แนวทางการพัฒนาการจัดกิจกรรมนักศึกษาในการเตรียมพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน

Main Article Content

ธันวดี ดอนวิเศษ
พัชรินทร์ รุจิรานุกูล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการจัดกิจกรรมนักศึกษา และหาแนวทางพัฒนาการจัดกิจกรรมนักศึกษาในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ดำเนินการวิจัยโดยใช้แบบสอบถาม และการสนทนากลุ่ม เพื่อรวบรวมคิดเห็นของนักศึกษา คณาจารย์และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี โดยใช้สถิติบรรยาย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการสนทนากลุ่ม เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลตามประเด็นที่กำหนด ด้วยการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการศึกษาแนวทางการพัฒนาการจัดกิจกรรมนักศึกษาในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ได้แก่ การพิจารณาปรับปรุงวิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์และเป้าหมาย ประเภทของกิจกรรมนักศึกษา งบประมาณกิจกรรมนักศึกษา ตลอดจนระเบียบ ข้อบังคับของมหาวิทยาลัยในการดำเนินงานกิจกรรมนักศึกษาให้มีความสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะการปรับให้สอดคล้องกับปฏิญญาอาเซียนด้านการศึกษา การพัฒนากิจกรรมนักศึกษาให้เกิดอัตลักษณ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด การส่งเสริมด้านกีฬาในอาเซียน กิจกรรมการอนุรักษ์ด้านศิลปวัฒนธรรมไทย และเตรียมความพร้อมด้านทักษะอาชีพ ความเชี่ยวชาญให้กับนักศึกษา เพื่อรองรับและให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ. 2552. บันทึกการเดินทางอาเซียน. กรุงเทพมหานคร: วิธิแอนิเมชั่น.
2. ขวัญชัย พะยอม. 2550. แนวทางการพัฒนาการจัดกิจกรรมนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต.บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
3. จิรวัฒน์ วีรังกร. 2546. “ทิศทางการพัฒนานักศึกษามหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต บนเส้นทางปฏิรูปการเรียนรู้,” ในเอกสารประกอบการสัมมนาโครงการอาจารย์ที ปรึกษากิจกรรม นักศึกษา. หน้า 3- 4. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต.
4. ชูชีพ ประทุมเวียง. 2547. รูปแบบการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาพฤติกรรมประชาธิปไตยสำหรับนักศึกษาสถาบันราชภัฏ. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.
5. ธิดารัตน์ บุญนุช. 2539. การส่งเสริมนิสิตนักศึกษาในการพัฒนาตนเอง. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์
6. พรรณพร อังคสุภณ. 2549. การพัฒนาตนเองของนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหงที่เข้าร่วมกิจกรรมและไม่เข้าร่วมกิจกรรม. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
7. วิชัย ลุนสอน. 2555. ทัศนคติของนักศึกษาที่มีต่อรูปแบบการจัดกิจกรรมของสโมสรนักศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
8. ศรีสุข มงกุฎวิสุทธิ์. 2551. รูปแบบกิจกรรมนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในทัศนะของผู้นำกลุ่มกิจกรรมนักศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคมสังเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: สาขาการบริหารและนโยบายสวัสดิการสังคม คณะสังคมสงเคราะห์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
9. สำเนาว์ ขจรศิลป์ และบุญเรียง ขจรศิลป์. 2531. รายงานการวิจัยเรื่องความคิดเห็นของนักศึกษาและผู้บริหารฝ่ายกิจการนักศึกษา เกี่ยวกับการประชุมเชียร์และการต้อนรับน้องใหม่ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ขอนแก่น เชียงใหม่ และสงขลานครินทร์.ทบวงมหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ
10. Frederick, H. Mueller. 1961 .Student activities in American education. New York: The Center for Applies Research in Education Inc.
11. Jamias, Camelo J. 1969. Student Extra – Curriculum Activities and Public Relations, in Student, Problem in Southeast Asian University. Malaysia : University of Malaya.