ความเสี่ยงด้านสภาพคล่องทางการเงินที่มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพและศักยภาพของธุรกิจ SMEs ในเขตเศรษฐกิจการค้าชายแดนภาคตะวันออกจังหวัดจันทบุรี

Main Article Content

ทัศนัย ขัตติยวงษ์
ละเมียด ควรประสงค์
ทิพวรรณ์ นิยมวงศ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และประเมินแนวทางการจัดการความเสี่ยงด้านสภาพคล่องทางการเงินที่มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพและศักยภาพการดำเนินงานของธุรกิจ SMEs ในเขตเศรษฐกิจการค้าชายแดนภาคตะวันออกจังหวัดจันทบุรี โดยกลุ่มตัวอย่างคือผู้ประกอบการในเขตการค้าชายแดนจังหวัดจันทบุรีจำนวน 313 คน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม และทำการวิเคราะห์การหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าความสัมพันธ์โดยใช้วิธีสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Pearson correlation)และวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงานของธุรกิจ SMEs ในระดับปานกลางประกอบด้วยปัจจัยต่างๆดังต่อไปนี้ 1) ความเสี่ยงต่อความขาดแคลนเงินทุนหมุนเวียน 2) ความเสี่ยงของการได้มาและใช้ไปของเงินสด/เงินทุนหมุนเวียน 3) ความเสี่ยงของแหล่งเงินกู้ในการให้กู้ยืมระยะสั้นและแหล่งเงินทุนอื่นๆ4) ความเสี่ยงของการบริหารเงินกู้ระยะสั้นและแหล่งเงินทุนอื่นที่นำมาลงทุนในสินทรัพย์ 5) ความเสี่ยงในการบริหารสภาพคล่องและ 6) ความเสี่ยงของผลการดำเนินงานด้านสภาพคล่อง


งานวิจัยนี้พบว่าค่าความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิภาพและศักยภาพของผลการดำเนินงานของธุรกิจ SMEs มีความสัมพันธ์ทิศทางเดียวกัน(มีค่าเป็นบวก)ในระดับสูงมาก(.913) กับปัจจัยความเสี่ยงของผลการดำเนินงานด้านสภาพคล่องผลการวิจัยยังพบว่าค่าความสัมพันธ์ประสิทธิภาพและศักยภาพของผลการดำเนินงานของธุรกิจ SMEs มีความสัมพันธ์ทิศทางเดียวกัน(มีค่าเป็นบวก)ในระดับสูง(0.763-0.891)กับปัจจัยต่างๆ ดังต่อไปนี้ 1) ความเสี่ยงต่อความขาดแคลนเงินทุนหมุนเวียน 2) ความเสี่ยงของการได้มาและใช้ไปของเงินสด/เงินทุนหมุนเวียน 3) ความเสี่ยงในการบริหารสภาพคล่อง4) ความเสี่ยงของแหล่งเงินกู้ในการให้กู้ยืมระยะสั้นและแหล่งเงินทุนอื่นๆ และ 5) ความเสี่ยงของการบริหารเงินกู้ระยะสั้นและแหล่งเงินทุนอื่นที่นำมาลงทุนในสินทรัพย์ตามลำดับอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 นอกเหนือจากนี้ผลการวิจัยยังตรวจสอบพบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลและส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพและศักยภาพการดำเนินงานของธุรกิจ SMEs ในเขตเศรษฐกิจการค้าชายแดนภาคตะวันออกจังหวัดจันทบุรีได้ถึงร้อยละ 90.7 คือปัจจัยด้าน 1) ความเสี่ยงของผลการดำเนินงานด้านสภาพคล่อง 2) ความเสี่ยงของแหล่งเงินกู้ในการให้กู้ยืมระยะสั้นและแหล่งเงินทุนอื่นๆ 3) ความเสี่ยงในการบริหารสภาพคล่อง 4) ความเสี่ยงของการบริหารเงินกู้ระยะสั้นและแหล่งเงินทุนอื่นนำมาลงทุนในสินทรัพย์ 5) ความเสี่ยงต่อความขาดแคลนเงินทุนหมุนเวียน โดยแสดงค่าเป็นโมเดลทางคณิตศาสตร์ได้ดังนี้


Y = 0.174X1 + 0.075X2 + 0.345X3 + 0.266X4 + 0.222X5


Y     = ประสิทธิภาพและศักยภาพของผลการดำเนินงานด้านสภาพคล่องของธุรกิจSMEs


X1     = ความเสี่ยงของผลการดำเนินงานด้านสภาพคล่อง


X2    = ความเสี่ยงของแหล่งเงินกู้ระยะสั้นและแหล่งเงินทุนอื่นๆ


X3     = ความเสี่ยงในการบริหารสภาพคล่อง


X4    = ความเสี่ยงของการบริหารเงินกู้ระยะสั้นและแหล่งเงินทุนอื่นนำมาลงทุนในสินทรัพย์


X5    = ความเสี่ยงต่อความขาดแคลนเงินทุนหมุนเวียน


ส่วนแนวทางการจัดการความเสี่ยงด้านสภาพคล่องที่เกี่ยวกับการขาดแคลนเงินทุนหมุนเวียนของผู้ประกอบการ SMEs ในเขตเศรษฐกิจการค้าชายแดนภาคตะวันออกระหว่างไทย – กัมพูชาจังหวัดจันทบุรีนั้น ผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs ได้มีแนวทางการจัดการความเสี่ยงด้านสภาพคล่องทางการเงินของตนเองด้วยวิธีการยอมรับและการลดความเสี่ยงโดยกำหนดวิธีการแก้ไขปัญหาความเสี่ยงด้านสภาพคล่องทางการเงินตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นไปตามโอกาสและเหตุการณ์นั้นๆ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1.กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์. (2562). สถิติการค้าชายแดนและการค้าผ่านแดนของประเทศไทย ปี 2559 – 2561. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dft.go.th/bts/. 15 ตุลาคม 2561.
2.คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง. (2555). คู่มือการบริหารความเสี่ยง (Risk Management). ฉบับปรับปรุง 2555. กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
3. ชุติสร เรืองนาราบ. (2560). การค้าชายแดนของไทยโอกาสและการปรับตัว Border Trade Thailand’s Opportunity and Adaptation. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ วารสารเศรษฐศาสตร์รามคำแหง คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ประจำปี 2560 (ปีที่.s ฉบับที่.s 2561):43-48
4.ณภัทร วิไลสกุลยง. (2553). ความแข็งแกร่งทางการเงินของธุรกิจ SMEs. วารสาร For Quality Magazine สมาคมส่งเสริมไทยญี่ปุ่น. ปีที่ 17 (ฉบับที่ 151 เดือนพฤษภาคม 2553):77-79
5.นวพร เรืองสกุล. (2551). กรอบโครงสร้างการบริหารความเสี่ยงขององค์กรเชิงบูรณาการ: แนวทางการปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พลบลิชชิ่ง จำกัด(มหาชน).
6.ทัศนัย ขัตติยวงษ์ ละเมียด ควรประสงค์ และทิพวรรณ์ นิยมวงศ์. (2561). ความเสี่ยงด้านสภาพคล่องทางการเงินที่มีผลกระทบต่อการพัฒนาศักยภาพของธุรกิจ SMEs ในเขตเศรษฐกิจการค้าชายแดนภาคตะวันออกจังหวัดสระแก้ว. งานประชุมวิชาการระดับชาติวิจัยรำไพพรรณี ครั้งที่ 12 เนื่องในวโรกาสคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ครบ 114 ปี.มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
7.ทัศนัย ขัตติยวงษ์ ละเมียด ควรประสงค์ และทิพวรรณ์ นิยมวงศ์. (2561). ความเสี่ยงด้านสภาพคล่องทางการเงินที่มีผลกระทบต่อการพัฒนาศักยภาพของธุรกิจ SMEs ในเขตเศรษฐกิจการค้าชายแดนภาคตะวันออกจังหวัดสระแก้วและจันทบุรี. จันทบุรี. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
8.สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2558). กรณีศึกษาผู้ประกอบการธุรกิจการค้าชายแดนที่ประสบความสำเร็จ โครงการจัดทำมาตรการส่งเสริมและเพิ่มศักยภาพ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในพื้นที่ชายแดน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.sme.go.th/upload/mod_download/กรณีศึกษาผู้ประกอบการธุรกิจการค้าชายแดนที่ประสบความสำเร็จ.pdf. 15 ตุลาคม 2561.
9.สุรชัย ภัทรบรรเจิด. (2559). การจัดการสภาพคล่องทางการเงินสำหรับผู้ประกอบการ SMEs ภายใต้วิกฤตเศรษฐกิจโลก. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ปีที่ 9 (ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม – มิถุนายน2559): 281-303
10.ศักดิ์ดา ศิริภัทรโสภณ. ศักยภาพในการแข่งขันและความพร้อมของวิสาหกิจขนาด กลางและขนาดย่อมของไทยในการเข้าสู่่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. วารสารสมาคมนักวิจัย. สมาคมนักวิจัยแห่งประเทศไทย. มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปีที่ 21 (ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2559): 9-33
11.ศิริวรรณ ว่องวีรวุฒิและอารมณ์ ริ้วอินทร์. (2556). เงินทุนหมุนเวียนทางเลือกและทางรอดของ SMEs. วารสารนักบริหาร Executive Journal. ปีที่ 33 (ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม - มีนาคม 2556): 9-14
12.วีระยุทธ์ ทนทาน. (2555). แนวทางการสงเสริมสมรรถนะการทำธุรกิจของผู้ประกอบการการค้าชายแดนไทย-ลาว ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพื่อรองรับการบูรณาการประชาคมอาเซียน. วารสารมหาวิทยาลัยนเรศวร. ปีที่ 20 (ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม 2555): 67-77
13.อรุณี อ่อนสวัสดิ์. (2551). ระเบียบวิธีวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 3. ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
14.Cohen J. (1988). Statistical power analysis for the behavior sciences (2nd ed). Hillsdale NJ: Lawrence Erlbaum.
15. Les Dlabay, James L. Burrow. (2008). Business Finance. OH: USA. Thomson: southwestern Mason.
16.VOICE TV 21. (2017, January 13). สำรวจตลาดบ้านแหลม การค้าชายแดนไทย-กัมพูชา. [Video file]. Retrieved from https://www.youtube.com/watch?v=Zzo_xR6fsxE