การปรับตัวต่อผลกระทบจากการกัดเซาะชายฝั่งขององค์การบริหารส่วนตำบล แหลมฟ้าผ่าและชุมชน อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ

Main Article Content

ฉัตรกนก บุญญภิญโญ
จำลอง โพธิ์บุญ
วิสาขา ภู่จินดา

บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงคุณภาพเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปิดรับ/ภาวะคุกคาม ความเสี่ยง และความอ่อนไหวต่อการกัดเซาะชายฝั่ง และศึกษาผลของแผนงานและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารจัดการความเสี่ยงที่เกิดขึ้น เพื่อนำมาวิเคราะห์ความเปราะบางของพื้นที่และเสนอแนะแนวทางในการปรับตัวที่เหมาะสมขององค์การบริหารส่วนตำบลแหลมฟ้าผ่าและชุมชน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ผู้บริหารขององค์การบริหารส่วนตำบล ผู้นำชุมชนและผู้อยู่อาศัยในชุมชน จำนวน 11คน การเข้าร่วมการประชุมเพื่อวางแผนการดำเนินการแก้ไขปัญหาร่วมกันระหว่างองค์การบริหารส่วนตำบลและชุมชน การสังเกตการณ์ในพื้นที่ และการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า พื้นที่ตำบลแหลมฟ้าผ่าจัดเป็นพื้นที่ที่มีการเปิดรับ/ภาวะคุกคามสูง มีความเสี่ยงระดับ 5 คือมีความเสี่ยงที่รุนแรงมาก ต้องใช้ทรัพยากรมากและการแก้ไขปัญหามากกว่า 1 ปี มีความอ่อนไหวต่อการกัดเซาะชายฝั่งสูง องค์การบริหารส่วนตำบลมีศักยภาพและความสามารถในการรับมือกับผลกระทบจากการกัดเซาะชายฝั่งสูง โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อศักยภาพและขีดความสามารถขององค์การบริหารส่วนตำบลคือ ความไม่เพียงพอของงบประมาณและการเข้าถึงแหล่งความรู้ใหม่ ๆ ขององค์กร ชุมชนมีศักยภาพและความสามารถในการรับมือปานกลาง โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อศักยภาพและขีดความสามารถของชุมชนในการรับมือต่อผลกระทบจากการกัดเซาะชายฝั่ง คือ ความไม่เพียงพอของงบประมาณ การไม่มีแผนงานที่ชัดเจน และการเข้าถึงแหล่งความรู้ใหม่ ๆ ของชุมชนทำได้ยาก ผลการศึกษาพบว่า ชุมชนมีการปรับตัวที่ดีมากเพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกับผลกระทบที่เกิดขึ้นในพื้นที่ จากผลการศึกษาข้างต้นสามารถสรุปได้ว่าพื้นที่ตำบลแหลมฟ้าผ่าเป็นพื้นที่ที่ไม่เปราะบางแต่ควรได้รับการพัฒนาปรับตัวเพิ่มมากขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กรมทรัพยากรน้ำ. ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วม. [online]. เข้าถึงได้จาก http:// www.sut.ac.th/im/mun/ppfactor. html. 2551.
2. กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. (2556). คู่มือแนวทางปฏิบัติเบื้องต้น ความรู้กี่ยวกับชายฝั่งและการจัดการปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งและการจัดการปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งสำหรับเจ้าหน้าที่รัฐส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น. ปทุมธานี:วิสุทธิ คอนซัลแตนท์.
3. กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, ปัญญา คอนซัลแตนท์และวิสุทธิ คอนซัลแตนท์. โครงการศึกษา สำรวจและวิเคราะห์ประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมของโครงสร้างป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเลของประเทศไทย. (2555). [online]. เข้าถึงได้จาก http://slbkb.psu.ac.th/ xmlui/han dle/2558/2022.
4. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย. 2557. การลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร:สำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ.
5. จำลอง โพธิ์บุญ. (2551). องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการจัดการขยะที่ดี:ศึกษากรณีเทศบาลตำบลเทพกระษัตรี. การจัดการสิ่งแวดล้อม. 4(เมษายน): 27-65.
6. ฉัตรกนก บุญญภิญโญ. (2559). การปรับตัวต่อผลกระทบจากการกัดเซาะชายฝั่งขององค์การบริหารส่วนตำบลแหลมฟ้าผ่าและชุมชน อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
7. ดิ อิมเพลสชั่น คอนซัลแทนท์. มนุษย์สัมพันธ์สิ่งที่ขาดไม่ได้ในการทำงาน. [online]. เข้าถึงได้จาก http://www.imp ressionconsult.com/web/index.php/articles/388-article122082012.html. 2559.
8. ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล, ปราโมทย์ โศจิศุภร, ศิริวรรณ ศิริ และวินัย อวยพรประเสริฐ. บูรณาการเชิงพื้นที่เพื่อแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลจังหวัดสมุทรปราการที่เป็นต้นแบบบริเวณหาดโคลน. [online]. เข้าถึงได้จาก http://www. trf.or.th/index.php?option=com_content&view=article &id=106 0&Item id=161. 2555.
9. บุญแสง ชีระภากร. (2552). ภาวะผู้นำและการบริหารงานของผู้บริหารองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
10. ประภัสสร ทองยินดี. ภูมิปัญญาไทย:องค์ความรู้ที่มีคุณค่าและประโยชน์ต่อสังคม. [online]. เข้าถึงได้จาก http://www.s tou.ac.th/study/sumrit/10-58(500)/page3-10-58(500).html. 2558.
11. มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์. โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบบูรณาการ แก้ไขปัญหาพื้นที่จังหวัดน่านตามแนวพระราชดำริ. [online]. เข้าถึงได้จาก http://www.maefahluang.org/index.php?option=com_flexicontent &view=items&cid=35&id=73&Itemid=15&lang=th. 2553.
12. วุฒิชัย ศรีประเสริฐกุล. (2553). ผลกระทบของการกัดเซาะชายฝั่งทะเลที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงของชุมชน กรณีศึกษา ชุมชนบ้านขุนสมุทรจีน จังหวัดสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์ปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตร์(การวางแผนภาคและเมือง) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
13. ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ศูนย์เครือข่ายงานวิเคราะห์วิจัยและฝึกอบรมการเปลี่ยนแปลงของโลกแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2554). การศึกษาด้านผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศในอนาคตและการปรับตัวของภาคส่วนที่สำคัญ. เอกสารงานวิจัย. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
14. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. ประเมินวิเคราะห์ความเสี่ยงและจัดลำดับความเสี่ยง. [online]. เข้าถึงได้จาก http://www.cca.kmitl.ac .th/manual/0004.html. 2557.
15. สมศักดิ์ สุนทรวนภัทร. แนวทางการฟื้นฟูป่าชายเลนโดยชุมชน. [online]. เข้าถึงได้จาก http://cmsdata.Iucn.org/ downloads/magrove_rehabilitation_by_community.pdf. 2559.
16. อรทัย ก๊กผล. (2552). การมีส่วนร่วมของประชาชนสำหรับผู้บริหารท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร: ส เจริญ การพิมพ์.