การพัฒนาทักษะการคิดโดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองประชาธิปไตยของนักศึกษาวิชาชีพครู

Main Article Content

นภัส ศรีเจริญประมง
วราลี ถนอมชาติ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ความรู้เกี่ยวกับทักษะการคิดโดยใช้ปัญหาเป็นฐานของนักศึกษาวิชาชีพครู 2) พัฒนาทักษะการคิดโดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองประชาธิปไตยของนักศึกษาวิชาชีพครู ผู้เข้าร่วมวิจัยครั้งนี้เป็น นักศึกษาวิชาชีพครู สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ชั้นปีที่ 2 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ปีการศึกษา 2560 จำนวน 30 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง การดำเนินการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัย           เชิงคุณภาพ วิธีการดำเนินการวิจัยเป็น 2 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 การพัฒนาทักษะการคิดโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ประกอบด้วย 3 ช่วง คือ ช่วงที่ 1 การพัฒนาต้นแบบทักษะการคิดโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ช่วงที่ 2 การทดลองใช้ต้นแบบกระบวนการพัฒนาทักษะการคิดโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน และช่วงที่ 3 การวิเคราะห์และปรับกระบวนการพัฒนาทักษะ   การคิดโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน และระยะที่ 2 การสรุปและถ่ายทอดผลการวิจัย          


ผลการวิจัย มีดังนี้


  1. การพัฒนาทักษะการคิดโดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองประชาธิปไตยของนักศึกษาวิชาชีพครู เป็นการดำเนินการจัดการเรียนรู้เพื่อให้นักศึกษาวิชาชีพครูได้รู้และเกิดการพัฒนาทั้งทักษะการคิด และ ความเป็นพลเมืองประชาธิปไตย ผู้วิจัยได้นำการฝึกทักษะการคิดโดยใช้ปัญหาเป็นฐานของ Delisle มาปรับใช้ ในการพัฒนาศักยภาพทักษะการคิดโดยใช้ปัญหาเป็นฐานของนักศึกษาวิชาชีพครู ประกอบด้วยขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1    ขั้นการเชื่อมโยงและนำเสนอปัญหา ขั้นที่ 2 ขั้นการทำความเข้าใจกับปัญหา ขั้นที่ 3 ขั้นการดำเนินการศึกษาค้นคว้า    ขั้นที่ 4 ขั้นการสังเคราะห์ความรู้ และขั้นที่ 5 ขั้นการสรุปและประเมินค่า

  2. จากผลการพัฒนาทักษะการคิดโดยใช้ปัญหาเป็นฐานที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นส่งผลต่อการส่งเสริมความเป็นพลเมืองประชาธิปไตยของนักศึกษาวิชาชีพครู เมื่อผู้วิจัยได้วิเคราะห์การจัดการเรียนรู้ที่ได้จัดกับนักศึกษาวิชาชีพครูนั้น พบว่า การพัฒนาทักษะการคิดโดยใช้ปัญหาเป็นฐานนั้นมีส่วนช่วยทำให้นักศึกษาวิชาชีพครูมีความเป็นพลเมืองประชาธิปไตยมากยิ่งขึ้น ซึ่งในส่วนของลักษณะของกระบวนการในการคิดที่ใช้ปัญหาเป็นฐานของนักศึกษาวิชาชีพครูในแต่ละคนจะมีความแตกต่างกันออกไป ซึ่งผู้วิจัยสามารถแบ่งรูปแบบของทักษะการคิดได้ออกเป็น 2 แบบ ทั้ง 2 แบบ ส่งผลให้มีการปฏิบัติตัวในความเป็นพลเมืองประชาธิปไตยในลักษณะที่ต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กุลยา ตันติผลาชีวะ. 2548. การเรียนรู้แบบเน้นปัญหาเป็นฐาน. สารานุกรมศึกษาศาสตร์. 34 : 77 – 78.
2. ขวัญฟ้า รังสิยานนท์. 2558. สอนหนูให้เป็นพลเมืองดี. กรุงเทพฯ : เพอลังอิ.
3. ประพัฒน์พงศ์ เสนาฤทธิ์. 2545. สภาพการพัฒนาประชาธิปไตยในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ. รายงานการวิจัยหลักสูตรการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย สำหรับผู้บริหารระดับสูง รุ่นที่ 5 สถาบันพระปกเกล้า.
4. ปัทมศิริ ธีรานุรักษ์ จารุชัยนิวัฒน์. 2559. การพัฒนาทักษะการคิดและความเข้าใจประชาธิปไตยสำหรับเด็กปฐมวัย [Online]. แหล่งที่มา http://www.educathai.com/upload/content/file_1445662463.pdf. 5 เมษายน 2560.
5. มานิจ สุขสมจิตร. 2558. ความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย. ความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย 1, 7(2558) : 9 – 14.
6. มณสภรณ์ วิฑูรเมธา. 2544. การเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem-based learning/ PBL). วารสารรังสิตสารสนเทศ. 7(1) : 57 - 69.
7. เยาวภา ประคองศิลป์. 2542. เอกสารประกอบการสอนวิชาครูกับรัฐศึกษา. ภาควิชาการมัธยมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
8. เลขาธิการสภาการศึกษา, สำนักงาน. 2542. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.
9. วรากรณ์ สามโกเศศ. 2554. การศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมือง. [Online]. แหล่งที่มา: http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=22721&Key=news_research. 16 พฤษภาคม 2560.
10.วัชรา เล่าเรียนดี. 2547. เทคนิคการจัดการเรียนการสอนและการนิเทศการสอน. นครปฐม : โครงการส่งเสริมการผลิตตำราและเอกสารการสอน. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์.
11.สุภามาส เทียนทอง. 2553. การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน. กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
12.สำนักนโยบายด้านพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา. 2554. ยุทธศาสตร์พัฒนาการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมือง พ.ศ. 2553-2561. การศึกษาไทย (สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา). 8(เมษายน) : 17 - 25.
13. Delisle, R. 1997. How to use Problem-Based Learning in classroom. Alexandria. Verginia : Association for supervision and curriculum development.