มาตรการทางกฎหมายเพื่อการจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย

Main Article Content

ปภาดา ประมาณพล
สุวิทย์ นิ่มน้อย
เรืองไร สุวรรณดำรงชัย

บทคัดย่อ

            ปัจจุบันมนุษย์มีการบริโภคผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เมื่ออายุการใช้งานของผลิตภัณฑ์และสินค้าดังกล่าวหมดลง ประกอบกับพฤติกรรมการบริโภคของมนุษย์ที่มีลักษณะใช้แล้วทิ้ง จึงทำให้ผลิตภัณฑ์และสินค้าเหล่านี้กลายเป็น “ซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์” หรือเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า “ขยะอิเล็กทรอนิกส์” ซึ่งถือว่าเป็นขยะอันตรายหรือขยะมีพิษ ที่ไม่สามารถย่อยสลายตามธรรมชาติได้


            จากการศึกษาวิจัยพบว่า ในหลายประเทศแถบยุโรปตะวันตกได้มีการออกกฎหมายรองรับ เพื่อแก้ไขปัญหาข้างต้นมานานแล้ว มีประเทศกว่า 35 ประเทศ 23 มลรัฐในสหรัฐอเมริกา และ 6 รัฐ ในแคนนาดา ที่มีการออกกฎหมายว่าด้วยการจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์มาบังคับใช้ ส่วนประเทศในแถบเอเชียมีประเทศญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลีใต้ และสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ที่ได้ดำเนินการเรื่องนี้มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1990 ส่วนสาธารณรัฐประชาชนจีนได้ออกกฎหมาย (Regulations for the Administration of the recovery and disposal of waste electric and electronic products 2009) มีผลบังคับใช้ในปี พ.ศ. 2554 และสาธารณรัฐอินเดียได้ออกกฎหมาย The e-waste (Management and Handling) rules มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 ในกลุ่มประเทศอาเซียนมีเพียงสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามและราชอาณาจักรกัมพูชาเท่านั้น ที่มีกฎหมายด้านการจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์บังคับใช้  สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามนับเป็นประเทศแรกในอาเซียนที่ได้ออกกฎหมายโดยใช้หลักการขยายความรับผิดชอบของผู้ผลิต  มาใช้ในการจัดการกับขยะหรือซากผลิตภัณฑ์ที่เป็นของเสียอันตราย โดยรัฐบาลเวียดนามได้ออกกฎหมาย Decision No.50/2013 of the Prime Minister on Prescribing Retrieval and Disposal of Discarded Products มาบังคับใช้ในปี พ.ศ. 2556 และยังมีประเทศที่กำลังอยู่ในระหว่างการออกกฎหมาย เช่น สหพันธรัฐมาเลเซีย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย รวมถึงสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว หากประเทศไทย ยังคงเพิกเฉยกับการออกกฎหมาย อาจจะทำให้ประเทศไทยล้าหลังกว่าประเทศอื่น ๆ ในแถบเอเชียได้ และปัญหาดังกล่าวจะไม่ได้รับการแก้ไขอย่างถูกต้อง


            ปัญหาการจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยต้องใช้มาตรการทางกฎหมายเข้ามาช่วยในการแก้ไข ดังนั้น ภาครัฐจึงต้องเร่งบังคับใช้ร่างพระราชบัญญัติการจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. … และเพื่อให้ปัญหาดังกล่าวได้รับการแก้ไขอย่างถูกต้อง ก่อนที่จะมีการบังคับใช้กฎหมาย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องให้ข้อมูลที่ถูกต้อง แนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน แก่ประชาชน ผู้ประกอบการ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องในทุกภาคส่วน เพราะถึงแม้ว่าจะสามารถออกกฎหมายได้จริง หากประชาชนไม่เข้าใจในหลักการและเหตุผลของกฎหมายก็อาจนำไปสู่ปัญหาการไม่ให้ความร่วมมือในการส่งคืนซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ได้ และผู้วิจัยเห็นว่าการจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ถือได้ว่าเป็นปัญหาสำคัญในระดับภูมิภาคอาเซียนด้วยเช่นเดียวกัน ดังนั้นควรมีความตกลงในการแก้ไขปัญหาร่วมกันเพื่อเป็นการกำหนดแนวปฏิบัติให้แก่ประเทศสมาชิกอาเซียน ในการจัดทำกฎหมาย หรือแก้ไขกฎหมายภายในที่มีอยู่ให้สอดคล้องกัน เป็นไปในทิศทางเดียวกันเพื่อแก้ไขปัญหาร่วมกันอย่างยั่งยืน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กรีนพีซ ประเทศไทย. มหันตภัยไฮเทค. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.greenpeace.org/seasia/th/campaigns/toxics/electronics/. 2560.

2. กรมควบคุมมลพิษ. กรมควบคุมมลพิษกับการมีส่วนร่วมของประชาชน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.pcd.go.th/info_serv/info_parti.html. 2555.

3. ข่าวไทยพีบีเอส. 7 ประเทศอาเซียน เห็นชอบปรับปรุงการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://news.thaipbs.or.th/content/263852. 2560.

4. ฐานเศรษฐกิจ. กฎหมายขยะอิเล็กทรอนิกส์ กลไกใหม่บังคับผู้ผลิตซื้อคืนซากผลิตภัณฑ์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.thansettakij.com/content/269126. 2561.

5. ฐานเศรษฐกิจ. ขยะอิเล็กทรอนิกส์ล้นเมือง. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.thansettakij.com/content/286475. 2561.

6. บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน). เส้นทางสู้อนาคตที่ยังยืนของเรา. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www3.truecorp.co.th/new/sustain-environment. 2561.

7. บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน). 2559. สิ่งแวดล้อมของเรา: รายงานพัฒนาความยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร: ม.ป.ท.

8. ปเนต มโนมัยวิบูลย์ โทมัส ลิงควิสท์ และนาโอโกะ โทโจ . 2552. หลักการขยายความรับผิดชอบของผู้ผลิตในบริบทของประเทศกำลังพัฒนา การจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย.
กรุงเทพมหานคร: กรีนพีซสากล.

9. สุจิตรา วาสนาดำรงดี. ปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ (e-waste) แก้ไขได้ถ้ามีกฎหมาย. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.hsm.chula.ac.th/index.php?option=com_content&view=article&id
=328&Itemid=404. 2556.

10. สุจิตรา วาสนาดำรงดี. ร่าง พ.ร.บ. การจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (ฉบับปรับปรุงแก้ไข) : ความคาดหวังหรือความสิ้น? (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : http://thaipublica.org/2015/11/sujittra-e-waste/. 2558.

11. สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2557). โครงการยกร่างกฎหมายการจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์และของเสียอันตรายจากชุมชน. กรุงเทพมหานคร: ม.ป.ท.

12. สยามโฟน ดอท คอม. dtac และ TES-AMM จับมือจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างเป็นระบบ เสริมกลไกรัฐในการบริหารจัดการมลพิษ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://news.siamphone.com/news-29020.html. 2559.

13. EUR-lex. Directive 2009/125/EC of the European Parliament and of the Council of 21 October 2009 establishing a framework for the setting of ecodesign requirements for energy-related products
(Text with EEA relevance). [Online]. Available : http://eur-lex.europa.eu/legal-content/EN/ALL/?uri=CELEX:32009L0125. 2557.

14. European Commission. Ecodesiga. Available : http://ec.europa.eu/enterprise/policies/sustainable-business/ecodesign/index_en.htm. 2557.