การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้เทคนิควัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น ในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง ลำดับและอนุกรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ที่จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้เทคนิควัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น 2) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้เทคนิควัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น
กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 จำนวน 40 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนหนองเรือวิทยา อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 โดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) 1 ห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งเป็น 3 ประเภทคือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องลำดับและอนุกรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 15 แผน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง ลำดับและอนุกรม แบบปรนัย มี 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ 0.38 - 0.95 ค่าความยากง่ายตั้งแต่ 0.35 – 0.86 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.92 และ3) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้เทคนิควัฎจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเป็นค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ค่า t – test แบบ Dependent sample
ผลการวิจัยพบว่า
- ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ที่เรียนรู้โดยใช้เทคนิควัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ค 32102 เรื่อง ลำดับและอนุกรม มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 16.53 และ 24.20 ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนพบว่า คะแนนสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
- นักเรียนมีความคิดเห็นต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้เทคนิควัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น เรื่อง ลำดับและอนุกรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยภาพรวมว่าเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.52) เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า นักเรียนเห็นด้วยในระดับมากที่สุด 3 ลำดับแรก คือ 1) การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้เทคนิควัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น ช่วยให้นักเรียนทำงานได้อย่างมีแบบแผนและมีความรอบคอบ ( = 4.78)นักเรียนต้องการให้ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้เทคนิควัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น อีกในเนื้อหาอื่นๆ ( = 4.75) และ 3) นักเรียนมีโอกาสได้เรียนรู้และลงมือปฏิบัติจริง ( = 4.63)
Article Details
References
2. ณรงค์ฤทธิ์ ฉายา. (2552). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคิดเห็นต่อวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่องการแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง โดยการใช้สื่อประสม. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (ศึกษาศาสตร์การสอน) สาขาวิชาการสอนคณิตศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
3. ดุษฎี ยอดอ่อน. (2555). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้รูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น ที่เน้นการคิดเชิงปัญญา เรื่อง ความน่าจะเป็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
4. ธนปัตย์ ปัทมโกมล. (2556). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วนตรีโกณมิติ โดยการใช้วิธีสอนแบบ 5E ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์และความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร.
5. ประเวศ วะสี. (2554). ปฏิรูปการศึกษาไทย : ยกเครื่องทางปัญญาทางรอดจากหายนะ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.
6. ปิยะพร พรประทุม. (2555). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้วัฏจักรการเรียนรุ้ 5 ขั้น (5Es) ที่เน้นการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับจำนวนจริง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
7. ปติพล มานิสสรณ์. (2559). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้รูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น (5Es) ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ลำดับอนันต์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
8. ปัญญา เอี่ยมผ่อง. (2556). ผลการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์โดยใช้โปรแกรมเรขาคณิตพลวัต เรื่องพื้นที่ผิวและปริมาตร ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์และความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ หอวัง นนทบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
9. พิเชษฐ์ โพนสิม. (2554). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการคิดเชิงเมตาคอกนิชันในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่องสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวโดยใช้วิธีการสอนแบบ 5E สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
10. พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2558). รู้เนื้อหาก่อนสอนเก่ง การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมคุณภาพ ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
11. พุทธิพงษ์ ศุภมัสดุอังกูร. (2559). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดวิเคราะห์เรื่องภัยพิบัติทางธรรมชาติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ (5E). วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร
12. มาลัย พิมพาเลีย. (2553). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์โดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น (5E) เรื่องสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
13. โรงเรียนหนองเรือวิทยา. (2559). หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนหนองเรือวิทยา พุทธศักราช 2552(ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2559) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. ขอนแก่น : งานวิชาการ กลุ่มบริหารวิชาการ โรงเรียนหนองเรือวิทยา.
14. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2551). สรุปการศึกษาพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry cycle) เพื่อพัฒนากระบวนการคิดระดับสูง. สาขาคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
15. สมบัติ การจนารักพงศ์. (2549) . เทคนิคการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 5E ที่เน้นพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูง : กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ . กรุงเทพฯ: ธารอักษร.
16. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555 - 2559). กรุงเทพฯ:สำนักนายกรัฐมนตรี.
17. สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2556). หลักสูตรการพัฒนาศักยภาพการประเมินความสามารถด้านการคิด สำหรับครูและศึกษานิเทศก์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.
18. Clark, K., Hosticka, A., Kent, J., & Browne, R. (1998). Integrating mathematics, science, and language arts, instruction using the World Wide Web. Journal of Computers in Mathematics and Science Teaching, 17(4), 295 – 309.
19. Pavaputanon L. (2006). Design and implementation of hypermedia learning Environments that facilitate the Construction of knowledge about Analytical geometry. Doctoral dissertation of Philosophy, PAKSTEM Centre for Learning Innovation Queensland University of Technology, Australia.
20. Piaget, J. (1970). Piaget’s theory. In P.H. Mussen (ED.). Carmichael’s manual of child psychology. New York: Wiley.