ปัจจัยการตลาดและพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่มาตลาดน้ำทุ่งบัวแดง จังหวัดนครปฐม

Main Article Content

จิรวุฒิ หลอมประโคน
ศลาฆนันท์ หงส์สวัสดิ์
รัชภร รุ่งตั้งธนาบุญ

บทคัดย่อ

     การวิจัยเรื่ององค์ประกอบของปัจจัยการตลาดต่อการท่องเที่ยวตลาดน้ำทุ่งบัวแดง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวที่ตลาดน้ำทุ่งบัวแดง 2) ศึกษาองค์ประกอบของปัจจัยการตลาดต่อการท่องเที่ยวตลาดน้ำทุ่งบัวแดง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักท่องเที่ยวที่เดินมาทางมาเที่ยวตลาดน้ำทุ่งบัวแดง จำนวน 400 คน โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยไม่ใช้ทฤษฎีความน่าจะเป็น (Non-Probability Sampling) แบบการเลือกตัวอย่างตามความสะดวก (Convenience Sampling) การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐานได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าคะแนนเฉลี่ย ( Mean ) และการวิเคราะห์องค์ประกอบของปัจจัย (Factor Analysis) สกัดปัจจัยด้วยวิธี Principal Component Analysis โดยใช้วิธีการหมุนแกนแบบ Varimax เพื่อวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรและจัดกลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยการตลาดที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวตลาดน้ำทุ่งบัวแดง กลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญภาพรวมระดับมาก ( = 3.67, S.D. = 0.836) และจากการวิเคราะห์องค์ประกอบของปัจจัยการตลาดของการท่องเที่ยวตลาดน้ำทุ่งบัวแดง พบว่าปัจจัยทางการตลาดของการท่องเที่ยวตลาดน้ำทุ่งบัวแดง ประกอบด้วย ปัจจัยด้านการคมนาคมและสิ่งอำนวยความสะดวก ปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาด ปัจจัยด้านค่าบริการและความปลอดภัย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กรมการท่องเที่ยว. (2561). นโยบายการท่องเที่ยว Supply Side ปี 2561. [Online]. เข้าถึงไดจากhttp://www.tourism.go.th/assets/portals/1/files/policy_dot.pdf

2. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). สถานการณ์การท่องเที่ยว เดือนธันวาคม ปี 2560. [Online]. เข้าถึงได้จาก https://www.mots.go.th/ewt_dl_link.php?nid=9882

3. ขนิษฐา บรมสาลี และรัฐพล สันสน. (2560). รูปแบบกลยุทธ์การตลาดเพื่อการท่องเที่ยวตลาดน้าแบบยั่งยืน. Veridian E-Journal, Silpakorn University. 10(2), 1-22.

4. คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ. (2560). เเผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2560 – 2564). [Online]. เข้าถึงได้จาก http://www.ubu.ac.th/web/files_up/03f2017052216244626.pdf

5. ชุติมา นุตยะสกุล และประสพชัย พสุนนท์. (2560). ปัจจัยการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยต่อการท่องเที่ยวตลาดน้าวัดล้าพญา จังหวัดนครปฐม. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี. 10 (1), 132 – 150.

6. ฐิติมนต์ ธนกิติเอื้ออังกูร. (2556). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกแหล่งท่องเที่ยวตลาดน้ำ. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรมม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. 1(1), 43-52.

7. เปรมทิพย์ ชมภูคำ และสุภาดา สิริกุตตา. (2559). พลังการบอกต่อออนไลน์ และปัจจัยอื่นๆ ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวประเทศในกลุ่มอาเซียนของนักท่องเที่ยวชาวไทย. วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ. 7(2), 113-132.

8. พรทิพย์ บุญเที่ยงธรรม. (2555). การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยว ความคาดหวังและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาเที่ยวตลาดน้ำในเขตตลิ่งชัน จังหวัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์กรุงเทพฯ: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

9. พรนภา ธนโพธิวิรัตน์. (2551). การเปรียบเทียบปัจจัยดึงดูดที่ส่งผลให้นักท่องเที่ยวชาวไทยท่องเที่ยวตลาดน้ำดอนหวาย และตลาดน้ำวัดกลางคูเวียง. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยนเรศวร.

10. พรรษกฤช ศุทธิเวทิน. (2559). กลยุทธ์ส่งเสรมการตลาดการท่องเที่ยวที่มีอิทธิพลต่อประชากรรุ่นแซด ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลผล.ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมการบริการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.กรุงเทพมหานคร

11. ยุทธ ไกยวรรณ. (2551). การเลือกใช้สถิติที่เหมาะสม.กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ

12. ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2561). แนวโน้มเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว ปี 2561. [Online]. เข้าถึงได้จาก http://ttaa.or.th/wp-content/uploads/2017/09/เศรษฐกิจและการท่องเที่ยว18012561.pdf

13. Kolther, Phillip. (1994). Marketing Management: Analysis, Implementation and Control. 8 th ed. New Jersey: Prentice-Hall, Inc.