ผลกระทบของการควบคุมคุณภาพโดยรวมและพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรที่มีต่อความสำเร็จของระบบการวางแผนทรัพยากรองค์กร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของการควบคุมคุณภาพโดยรวม (TQM) และพฤติกรรม การเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กร (OCB) ที่มีต่อความสำเร็จของระบบการวางแผนทรัพยากรองค์กร (ERP) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ พนักงานในระดับบริหารงานถึงระดับปฏิบัติการที่ใช้งานระบบ ERP ในแผนกจัดซื้อ แผนกผลิต และแผนกการตลาด ในธุรกิจการแปรรูปอาหาร ในเขตพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมสมุทรสาคร จำนวน 104 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานประกอบด้วย Independent Sample t-test, One-way ANOVA, LSD และ Multiple Linear Regression ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
ผลการทดสอบสมมติฐานในภาพรวม พบว่า อายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่งงานปัจจุบัน และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนส่งผลต่อการควบคุมคุณภาพโดยรวมแตกต่างกัน ส่วนการควบคุมคุณภาพโดยรวมด้านการจัดการตามระบอบประชาธิปไตยมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กร ในภาพรวม และการควบคุมคุณภาพโดยรวมด้านการจัดการตามระบอบประชาธิปไตย และด้านการเพิ่มขีดความสามารถ มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของระบบ ERP ในภาพรวม ส่วนพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรด้านการสำนึกในหน้าที่ และการให้ความร่วมมือมีอิทธิพลต่อความสำเร็จ ของระบบ ERP
Article Details
References
2. รัตนา เนื่องแก้ว. (2548). ความต้องการในการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการของคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
3. วีรวิทย์ อุทร. (2554). ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการนำระบบการวางแผนทรัพยากรองค์กรมาใช้ กรณีศึกษา การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).
4. สุเทพ กรมตะเภา. (2549). ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของพนักงาน ลูกค้า ประชาชน : การบริหารงาน ด้วยการบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กร (TQM) บริษัทไทยคาร์บอนแบล็ค จำกัด (มหาชน). วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา).
5. DeLone, W. H. and E. R. McLean. (1992). Information Systems Success: The Quest for the Dependent Variable. Information Systems Research. 3(1): 60-95.
6. Harrington, H.J., Voehl, F. and Wiggin, H. (2012). Applying TQM to the construction industry.The TQM Journal. 24(4): 352-362.
7. Laudon, K.C. and Laudon, J.P. (2010). Management Information Systems Managing the digital firm. Pearson Education. : 86-87
8. Narimani, M., Tabaeian, E., Khanjani, M. and Soltani, F.Z. (2012). The impact of organizational citizenship behavior on enterprise resource planning success: The mediator role of TQM. Master’s thesis, University of Tehran Tehran Iran.
9. Organ, D. W. (1998). “Organizational citizenship behavior: It’s construct clean-up time”. Human Performance. 10(2): 85–97.
10. Sawitri, D., Suswati, E.D. & Huda, K.B. (2016). The Impact of Job Satisfaction, Organization Commitment, Organization Citizenship Behavior (OCB) on Employees’ Performance. Doctoral Dissertation Gajayana, University Malang, Indonesia.
11. Seethamraju, R. V. (2005). Enterprise Resource Planning Systems – Implications for Managers and Management. Master’s thesis, The University of Sydney
12. Spector, P., E. (1996). Industrial and Organizational Psychology: Research and Practice. New York: John Wiley & Sons, Inc.
13. Stair. R. & Reynolds, G. (2010). Information Systems 9th ed., Course Technology, Cengage Learning, U.S.A., 245-280.
14. Voon, B.H., Abdullah, F., Lee, N. and Kueh, K. (2012) Developing a HosipiSE scale for hospital service excellence. International Journal of Quality & Reliability Management. 31(3): 261-280.
15. Valachich, J.S. & Schneider, C. (2016). Information Systems Today : Managing in the Digital World 7th ed., Pearson Education Limited, U.S.A., 347-380.