เครื่องผลิตสบู่สมุนไพรขนาดเล็กกึ่งอัตโนมัติสำหรับชุมชน

Main Article Content

คมสัน มุ่ยสี
วยากร อุดมโภชน์
กฤษณะ จันทสิทธิ์

บทคัดย่อ

 วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เป็นการพัฒนาระบบควบคุมกึ่งอัตโนมัติเพื่อประยุกต์ใช้กับเครื่องผลิตสบู่สมุนไพรขนาดเล็กกึ่งอัตโนมัติสำหรับชุมชน  เครื่องผลิตสบู่ประกอบด้วย ถังกวนผสม (เส้นผ่านศูนย์กลาง 40 เซนติเมตร สูง 50 เซนติเมตร ปริมาตรความจุสูงสุด 50 ลิตร) ที่ติดตั้งด้วยระบบควบคุมกึ่งอัตโนมัติฟัซซี่ลอจิกเพื่อควบคุมการเติมผงสมุนไพร ผู้ใช้สามารถเลือกชนิดของผงสมุนไพรที่ต้องการผ่านคอนแทคสวิตซ์ ซึ่งทำหน้าที่ส่งแรงดันไฟฟ้าไปยังหน่วยประมวลผล และประมวลผลโดยใช้โปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์ (OMRON SYSTEM CP1E) แล้วส่งสัญญาณไปควบคุมการทำงานของมอเตอร์ในการกวนกลีเซอรีนกับผงสมุนไพร หลังจากมอเตอร์หยุดการทำงานโซลีนอยด์วาล์วทำหน้าที่ควบคุมการเทส่วนผสมสบู่สมุนไพรจากถังกวนสู่แม่พิมพ์สบู่

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. พรสวรรค์ ดิษยบุตร และคณะ. 2543. สมุนไพร การใช้อย่างถูกวิธี. ซีเอ็ดยูเคชั่น, กรุงเทพมหานคร. หน้า 13-18
2. ภานุทรรศน์: 2544. คู่มือผลิตเครื่องสำอาง สูตรสุมนไพรด้วยตนเอง. สำนักพิมพ์หอสมุดกลาง 09. กรุงเทพมหานคร. หน้า 27.
3. มาตรฐานสมุนไพรไทย เล่ม 1 2544. สถาบันวิจัยสมุนไพรกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข,กรุงเทพมหานคร. หน้า 7-8
4. มาตรฐานสมุนไพรไทย เล่มที่ 2 2544..สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข,กรุงเทพมหานคร.หน้า 28
5. สมฤทัย จิตภักดีบดินทร์: 2545.เครื่องสำอางในชีวิตประจำวัน. ในเครื่องสำอางที่ใช้ทำความสะอาด. ภาควิชาเทคโนโลยีเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์,สงขลา. หน้า 27-30
6. คู่มือผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางเพื่อเศรษฐกิจชุมชน. 2545.สำนักงานคณะกรรมการอาหาร และยากระทรวงสาธารณสุข, กรุงเทพมหานคร. หน้า10
7. สมุนไพรพืชถอนพิษ.อ้างเมื่อ 4 มกราคม 2547สืบค้นจาก URL:http ://www.pixiart.com/archives/herb/
8. ณัฐพล วงศ์สันทรชัย, ชัยวัฒน์ ลิ้มพรจิตรวิไล., พ.ศ. 2547 “เรียนรู้และปฏิบัติการไมโครคอนโทรลเลอร์ PIC16F877A” บริษัท อินโนเวตีฟ เอ็กเพอริเมนต์ จำกัด
9. ฐาปวีส์ คงสุข: 2553. สมุนไพรให้ความงาม.พิมพ์ครั้งที่ 2. จำเนียร พลสวัสด์ิ บรรณาธิการ,ประพันธ์สาสน์,กรุงเทพมหานคร. หน้า 51-77
10. วศิน สารวิทย์., พ.ศ. 2548., “การควบคุมหลายตัวแปรของระบบปรับอากาศโดยใช้ฟัซซี่ลอจิก”, วิทยานิพนธ์ วิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังมหาบัณฑิต
11. เวคิน ปิยรัตน์., พ.ศ 2542 เครื่องจักรกลไฟฟ้า 1. ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์
12. คมกฤช รามนัฏ, อำนาจ กาศักดิ์, สิทธิชัย บุญปิยทัศน์, เสถียร ธัญญศรีรัตน์, เทียนชัย สุขศรี 2550 “การควบคุมอุณหภูมิของกระบวนการเตาอบด้วยตัวควบคุมฟัซซีลอจิก” การประชุมวิชาการเครือข่ายวิศวกรรมเครื่องกล
แห่งประเทศไทยครั้งที่ 21
13. Timothy J. Ross 1995 “ Fuzzy logic with engineering application” New York : McGraw- Hill.
14. Masnori Arima., Elmer H., Hara., Jack D.Katzberg., 1995 “A fuzzy Logic and Rough Sets Controller for HVAC System”.IEEE WESCANEX’ 95 PROCEEDING
15. Maher Hamdi., Gerard Lachiver., 1998 “A Fuzzy Control System based on the Human Sensation of Thermal Comfort” .pp.487-492.IEEE.
16. Jun Yan., Michael Ryan., James Power., 1994 Using Fuzzy Logic. Prentice Hall.
17. Dumiter Driankov., Hans Hellendoorn., Michael Reinfrank., 1993 ”An Introduction to Fuzzy Control”.Springer-Verlag Berlin Heidelberg.
18. Masnori Arima., Elmer H.,Hara., Jack D.Katzberg., 1995 “ A Fuzzy Logic and Rough Sets Controller for HVAC System” IEEE WESCANEX’ 95 PROCEEDING