การพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Main Article Content

ดวงเดือน วินิจฉัย
ธนวิน ทองแพง
สถาพร พฤฑฒิกุล

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลการใช้รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การวิเคราะห์เอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้บริหาร คณะครู และคณะกรรมการสถานศึกษาของโรงเรียน 2) การพัฒนารูปแบบ โดยใช้การสนทนากลุ่มแบบเจาะจงกับกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ 3) การประเมินความเหมาะสมของรูปแบบด้วยแบบสอบถามความคิดเห็น และ4) การทดลองใช้รูปแบบ เครื่องมือที่ใช้ คือ 1) คู่มือการดำเนินงาน 2) แบบสอบถามความคิดเห็นต่อผลการดำเนินงาน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการบริหารที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 4 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 ผู้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการสถานศึกษา ประกอบด้วยกลุ่มบุคคล 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) คณะกรรมการบริหารงานสถานศึกษา และ2) ผู้สนับสนุน     การบริหารงานสถานศึกษา ส่วนที่ 2 กระบวนการของการบริหารแบบมีส่วนร่วม ประกอบด้วยการมีส่วนร่วม 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ร่วมวางแผน 2) ร่วมตัดสินใจ 3) ร่วมปฏิบัติ 4) ร่วมประเมินผล และ5) ร่วมรับผลประโยชน์ ส่วนที่ 3 ขอบข่ายการบริหารงานของสถานศึกษา ประกอบด้วยกรอบภาระงาน 4 งาน ได้แก่ 1) การบริหารงานวิชาการ 2) การบริหารงานบุคคล 3) การบริหารงานงบประมาณ และ  4) การบริหารงานทั่วไป และส่วนที่ 4 เป้าหมายของการบริหารแบบมีส่วนร่วม ประกอบด้วยคุณภาพสถานศึกษา 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านนักเรียน 2) ด้านครู และ3) ด้าน การบริหารจัดการ และผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารที่พัฒนาขึ้น พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ทดลองใช้รูปแบบมีความคิดเห็นต่อผลการดำเนินงานทั้งด้านการมีส่วนร่วมและด้านผลการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x  = 4.30, S.D. = 0.47)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กันธอร กุลบุตรดี. 2561. รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของคุณภาพการจัดการศึกษา สำหรับโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในภาคตะวันออก. วารสารวิจัยรำไพพรรณี.
12 (พฤษภาคม-สิงหาคม): 71-81.

2. จรุณี เก้าเอี้ยน. 2556. ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำกับการบริหารงานตามภารกิจของผู้บริหารสถานศึกษาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. 8: 40-51.

3. จิณณวัตร ปะโคทัง. 2549. รูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนดีเด่น โรงเรียนกันทรารมณ์ จังหวัดศรีสะเกษ. ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

4. จำรูญ จับบัง. 2555. รูปแบบการพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามยุทธศาสตร์การพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

5. ธนสาร บัลลังก์ปัทมา. 2551. บทบาทประชาชนในการมีส่วนร่วมจัดการศึกษา. นิตยสาร The city Journal. 4 (มีนาคม): 30.

6. ธัชพงศ์ มีแก้ว. 2557. การบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนในกลุ่มลำเหย อำเภอดอนตูม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1. การค้นคว้าอิสระปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย
ศิลปากร.

7. ธีรศักดิ์ ปทุมราษฎร์. 2556. รูปแบบการบริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีประสิทธิผล. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

8. เพ็ญจันทร์ เอี่ยวสานุรักษ์. ความสำเร็จในการบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน บนฐานของปัจจัยเชิงปรากฏการณ์. วารสารวิจัยรำไพพรรณี. 11 (กันยายน-ธันวาคม): 74-85.

9. พิธาน พื้นทอง. 2548. ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อพัฒนาศักยภาพโรงเรียนขนาดเล็กในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

10. เมตต์ เมตต์การุณ์จิต. 2553. การบริหารจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม : ประชาชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และราชการ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : บุ๊คพอยท์.

11. ยงค์ เภาโพธิ์. 2557. การพัฒนากลยุทธ์การบริหารแบบมีส่วนร่วมในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 16 (ตุลาคม-ธันวาคม):
82-91.

12. ยุทธศิลป์ พานนนท์. (2546). การมีส่วนร่วมในการบริหารงานตามบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสระบุรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันราชภัฎจันทรเกษม.

13. วินัย ดิสสงค์. 2556. การบริหารโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาและพัฒนาผลงานทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา. กรุงเทพฯ : บริษัท 21 เซ็นจูรี่ จำกัด.

14. วีระยุทธ ชาตะกาญจน์. 2555. เทคนิคการบริหารสำหรับนักบริหารการศึกษามืออาชีพ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

15. สมเดช สีแสง. 2552. แนวทางการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนขนาดเล็ก. วารสารพัฒนาความรู้ด้านระเบียบกฎหมายและพัฒนามาตรฐานวิชาชีพครู. 17: 47-51.

16. แสงเดือน อาจหาญ. กลยุทธ์การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2. วารสารวิจัยรำไพพรรณี. 11 (กันยายน-ธันวาคม): 86-94.

17. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. 2557. นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2558. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

18. สำนักงานเลขาธิการสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ. รายงานของสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ด้านการศึกษา เรื่องการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก [Online]. https://www.parliament.go.th. 2560.

19. Cohen, J.M., and Uphoff, N.T. 1977. Rural Development Participation: Concept and Measure for Project Design Implementation and Evaluation: Rural Development Committee Center for international Studies. New York : Cornell University Press.

20. WHO/ UNICEF. 1978. Report of the International Conference on Primary Health Care. New York: N.P. Press.