การเสริมสร้างพลังอำนาจของเยาวชนต่อการอนุรักษ์แหล่ง ท่องเที่ยวมรดกโลกทางวัฒนธรรม: กรณีศึกษาอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

กมลวรรณ วรรณธนัง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการเสริมสร้างพลังอำนาจของเยาวชนต่อการอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวมรดกโลกทางวัฒนธรรม: กรณีศึกษาอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา และ2) เปรียบเทียบการเสริมสร้างพลังอำนาจของเยาวชนต่อการอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวมรดกโลกทางวัฒนธรรม: กรณีศึกษาอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ เยาวชนที่ศึกษาในสถาบันการศึกษาในเขตอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา จำนวน 380 คน โดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม   สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบด้วยค่าสถิติที  การทดสอบด้วยค่าสถิติเอฟ และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่โดยการทดสอบด้วยวิธีแอล เอส ดี กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการศึกษาพบว่า 1) การเสริมสร้างพลังอำนาจของเยาวชนต่อการอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวมรดกโลกทางวัฒนธรรม: กรณีศึกษาอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา   ภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน เรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การสนับสนุน การสร้างความคิด และการเสริมแรง และ 2) การเสริมสร้างพลังอำนาจของเยาวชนต่อการอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวมรดกโลกทางวัฒนธรรม: กรณีศึกษาอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาจำแนกตามระดับการศึกษาและเกรดเฉลี่ย ภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. ขวัญจิตร โกพลรัตน์. (2555). การเสริมพลังอำนาจวัยรุ่นเพื่อพัฒนาโครงการป้องกันการสูบบุหรี่ในโรงเรียน. การศึกษาอิสระ ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
2.ไขแสง ศุขะวัฒนะ. (2530). การอนุรักษ์โบราณสถานและงานสถาปัตยกรรมที่มีคุณค่าทางวัฒนธรรม. เอกสารประกอบการบรรยายสัมมนาเรื่อง การอนุรักษ์โบราณสถานในฐานะหลักฐานทางวิชาการ วันที่ 6-7 สิงหาคม 2530 เอกสารหมายเลข 6. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
3. ธีราพร ทองปัญญา. (2557). กระบวนการเสริมพลังอำนาจแบบมีส่วนร่วมเพื่อสร้างจิตสำนึกในการพัฒนาชุมชนของเยาวชน. ดุษฎีนิพนธ์สาขาวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และชุมชน ภาควิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และชุมชนมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
4. วรรณิภา สันป่าแก้ว และชื่นชนก โควินท์. (2557). แนวทางการเสริมสร้างจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์พลังงานของเยาวชน.
วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา. 9(เมษายน): หน้า 462-475.
5. ศศิปภา ทิพย์ประภา. (2557). รายงานการวิจัยเรื่องการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนต่อการอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวมรดกโลกทางวัฒนธรรม: กรณีศึกษาอุทยานประวัติศาสตร์ ภายในบริเวณเกาะเมือง จังหวัพระนครศรีอยุธยา.มหาวิทยาลัยราชภัพระนครศรีอยุธยา.
6. ศิริสุข นาคะเสนีย์, ชุลี ปัญจะผลินกุล และศศิวิมล โมอ่อน. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมจิตสาธารณะของนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์. วารสารวิจัยรำไพพรรณี. 9(ตุลาคม): หน้า 80-90.
7. อติพร ทองหล่อ. (2546). รูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจของอาจารย์พยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก. วิทยานิพนธ์ ปริญญาครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาอุดมศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
8. อิชยา จีนะกาญจน์และสุวรี ศิวะแพทย์. (2554). ผลการใช้เทคนิคการเสริมแรงด้วยกิจกรรมต่อพฤติกรรมความไม่ใส่ใจการเรียน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 5(เมษายน): หน้า195-203.