ผลของสารกันหืนและภาชนะบรรจุที่มีต่ออายุการเก็บรักษาของผลิตภัณฑ์ทุเรียนแท่งทอดกรอบ

Main Article Content

กุลพร พุทธมี
ศรายุทธ์ จิตรพัฒนากุล

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาชนิดของสารกันหืน และชนิดของภาชนะบรรจุที่มีผลต่ออายุการเก็บรักษาของผลิตภัณฑ์ทุเรียนแท่งทอดกรอบ โดยการศึกษาการใช้สารกันหืน 2 ชนิด คือ BHT ร้อยละ 0.02 และกรดซิตริก    ร้อยละ 0.02 ใส่ในน้ำมันปาล์มขณะทอดทุเรียน เปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์ทุเรียนแท่งทอดกรอบที่ทอดในน้ำมันที่ไม่ได้เติมสารกันหืน และบรรจุภัณฑ์ 2 ชนิด คือ ถุงโพลิโพรพิลีน และถุงอลูมิเนียมฟอยล์ เก็บรักษาที่อุณหภูมิห้อง พบว่า การใช้สารกันหืน BHT ร้อยละ 0.02 ร่วมกับการบรรจุถุงอลูมิเนียมฟอยล์ สามารถเก็บรักษาทุเรียนแท่งทอดกรอบได้นาน 12 สัปดาห์ โดยได้คะแนนความชอบด้านลักษณะปรากฏ สี กลิ่น รสชาติ ความกรอบ และการยอมรับโดยรวมสูงที่สุด มีค่าเท่ากับ 7.3 6.9 5.8 7.9 7.1 และ 6.2 ตามลำดับ มีปริมาณความชื้นต่ำที่สุดเท่ากับร้อยละ 3.11  และมีค่าเพอร์ออกไซด์ต่ำที่สุดเท่ากับ 10.05 mEq/kg

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1.พัณณิตา ฟุ้งเฟื่อง เป็นผู้ให้สัมภาษณ์. กุลพร พุทธมี เป็นผู้สัมภาษณ์. (25 กรกฎาคม 2559).ณ วิสาหกิจชุมชนบ้านช่น เลขที่ 9/10 หมู่ที่ 5 ตำบลตะพง อำเภอเมือง จังหวัดระยอง.
2.ไพโรจน์ วิริยจารี. (2545). การประเมินทางประสาทสัมผัส. เชียงใหม่ : คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
3.นิธิยา รัตนาปนนท์. (2548). วิทยาศาสตร์การอาหารของไขมัน. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
4.วลัยพร มุขสุวรรณ. (2551). พลาสติกในชีวิตประจำวัน. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://www.chemtrack.org/News-Detail.asp?TID=4&ID=17, 29 มีนาคม 2560.
5.สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. (2549). ทุเรียนทอดกรอบ. กรุงเทพฯ : กระทรวงอุตสาหกรรม.
6.อรนุช สีหามาลา. (2545). การเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการและและยืดอายุการเก็บรักษาข้าวเกรียบปลา. วิทยานิพนธ์ วท.ม. (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร). เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
7.AOAC. 2000. Official Methods of Analysis of AOAC International. 17th ed. Washington. D.C. : Association of Official Analytical Chemists.