ความหลากหลายของแพลงก์ตอนพืช ในโครงการแก้มลิงบึงบ้านขอม อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดจันทบุรี

Main Article Content

คณิสร ล้อมเมตตา
สิทธิพัฒน์ แผ้วฉ่ำ
อุมารินทร์ มัจฉาเกื้อ

บทคัดย่อ

การศึกษาความหลากหลายของแพลงก์ตอนพืชในบึงบ้านขอมและสระน้ำบ้านหนองสงวน จังหวัดจันทบุรี ในเดือนกุมภาพันธ์ และสิงหาคม 2560 และศึกษาคุณภาพน้ำบางประการ ได้แก่ อุณหภูมิ ความเป็นกรดเป็นด่าง การนำไฟฟ้า ปริมาณของแข็งละลายน้ำรวม ความเค็ม ความโปร่งแสง ปริมาณออกซิเจนละลาย ความเป็นด่าง ความกระด้าง แอมโมเนีย-ไนโตรเจน ไนเตรท-ไนโตรเจน ออร์โธฟอสเฟต และคลอโรฟิลล์เอ แพลงก์ตอนพืชที่พบทั้งหมด 31 ชนิด ใน 27 สกุล 6 ชั้น โดยกลุ่มสาหร่ายสีเขียวมีจำนวนชนิดมากที่สุด 16 ชนิด คิดเป็นร้อยละ 51.61 รองลงมา ได้แก่ สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน พบ 5 ชนิด คิดเป็นร้อยละ 16.13 ไดอะตอม พบ 5 ชนิด คิดเป็นร้อยละ 16.13 ไดโนแฟลกเจลเลต พบ 3 ชนิด คิดเป็นร้อยละ 9.68 ยูกลีนอยด์ พบ 1 ชนิด  คิดเป็นร้อยละ 3.23 และ คริสโสไฟต์ พบ 1 ชนิด คิดเป็นร้อยละ 3.23 แพลงก์ตอนพืชชนิดเด่น ได้แก่ Desmidium baileyi, Gloeocystis sp. และ Sphaerocystis sp. ซึ่งเป็นสาหร่ายสีเขียว Dinobryon sp. (คริสโสไฟต์) และ Peridinium sp. (ไดโนแฟลกเจลเลต) โดยมีค่าดัชนีความหลากหลายของแพลงก์ตอนพืชค่อนข้างต่ำ (0.852-1.019) เนื่องจากแหล่งน้ำเป็นน้ำสะอาดมีสารอินทรีย์น้อย ถูกจัดอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่ 2 ของแหล่งน้ำผิวดิน (เกณฑ์คุณภาพน้ำดี) สามารถใช้ประโยชน์เพื่อทำการอุปโภค บริโภค โดยต้องผ่านกระบวนการปรับปรุงคุณภาพน้ำทั่วไปก่อน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กรมชลประทาน. (2551). รายงานการศึกษาเบื้องต้น โครงการแก้มลิงบึงบ้านขอม ต.ท่าช้าง อ.เมือง จ.จันทบุรี. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://irrigation.rid.go.th/rid9/sv/pijarana/report/2551/RR.17-51.pdf. 2559.
2. ปฏิพันธ์ สันป่าเป้า และคณะ. (2560). ความหลากหลายชนิดของแพลงก์ตอนพืชและความสัมพันธ์ต่อคุณภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ แม่ถาง จังหวัดแพร่. แก่นเกษตร. 45 (4) : 663-674.
3. บุสยา ปล้องอ่อน และคณะ. (2559).การแพร่กระจายของแพลงก์ตอนพืชและคุณภาพน้ำในพื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งบริเวณอ่าวบ้านดอน จังหวัดสุราษฎ์ธานี. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 24 (4) : 588-598.
4. ยุวดี พีรพรพิศาล และคณะ. (2550). การประเมินคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำนิ่งโดยใช้แพลงก์ตอนพืชชนิดเด่นด้วย AARL-PP Score. วารสารวิจัยเทคโนโลยีการประมง. 1 (1) : 71-81.
5. ไมตรี ดวงสวัสดิ์ และจารุวรรณ สมศิริ. (2528). คุณสมบัติของน้ำและวิธีการวิเคราะห์สำหรับการวิจัยทางการประมง. กรุงเทพฯ : สถาบันประมงน้ำจืดแห่งชาติ.
6. ลัดดา วงศ์รัตน์. (2542). แพลงก์ตอนพืช. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
7. ลัดดา วงศ์รัตน์ และโสภณา บุญญาภิวัฒน์. (2546). คู่มือวิธีการเก็บและวิเคราะห์แพลงก์ตอน. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
8. ศรัญญา ยิ้มย่อง. (2561). ดัชนีชีวภาพเพื่อบ่งชี้คุณภาพของระบบนิเวศน้ำจืด. ว. วิทย. มข. 46 (3) : 408-417.
9. สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน. (2556). ความหลากหลายทางชีวภาพในป่าชายเลน อ่าวพังงา. ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
10. APHA. (1992). Standard Method for Examination of Water and Waste Water. Washington D.C. : American Water Works Association and Water Environment Federation. American Public Health Association.
11. Boyd, C. E. (1979). Water Quality in Warm Water Fish Ponds. Alabama : Agricultural Experiment Station Auburn University.
12. Maugurran, A. E. (2004). Measuring Biological Diversity. Blackwell.
13. Prescott, G. W. (1981). How to Know the Freshwater Algae. The Picture Key Nature Series Wm. C. Iowa : Company Publishers Dubugue.
14. Round, F. E. (1973). The Biology of the Algae, 2nd ed. London : Macmillan Ltd.
15. Smith, G. M. (1950). The Fresh Water Algae of the United States. 2nd ed. New York : Megraw-Hill Book Co.