คุณภาพการให้บริการขนส่งสินค้าบริษัท โคไชน่าเฟรท ไทยแลนด์ จำกัด

Main Article Content

ธันวา เนตยพันธ์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) คุณภาพการให้บริการขนส่งสินค้า 2) ระดับความพึงพอใจการให้บริการ 3) เปรียบเทียบความพึงพอใจการให้บริการและ 4) ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพการให้บริการขนส่งสินค้ากับความพึงพอใจการให้บริการของบริษัท โคไชน่าเฟรท ไทยแลนด์ จำกัดประชากรในการศึกษาคือลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการขนส่งสินค้าของบริษัท โคไชน่าเฟรท ไทยแลนด์ จำกัด โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษา และนำข้อมูลที่รวบรวมได้ประมวลผลโดยใช้ค่าสถิติร้อยละและค่าเฉลี่ยการทดสอบสมมติฐานแบบ T- test ,F-test ( One-Way ANOVA ) , Pearson Product Moment Correlation และ Multiple Regression Analysis


ผลการศึกษาพบว่าจากการศึกษาผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 80 คนพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 26-30 ปี มีการศึกษาระดับปริญญาตรี ตำแหน่งงาน เจ้าหน้า import/export มีอายุงาน 5-10 ปี ปัจจัยด้านคุณภาพการให้บริการขนส่งสินค้าของบริษัท โคไชน่าเฟรท ไทยแลนด์ จำกัด ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ความพึงพอใจในการให้บริการอยู่ในระดับมาก ข้อมูลส่วนบุคคล ด้านเพศ อายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่งงาน และอายุงานที่แตกต่างกันมีความพึงพอใจในการบริการ ไม่แตกต่างกัน คุณภาพการให้บริการขนส่งสินค้า ด้านความเป็นรูปธรรมของบริการ ด้านความเชื่อถือไว้วางใจได้ ด้านการตอบสนองต่อผู้รับบริการ ด้านการให้ความเชื่อมั่นต่อผู้รับบริการ และด้านการเข้าใจการรับรู้ความต้องการของผู้รับบริการ มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในการให้บริการมีความสัมพันธ์อยู่ในระดับสูง ทิศทางเดียวกันคุณภาพการให้บริการขนส่งสินค้า มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการให้บริการด้านความน่าเชื่อถือ พนักงานมีความรู้ความสามารถในการให้บริการอย่างมืออาชีพ ด้านการเอาใจใส่รับรู้ในการให้บริการ ในเรื่อง พนักงานมีการแจ้งหรือรายงานตลอดระหว่างการให้บริการมีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการให้บริการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


                   ข้อเสนอแนะจากการศึกษา ผู้ให้บริการควรให้ความสำคัญกับการคัดเลือกพนักงานที่มีความรู้ความสามารถในการให้บริการอย่างมืออาชีพ ให้ความรู้ที่ทันสมัยกับพนักงานให้สามารถตอบคำถามและให้คำแนะนำที่ถูกต้องแก่ลูกค้า จัดเครื่องทุ่นแรงและอุปกรณ์ช่วยในการยกขนสินค้าที่ทันสมัยเพื่อการให้บริการที่รวดเร็ว กำหนดให้พนักงานสวมเครื่องป้องกันความปลอดภัยในการยกขนและกำกับให้พนักงานมีการปฏิบัติหน้าที่อย่างสุภาพและการแต่งกายที่เป็นเอกลักษณ์ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1, อรทัย โอภาศศักดากุล (2544).ใบตราส่งอีเล็กทรอนิกส์ สาขาวิชากฎหมายธุรกิ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
2. ปณิศา ลัญชานนท์.(2548). หลักการตลาด. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ธรรมสาร, 2548.
3. อดุลย์ จาตุรงคกุล. (2539). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
4. สุมนา อยู่โพธิ์. (2544). ตลาดบริการ. กรุงเทพฯ: บิ๊กโฟร์เพรส.
5.ฉัตยาพร เสมอใจ. (2549). การบริหารการตลาด. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
6. ศรัณยพงศ์ เที่ยงธรรม. (2552). คุณภาพการบริการ (Service Quality).
7. Parasuraman, A., Zeithaml, V. A. & Berry, L. L. (1985). A Conceptual Model of Service
8. Quality and Its Implications for Future Research. Journal Of Marketing, 49, pp. 41 - 50.
9. ทันดร ธนะกูลบริภัณฑ์. (2552). คู่มือจัดองค์ความรู้ มาตรฐานการให้บริการ สำนักการศึกษาต่อเนื่อง. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
10. สามารถ, ยิ่งกำแหง . (2553). แนวทางการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของชาวบ้านหินหล่องในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลตะเคียน อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา.นครราชสีมา : คลังปัญญา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
11. คำนาย อภิปรัชญาสกุล (2553). การจัดการขนส่ง : โฟกัสมีเดียแอนด์ พับลิชชิ่ง,2551
12. วิทยา สุหฤทดำรง (2550). การจัดการความเสี่ยงในโซ่อุปทาน : การบริหารความเสี่ยงการจัดการความเสี่ยงการบริหารงานโลจิสติกส์:อินดัสเทรียล เทคโนโลยี รีวิว (Industrial technology review). ปีที่ 13 ฉบับที่ 166 (มิ.ย. 2550) หน้า 143-146
13. กมลชนก สุทธิวาทนฤพุฒิ. (2548.7). การจัดการโลจิสติกส. กรุงเทพฯ: พิมพ์ท้อป
14.วิโรจน์ พุทธวิถี.(2547).การกระจายสินค้า.กรุงเทพฯ : บริษัทซีเอ็ด ยูเคชั่น จำกัด
15. ยุพิน ใจมีสุขทุกเพลา (2560).ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการที่มีต่อคุณภาพการให้บริการขนส่งของ บริษัท บริษัท บี.เอช. ไทยเอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด. มหาวิทยาลัยเซาธ์อีลท์บางกอก
16. ชุมพร แย้มโอษฐ์ (2555).คุณภาพการให้บริการขนส่งของบริษัท ปานทองทรานสปอร์ต จำกัด มหาวิทยาลัย. เซาธ์อีลท์บางกอก
17. สุภรัตน์พูลสวัสดิ์ (2559). การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของแผนกเอกสารขาออกกรณีศึกษาสายเรือแห่งหนึ่งในแหลมฉบัง.http://digital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/56920061.pdf
มหาวิทยาลัยบูรพา
18. ภัควัฒน์ อินทรวงษ์โชติ (2556). คุณภาพการให้บริการของผู้ประกอบการโลจิสส์ติกส์ในประเทศไทย และลาว. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
19.เบญจพร สุวรรณแสนทวี(2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกผู้ให้บริการในการขนส่งโลจิสติกส์ ของผู้ประกอบการธุรกิจอาหารในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ