ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีของครูโรงเรียนสังกัดองค์การบริหาร ส่วนจังหวัดสระแก้ว

Main Article Content

ณิชากุล ท้าวสาลี
ระพิน ชูชื่น
ประยูร อิ่มสวาสดิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยแรงจูงใจ การเห็นคุณค่าในตนเองและความผูกพันต่อองค์กรที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีของครูโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว  2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีของครูโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีกับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีของครูโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว และ 4) เพื่อสร้างสมการพยากรณ์ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีของครูโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว กลุ่มตัวอย่างเป็นครูผู้สอนโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว ประจำปีการศึกษา 2561 จากตารางของ เคร็จซี่ และมอร์แกน (Krejcie & Morgan, 1970, pp. 607 – 610) จำนวน 180 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม แบบมาตรประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับ ซึ่งมีอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง .60 - .91 และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับ เท่ากับ .94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD.) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s product moment correlation Coefficient)  และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis)


               ผลการวิจัยพบว่า


               ปัจจัยแรงจูงใจ การเห็นคุณค่าในตนเองและความผูกพันต่อองค์กรส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีของครูโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีของครูโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีกับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีของครูโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว โดยปัจจัยด้านแรงจูงใจและด้านการเห็นคุณค่าในตนเองมีความสัมพันธ์ในระดับปานกลาง ส่วนความผูกพันต่อองค์กรมีความสัมพันธ์ในระดับ ค่อนข้างสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01


               สร้างสมการพยากรณ์ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีของครูโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว ได้ดังนี้


               ในรูปคะแนนดิบ Ŷ = .313 + .657(ความผูกพันต่อองค์กร)  + .283(แรงจูงใจ)


               ในรูปคะแนนมาตรฐาน Ẑ = .639(ความผูกพันต่อองค์กร)  + .229(แรงจูงใจ)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. ขเคนทร์ วรรณศิริ และอรัญญา ตุ้ยคัมภีร์. (2557). โมเดลเชิงสาเหตุของพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ: อิทธิพลของแรงจูงใจเอื้อสังคมในการทำงานและบุคลิกภาพ. ศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). 6 (ธันวาคม): 45-57.
2. ณัฏฐพัชร มณีโรจน์. (2557). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล แรงจูงใจในงานความผูกพันต่อองค์การและพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.
3. ปาริชาติ ปานสำเนียง. (2555). การศึกษาคุณภาพชีวิตในการทำงานและการรับรู้ความยุติธรรมในองค์กรที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์กรผ่านความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุน กรณีศึกษาคณะแพทย์แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
4. วัลลพ ล้อมตะคุ. (2554). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของพนักงานสายปฏิบัติการ มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ. วิทยานิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการ คณะการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
5. เสกสรร อรกุล. (2556). ปัจจัยแรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัท เมทเทิลคอม จำกัด. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
6. Brockner, J. (1988). Self-Esteem at Work. Massachusetts: Lexington Book.
7. Cronbach, L. J. (1990). Essential of physiological testing. New York: Harper Collins.
8. Krejcie, R. V., & Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities.Educational and pychological Measurement, 30(3), pp. 607-610.
9. Morgan, C., & Maureen, T. (1999). “Unrevelling the complexities of Distance Education Student Attrition.” In Distance Education (Vol.2o no. 1): 96-108.
10.Organ, D. W. (1988). Organizational citizenship behaviors: The Goods Soldier Syndrome. Lexington, MA: Lexington.
11. Samuel, C. C., Peter, J. P., & Eddie, A. (2006).Strategic management: Concept and applications. New York: Mc Graw-Hill.