การมีส่วนร่วมของชุมชนในการลดปัญหาช้างป่าบุกรุกทำลายพื้นที่เกษตร ตำบลทับช้าง อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี

Main Article Content

อติราช เกิดทอง
ภูวดล บัวบางพลู
ฬิฏา สมนา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมระหว่างชุมชนกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ และรวบรวมข้อเสนอแนะจากชุมชนและเจ้าหน้าที่ของรัฐในการแก้ไขปัญหาช้างป่าบุกรุกถิ่นที่อยู่อาศัยและพื้นที่เกษตรกรรมของชาวบ้านในเขตตำบลทับช้าง อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี ใช้แนวทางการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยใช้วิธีศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษามีดังนี้


               ชุมชนและภาครัฐได้มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาช้างป่าบุกรุกถิ่นที่อยู่อาศัยและพื้นที่เกษตรกรรมของชาวบ้าน ดังนี้


               ขั้นที่ 1 เป็นการประชุมหารือระหว่างชาวบ้าน เจ้าหน้าที่ป่าไม้ และทหารพราน โดยมีผู้ใหญ่บ้านเป็นแกนนำ ซึ่งผู้ใหญ่บ้านได้ส่งจดหมายเรียนเชิญชาวบ้านที่มีสำมะโนครัวอยู่ในพื้นที่ เจ้าหน้าที่ป่าไม้ และทหารพรานให้เข้าร่วมประชุมเพื่อแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนความรู้ และวิธีการในการแก้ปัญหาช้างป่า


               ขั้นที่ 2 นำเอาวิธีการ และความรู้ที่ได้จากการประชุมมาประยุกต์ใช้ ซึ่งดำเนินการทั้งแผนระยะสั้น และระยะยาวควบคู่กันไป  โดยแผนระยะยาวเป็นเรื่องของการปลูกพืชที่ช้างป่าชอบกิน ซึ่งชาวบ้านให้ความมือในการปลูกป่าเพื่อสร้างแหล่งอาหารให้ช้างเป็นอย่างดี โดยมีผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำแนะนำเรื่องพืชที่ช้างชอบกิน  ส่วนแผนระยะสั้นคือมีการสร้างหอคอยเพื่อสำรวจดูว่ามีช้างป่าบุกเข้ามาในพื้นที่หรือไม่ จากนั้นมีการระดมชาวบ้าน  ทหารพราน  และเจ้าหน้าที่ป่าไม้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวบ้านมาช่วยกันขับไล่ช้าง ซึ่งวิธีการขับไล่ช้างที่นำมาใช้ คือ การทำให้เกิดเสียงดัง เช่น จุดประทัด ระเบิดปิงปอง เป็นต้นทั้งนี้เพื่อให้ช้างตกใจกลัวหนีเข้าป่า ส่วนอีกวิธีคือการฉายไฟชาวบ้าน เจ้าหน้าที่อนุรักษ์ และทหารพราน ได้ให้ข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาช้างป่าไว้ ดังนี้


  1. การปลูกป่าให้กลับมาอุดมสมบูรณ์ เพื่อเป็นแหล่งอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการของช้างป่า

  2. การสร้างแผงเหล็กแบบแข็งแรงเพื่อป้องกันช้างป่าเข้ามาในชุมชน

  3. การขุดคูคลองขนาดกว้างและลึกเพื่อเป็นแนวป้องกันการบุกรุกเข้ามายังพื้นที่ทำการเกษตรของชาวบ้าน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. จีรณา ณรงค์ และคณะ. (2552). โครงการช้าง คน ป่า แนวทางการอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน: กรณีศึกษาชุมชนติดแนวเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่ จังหวัดบุรีรัมย์. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.เทศบาลตำบลทับช้าง. สภาพและข้อมูลพื้นฐาน. [online]. เข้าถึงได้จาก : http://www.thapchang.go.th/content.php?cid=20160314220824NzOzSqJ. 2559.
2. นพพร อังศุโชติ. (2551). การศึกษาแนวทางการบรรเทาปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่า : กรณีศึกษาตำบลวังด้ง อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล.
3. ผู้จัดการออนไลน์. ช้างป่าบุกทำลายไร่สวนชาวบ้านคลองพอก จันทบุรี. [Online]. เข้าถึงได้จาก : http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9600000072390. 2560.
4. มติชนออนไลน์. ช้างป่าเขาสอยดาวดุ ทำร้ายชาวบ้านเสียชีวิตสุดอนาถ. [Online]. เข้าถึงได้จาก : https://www.matichon.co.th/news/631339. 2560.
5. สถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7. ช้างป่าแตกโขลงใช้งวงรัดชาวสวนฟาดต้นไม้ อวัยวะภายในฉีกขาดเสียชีวิต. [Online]. เข้าถึงได้จาก : http://news.ch7.com/detail/243573. 2560
6. สมยศ ปิ่นงาม. (2558). โครงการ “การหาแนวทางการจัดการสถานการณ์ช้างป่าโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน บ้านมะนาว ตำบลหนองบอน อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด”. รายงานการวิจัย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
7. สิทธิชัย บรรพต. (2559). แนวทางการแก้ไขปัญหาช้างป่า. [CD-ROM]. จันทบุรี : เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาว. 2559
8. สุพล จิตรวิจักษณ์, ชลธร ชำนาญคิด, และเสาวนีย์ สารเนตร. (2550). คนกับช้างป่าบนสถานการณ์ใหม่อุทยานแห่งชาติกุยบุรี. รายงานการวิจัย ฝ่ายจัดการทรัพยากรป่าไม้ WWF ประเทศไทย.
9. Cohen, J. M. and T. N. Uphoff. (1977). Rural development participation : Concept and measures for project design Implementation and evaluation. Research report of Rural Development Committee Center for International.