การประเมินมาตรฐานสถานที่จำหน่ายอาหาร : กรณีศึกษาโรงอาหารวิทยาลัยเทคโนโลยีสุขภาพและบริการกรุงเทพฯ

Main Article Content

ปัญจ์ปพัชรภร บุญพร้อม
อินจิรา นิยมธูร
บุญส่ง ไข่เกษ

บทคัดย่อ

การประเมินมาตรฐานสถานที่จำหน่ายอาหาร กรณีศึกษาโรงอาหารวิทยาลัยเทคโนโลยีสุขภาพและบริการกรุงเทพฯ เป็นการศึกษาวิจัยเชิงสำรวจ(Survey Research) โดยมีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อทราบระดับความรู้ด้านสุขาภิบาลอาหารของผู้สัมผัสอาหารภายในวิทยาลัยเทคโนโลยีสุขภาพและบริการกรุงเทพ 2. เพื่อตรวจประเมินการสุขาภิบาลอาหารของร้านอาหารภายในวิทยาลัยเทคโนโลยีสุขภาพและบริการกรุงเทพและ 3. เพื่อศึกษาการปนเปื้อนของโคลิฟอร์มแบคทีเรียและสารพิษในอาหารของโรงอาหารวิทยาลัยเทคโนโลยีสุขภาพและบริการกรุงเทพฯ ผลการศึกษาพบว่า ด้านความรู้ผู้สัมผัสอาหารมีความรู้เรื่องสุขาภิบาลอาหารและตามข้อกำหนดด้านสุขาภิบาลอาหาร สำหรับร้านอาหารหลังการฝึกอบรมผู้สัมผัสอาหารมีความรู้โดยรวมและแยกเป็นรายด้าน 5 ด้านอยู่ในระดับดี ผลการตรวจสอบด้านสุขาภิบาลอาหารภายในวิทยาลัยเทคโนโลยีสุขภาพและบริการกรุงเทพ ฯ พบว่าก่อนการอบรมมีร้านอาหารไม่ได้มาตรฐานร้อยละ 100 หลังการอบรมด้านการสุขาภิบาลอาหาร พบว่า ร้านจำหน่ายอาหารมีมาตรฐานอยู่ในระดับดี คิดเป็นร้อยละ 100 หัวข้อที่ร้านอาหารภายในโรงงานไม่ผ่านเกณฑ์ ได้แก่ หัวที่ 14. น้ำแข็งที่ใช้บริโภคต้องสะอาด เก็บในภาชนะที่สะอาดมีฝาปิด มีอุปกรณ์สำหรับคีบหรือตักน้ำแข็งที่มีด้ามยาวโดยเฉพาะ วางสูงจากพื้นอย่างน้อย 60 เซนติเมตร 22. ใช้ถังขยะที่ไม่รั่วซึมและมีฝาปิดมิดชิด 24. ไม่มีบ่อตักเศษอาหารและดักไขมันในโรงอาหาร ส่วนการปนเปื้อนของโคลิฟอร์มแบคทีเรียและสารพิษในอาหาร พบว่า ก่อนการอบรมด้านการสุขาภิบาลอาหาร มีการตรวจพบการปนเปื้อนของเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรีย สารบอแรกซ์ สารฟอกขาวในอาหาร ร้อยละ 83.33 ร้อยละ 10 และร้อยละ 10 ตามลำดับ ส่วน สารกันราและสารฟอร์มาลินในอาหารตรวจไม่พบการปนเปื้อน และภายหลังการอบรมด้านการสุขาภิบาลอาหารแล้ว พบว่า มีการตรวจพบการปนเปื้อนของเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียในอาหาร เป็นร้อยละ 25 ส่วนสารบอแรกซ์ สารฟอกขาว สารกันราและสารฟอร์มาลินในอาหารตรวจไม่พบการปนเปื้อน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กฤษณี วิชิตะกุล. (2548). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการได้มาตรฐานอาหารสะอาด รสชาติอร่อยของสถานประกอบการจำหน่ายอาหาร จังหวัดชุมพร. สาขาโรคติดเชื้อและวิทยาการระบาด มหาวิทยาลัยมหิดล.
2. ชูศิลป์ เสนาวงศ์. (2551). ผลของการใช้กระบวนการอบรมแบบมีส่วนร่วมที่มีต่อความรู้ การปฏิบัติของผู้ประกอบการร้านอาหาร คุณภาพอาหารของร้านอาหาร และความพึงพอใจของผู้บริโภคต่อร้านอาหาร อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม. งานวิจัยปริญญานิพนธ์ สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
3. ธีระ ทัฬหวนิช. (2543). รูปแบบการดำเนินงานสุขาภิบาลอาหาร ร่วมกับแรงเสริมโดยสาธารณสุขอำเภอ ต่อสภาวะการณ์ด้านสุขาภิบาลอาหารของแหล่งท่องเที่ยว ปีท่องเที่ยวไทย จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม. ปีที่ 23, ฉบับที่ 2
4. นภพรรณ นันทพงษ์, นิธิมา เคารพครู, สุชาติ สุขเจริญ และอังคณา คงกัน. (2551). การศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสุขลักษณะอาหารในศูนย์เด็กเล็ก. กลุ่มพัฒนาวิชาการและมาตรฐานด้านสุขาภิบาลอาหาร. กองสุขาภิบาลอาหารและน้ำ. กรมอนามัย.
5. สละ ชูจงกล, ลินจง บ่อหิรัญรัตน์, สุรีย์ วงศ์ปิยชน และภาคภูมิ องค์สุริยานนท์. (2542). การวิเคราะห์ และการแก้ปัญหางานสุขาภิบาลอาหาร ของศูนย์อาหาร ตามห้างสรรพสินค้า ในเขต กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล. วารสารการส่งเสริมสุขภาพ และอนามัยสิ่งแวดล้อม. ปีที่ 22, ฉบับที่ 1
6. สิรินาถ ชุมพาที. (2550). การศึกษาการตรวจวิเคราะห์สารบอแรกซ์ และสารฟอกขาวที่ปนเปื้อนในอาหาร และการตรวจสอบความสะอาดของภาชนะสัมผัสอาหารของร้านค้า ณ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร. งานวิจัยปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
7. วิมลศักดิ์ ปริยงค์. (2547). การสุขาภิบาลอาหารของโรงอาหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดบุรีรัมย์ ปี พ.ศ. 2547. งานวิจัยปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
8. อัญชนา โสภณ. (2545). สภาวะสุขาภิบาลอาหารของร้านอาหาร Clean Food Good Taste เทศบาลนครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา.งานวิจัยปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
9. อุดม วรโคตร. (2541). สภาวะการสุขาภิบาลอาหาร ในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดสกลนคร. วารสารการส่งเสริมสุขภาพ และอนามัยสิ่งแวดล้อม. ปีที่ 21, ฉบับที่ 4.