รูปแบบการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวของวังสวนบ้านแก้ว

Main Article Content

อภิวรรณ ศิรินันทนา
เสาวนีย์ วรรณประภา
กรรณิกา พงษ์ชัย

บทคัดย่อ

            การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อสื่อประชาสัมพันธ์วังสวนบ้านแก้ว 2) รูปแบบการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวของวังสวนบ้านแก้ว  และ 3) การพัฒนารูปแบบการประชาสัมพันธ์ การท่องเที่ยวของ วังสวนบ้านแก้ว งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงบูรณาการ ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษามี 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 เจ้าหน้าที่ ผู้อำนวยการสำนักศิลปวัฒนธรรมและพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดจันทบุรี และมัคคุเทศก์ท้องถิ่น รวมจำนวน 4 คน ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกนำมาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยวิธีวิเคราะห์เนื้อหา และกลุ่มที่ 2 ได้แก่ นักท่องเที่ยว จำนวน 384 คน ใช้แบบสอบถามนำมาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้โปรแกรมประมวลผลวิเคราะห์ สถิติที่ใช้คือ การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการศึกษา พบว่า 1) ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อสื่อประชาสัมพันธ์วังสวนบ้านแก้ว โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) รูปแบบการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวของวังสวนบ้านแก้ว  พบว่า ผู้อำนวยการ เจ้าหน้าที่ ทุกคนในวังสวนบ้านแก้วจะต้องรับผิดชอบและปรับปรุงดูแลและพัฒนารูปแบบการประชาสัมพันธ์และสื่อประชาสัมพันธ์ ให้สอดคล้องพฤติกรรมผู้บริโภคในยุคปัจจุบัน 3) การพัฒนารูปแบบการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวของวังสวนบ้านแก้ว มีการพัฒนาดังนี้ คือวางแผนการประชาสัมพันธ์ โดยมีการกำหนดนโยบายการประชาสัมพันธ์เพื่อเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวไว้ในแผนงานประจำปี และใช้วิธีและกิจกรรมในการประชาสัมพันธ์ โดยผลิตสื่อที่หลากหลายรูปแบบและทุกช่องทางการสื่อสาร ตลอดจนจัดแผนพัฒนาการใช้สื่อ โดยปรับเปลี่ยนใช้สื่อประชาสัมพันธ์ให้เป็นไปตามฤดูกาล เพื่อให้เข้าถึงผู้บริโภคอย่างแท้จริง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. ฉัตยาพร เสมอใจ. (2551). การจัดการและการตลาดบริการ (Service marketing and management). กรุงเทพฯ :ซีเอ็ดยูเคชั่น.

2. ฉลองศรี พิมลสมพงศ์. (2550). การวางแผนและพัฒนาตลาดการท่องเที่ยว. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

3. ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2550). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. กรุงเทพฯ: วี อินเตอร์ พริ้นทร์.

4. บุณยนุช สุขทาพจน์. (2556). การใช้สื่อในการประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์วัฒนธรรม และการท่องเที่ยวไทยสู่สากล. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

5. ลักษณา สตะเวทิน. (2554). งานประชาสัมพันธ์กับการสร้างชื่อเสียงขององค์กร. วารสารนักบริหาร, 31 (ม.ค.-มี.ค. 2554): 191-197.

6. วรัชญ์ ครุจิต. (2555). โครงการศึกษากลุ่มความคิดใหม่และข้อเสนอแนะเชิงบูรณาการเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อรูปแบบเนื้อหารายการโทรทัศน์/สื่อสำหรับเด็กและเยาวชนในอนาคตของสถานีโทรทัศน์เพื่อบริการสาธารณะไทยพีบีเอส. กรุงเทพฯ: สถาบันวิชาการสื่อสาธารณะ.

7. วังสวนบ้านแก้วมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี. ประวัติความเป็นมาวังสวนบ้านแก้ว. [Online]. เข้าถึงได้จาก : available :http://www.eculture.rbru.ac.th/ID. 2560.

8. วิรัช ลภิรัตนกุล. (2552). กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ ในภาวะวิกฤต และการบริหารภาวะวิกฤต. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

9. อดิศักดิ์ จำปาทอง. (2556). การสร้างสรรค์งานประชาสัมพันธ์เพื่อประสิทธิผลด้านส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดลำปาง. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

10. อนุชิต จิตต์ธรรม. (2560, กรกฎาคม 17). มัคคุเทศก์ท้องถิ่น, จังหวัดจันบุรี. สัมภาษณ์.

11. เอกชัย แสงโสดา. (2556). การพัฒนากลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ เพื่อส่งเสริม การท่องเที่ยววิถีพุทธในเขตเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

12. Cochran, W. G. (1977). Sampling Techniques. New Delhi : Wiley Eastern.

13. Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. 5 th ed.New York : Harper Collins .Publishers.