหลังการได้รับการพัฒนาในการเรียนรู้ทักษะชีวิตในการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมสำหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษาด้วยสถิติ t-test การรวบรวมข้อมูลครั้งที่ 3 ผู้วิจัยได้นำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยการวิเคราะห์เหตุการณ์ ผลการทดลองพบว่า กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มไม่เสี่ยงมีคะแนนเฉลี่ยความรู้ความเข้าใจ ความตระหนักและเห็นคุณค่าในตนเอง มีทักษะการปฏิเสธการต่อรองเรื่องการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 และผลการติดตามพฤติกรรมนักศึกษาหลังสิ้นสุดการอบรมทักษะชีวิต 2 สัปดาห์ จากนักศึกษา ผู้ปกครอง และอาจารย์ที่ปรึกษาได้แสดงความคิดเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของนักศึกษาว่ามีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น เช่น รู้จักคิด การเห็นคุณค่าในตนเองและการมีทักษะปฏิเสธต่อรองในทางที่ดีขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

ธันวดี ดอนวิเศษ, คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี

   

References

1. กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2554). คู่มือการสอนทักษะชีวิตเพื่อป้องกันสารเสพย์ติดในสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข.

2. บุญฤทธิ์ สุขรัตน์. (2557). การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น : นโยบาย แนวทางการดำเนินงาน และติดตามประเมินผล. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย.

3. ปรียาลักษณ์ สาทรานนท์. (2554). ชายเป็นใหญ่กับประสบการณ์การตั้งครรภ์ไม่พร้อมของวัยรุ่นหญิง. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยมหิดล.

4. วราภรณ์ จันทร์ดำ. (2555). การตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ของนิสิตนักศึกษาและการป้องกัน. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร มหาบัณฑิต. สาขาพัฒนาสังคม. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

5. สัจจา ทาโต. (2550). การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรของวัยรุ่นไทย. วารสารพยาบาลศาสตร์, 1(2), หน้า 19-30.

6. สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2556. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 (2555-2559). กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

7. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2553). การจัดอันดับการอุดมศึกษาของ IMD ในเวทีสากล พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.

8. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). การพัฒนาทักษะชีวิตในระบบการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

9. สุภาพร นกเจริญ. (2551). การใช้กลุ่มเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตด้านการเผชิญกับอารมณ์ของเยาวชนในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนบ้านบึง จังหวัดชลบุรี. การค้นคว้าแบบอิสระ.วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต.
บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

10. สุวรรณา เรืองกาญจนเศรษฐ์. (2549). รู้ทันปัญหาวัยรุ่นยุคใหม่. กรุงเทพฯ : ชมรมสุขภาพวัยรุ่น.

11. องค์กรแพธ. (2551). คู่มือหลักสูตรเพศศึกษารอบด้าน. กรุงเทพฯ: เออร์เจนท์ แทค จำกัด.

12. อร่ามศรี กฤษณเศรณี. (2540). การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทักษะชีวิตและอนามัยเจริญพันธุ์ เพื่อส่งเสริมอนามัย การเจริญพันธุ์สำหรับกลุ่มวัยรุ่นตอนปลาย กรณีศึกษาแบบมีส่วนร่วมในสถาบันอุดมศึกษาแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร. Thai Health Promot Environ Health, หน้า 95-103.

13. Lynch, Courtney Jane . (2007). Exploring the implementation of a life skills training program for adolescents in the Texas foster care system. Dissertation, United States: The University of Texas at Austin.

14. McCollum, Shannon B. (2014). Youth Life Skill Development For 21st Century Workforce Preparedness. Dissertation, United States: North Carolina State University.